ประชุมพัฒนาโครงการฯพื้นที่ดำเนินการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ จ.นครศรีฯ(ตอนจบ)


เล่าต่อจากเมื่อวานนี้ค่ะ จะขอหยิบยกตำบลที่ได้ตั้งกองทุนสวัสดิการขึ้นมาได้แล้วว่ามีที่มาของกองทุนอย่างไร และแตกต่างอย่างไรบ้างตลอดจนแนวคิดของกลุ่มแกนนำที่น่าจะมีประโยชน์กับตำบลที่ต้องการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการบ้าง

ตำบลบางจาก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

·       เลือกตัวแทนหมู่บ้านมาหมู่บ้านละ 2 คนจากกลุ่มสัจจะวันละบาท ซึ่งตัวแทนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุน

·       ก่อตั้งเมื่อปี 2548 สมาชิกเริ่มก่อตั้ง 250 คนปัจจุบันมี 1014 คน มีเงินกองทุนประมาณ 2 แสนบาท

·       สิ่งสำคัญคือการหากรรมการก่อตั้งที่มีคุณธรรม เสียสละและเข้มแข็งให้ได้ก่อนหาสมาชิก

·       ร่างกฎกติกาที่ชัดเจนครอบคลุมในการดำเนินงาน

ตำบลควนกรด อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

·       ตั้งธนาคารหมู่บ้านก่อนทุกหมู่บ้านแล้วแบ่งเอาเปอร์เซ็นต์มารวมกันแล้วจัดตั้งกองทุนสวัสดิการของตำบล

·       คัดเลือกผู้ที่เข้ามาดำเนินงานที่มีเหตุผลและสามารถพูดจูงใจคนได้และต้องมีความอดทน

·       อายุของสมาชิกจะอยู่ในช่วง 55-80 ปี โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิก

·       จัดตั้งเป็นสถาบันการเงินของตำบลควนกรด มีงบประมาณ 10 ล้านบาท

ตำบลนาแว อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช

·       เริ่มต้นจากการรวมกลุ่ม ประชุมสัญจรสร้างความเชื่อมั่นให้กองทุนต่างๆที่ได้ตั้งขึ้นแล้วว่าต้องการจัดตั้งเป็นกองทุนรวมโดยยึดธนาคารหมู่บ้านเป็นหลักแล้วแบ่งเปอร์เซ็นต์รายได้จากกลุ่มต่างๆมาจัดตั้ง

·       ข้อสังเกตคือว่า เบื้องต้นหลายๆกองทุนที่เกิดแล้วนั้นยังไม่ร่วมด้วยเนื่องจากเกรงว่าจะผิดระเบียบกองทุนเดิม ซึ่งถ้าสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ง่ายขึ้นสำหรับบางหมู่บ้านที่มีลักษณะเช่นเดียวกันในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ

ตำบลท่าดี อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช

·       เบื้องต้นเริ่มจากศึกษาปัญหาของพื้นที่และพบว่าปัญหาเรื่องการขาดที่ดินทำกินเป็นปัญหาสำคัญของหมู่บ้านจึงก่อตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเขียนโครงการขอรับทุนสนันสนุนการสร้างอาชีพจากกรมส่งเสริมการเกษตร ต่อมาก็แบ่งเอารายได้ที่ได้จากผลผลิตส่วนหนึ่งมาจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการและต่อมาก็ได้รับการสนับสนุนจากเกษตรตำบลอีกส่วนหนึ่งด้วย

·       หลักการคือการให้ทุนไปประกอบอาชีพและสร้างเครือข่ายขึ้นมาเพื่อเข้าไปติดตามผลโดยต่อมาเลือกกลุ่มที่เข้มแข็งมาเป็นแกนนำจัดตั้งกองทุนสวัสดิการที่พัฒนาจากกลุ่มอาชีพขึ้นมา

ตำบลกะปาง อ. ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

·       จัดตั้งกองทุนสวัสดิการจากหลายกลุ่มด้วยกันเช่น ฐานวิสาหกิจชุมชน กองทุนข้าวสาร ชาวบ้าน อบต. องค์กรการเงินชุมชนและกลุ่มสัจจะวันละบาท

·       ให้สวัสดิการแก่สมาชิกในเรื่องการชดเชยจากการเสียชีวิตเพียงอย่างเดียวในปัจจุบัน(ในวงเงินที่สูงพอสมควรประมาณ 20000 บาท/ราย)และมีแผนจะขยายให้ครอบคลุมด้านอื่นๆในเวลาต่อมา

·       สวัสดิการของที่นี่คือการแก้ปัญหาเบื้องต้นของชุมชน ปัจจุบันสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะได้เห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงกับสมาชิกที่ได้รับค่าชดเชยไปแล้วบางส่วน

เหล่านี้เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งที่เห็นว่าที่ไปที่มาต่างกันบ้างทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่และความต้องการที่แตกต่างกันไป ซึ่งในที่สุดก็สามารถจัดตั้งกองทุนสวัสดิการได้สำเร็จถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการเอาเป็นแบบอย่างต่อไป ผู้เล่าเองก็ประทับใจมากว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้จริงๆไม่ได้มีอยู่ในเอกสารหรือในตำราเท่านั้นแต่วันนี้ได้มีการนำมาปฏิบัติและเห็นผลแล้ว และก็หวังอย่างยิ่งว่าจะเกิดชุมชนที่มีพลังและเข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ บรรยากาศตอนเดินทางกลับจาก อ.ลานสกาเข้าตัวเมืองนครศรีธรรมราชดีมากๆ ไม่มีฝนแล้วท้องฟ้าสีครามในยามโพล้เพล้ตัดกับสีเข้มทึบของภูเขาสูงใบไม้เขียวชอุ่มอยู่ข้างทาง อากาศที่ใสบริสุทธิ์เพราะเพิ่งผ่านการชะล้างฝุ่นควันจากฝนไปไม่นาน ได้แวะซื้อผักสดๆเก็บใหม่ๆข้างทางกลับบ้านมันช่างสุขใจอะไรเช่นนี้ เพราะตั้งแต่กลับมาอยู่และทำงานที่บ้านยังไม่ได้เดินทางไกลออกนอกพื้นที่ลักษณะอย่างนี้เลยและวันที่ 11 พ.คนี้มีโอกาสไปสังเกตการณ์การประชุมคณะทำงานสวัสดิการชุมชนภาคใต้ที่สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ ที่ จ.พัทลุง ไว้มีอะไรดีๆจะมาเล่าให้ฟังอีกนะคะ

หมายเลขบันทึก: 95161เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2007 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
            น้องเล็กคะ  บันทึกได้ดีแล้วค่ะ วันหลังจะขอช่วยให้เป้นเลขาในที่ประชุมคราวต่อไป วันศุกร์นี้อย่าลืมแวะรับพี่ที่หน้าป้ายรถเมล์หน้าห้างโรบินสันโอเชี่ยนด้วยนะคะ  เวลาประมาณ 8.30 น

ได้เลยค่ะพี่พัช แล้วเจอกันวันศุกร์นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท