อักษรนำ : ความสับสน ในการสอนหลักภาษาไทย


อักษรนำจะต้องใช้พยัญชนะตัวแรกเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลางเท่านั้นและพยัญชนะตัวหลังต้องเป็นอักษรเดี่ยวเท่านั้น

 

 

 

 

 

 

อักษรนำ

ความสับสนในการสอนหลักภาษาไทย

 

                ผมสอนหลักภาษาไทยมานาน เกือบ ๓๐ ปี  เคยเรียนภาษาไทยมาหลายสถาบัน เคยอ่านตำราหลักภาษาไทยมาหลายเล่ม เคยเข้าประชุม อบรม สัมมนา เสวนา อยู่บ่อยๆ

(ผมกำลังคุยโม้ว่ามีประสบการณ์นั่นแหละ) พอมาสอน มาวัดผลประเมินผล เรื่องอักษรนำ ทีไร

ผมอึดอัดมาก  ท่านลองติดตามมานะครับ

 

                อักษรนำ คืออย่างไร ผมจะลองหยิบหนังสือมา ๔ เล่มที่มีความแตกต่างกันเป็น ๓ ลักษณะ

 

                ลักษณะแรกเป็นหนังสือหลักภาษาไทย ของท่านอาจารย์กำชัย ทองหล่อ(ผมให้หมายเลข๑) กับวารสารแม็ค ประถมปลาย ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๙(หมายเลข๒)

 

                ลักษณะที่ ๒เป็นหนังสือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ของคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพวิชาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ(หมายเลข๓)

 

               ลักษณะที่ ๓ หนังสือเรียนภาษาไทย ป.๔ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ของสำนักพิมพ์ อจท.(หมายเลข๔)

 

                หนังสือหมายเลข ๑ให้ความหมายของอักษรนำ ว่า อักษรนำคือ พยัญชนะ ๒ ตัวร่วมอยู่ในสระตัวเดียวกัน บางคำก็ออกเสียงร่วมกันสนิท เช่น หนู หมอ..อยู่ อย่า..บางคำก็เสียงคล้ายกับเป็น ๒ พยางค์ เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าประสมกับพยัญชนะตัวหลัง แต่พยัญชนะทั้ง ๒ นั้น ประสมกันไม่สนิทกลมกลืนเหมือนอักษรควบแท้ จึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะดังออกมาแผ่วๆ แต่อย่างไรก็ตาม  เสียงของคำย่อมบ่งชัดว่าเป็นพยัญชนะประสมกัน เป็นตัวเดียวกัน และเป็นพยางค์เดียว เช่น กนก ขนม จรัส  ฉมวก แถลง ผนวก ฝรั่ง ไสว

 

                หนังสือหมายเลข ๒ ให้ความหมายของอักษรนำว่า อักษรนำคือคำที่มีพยัญชนะสองตัวประสมสระเดียวกัน ออกเสียงสองพยางค์ พยางค์หน้าหรืออักษรนำออกเสียงสระอะกึ่งมาตรา พยางค์หลังหรืออักษรตามออกเสียงสระที่ประสมอยู่

 

                หนังสือหมายเลข ๓ บอกว่าคำอักษรนำ คือคำที่มีพยัญชนะ ๒ ตัวประสมสระเดียวกัน

 

                หนังสือหมายเลข ๔ บอกว่า อักษรนำคือคำที่มีพยัญชนะสองตัวซ้อนกัน พยัญชนะตัวแรกเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง พยัญชนะตัวที่สองเป็นอักษรต่ำเดี่ยว...เวลาออกเสียง พยัญชนะตัวแรกจะออกเสียงวรรณยุกต์สูง-ต่ำตามพยัญชนะตัวแรกเช่น ขนุน..เสมอ...ตลาด..อร่อย..(แล้วมาหยอดตรงท้ายว่า  หากอักษรตัวหลัง ที่ตามอักษรสูงหรืออักษรกลาง ไม่ใช่อักษรต่ำเดี่ยว เวลาออกเสียง ไม่ต้องเปลี่ยนระดับเสียงวรรณยุกต์เหมือนอักษรสูงหรืออักษรกลางที่นำมาข้างหน้า เช่น ไผท เผชิญ

 

                ทีนี้ผมจะมาอธิบายความแตกต่าง ส่วนอื่นๆหนังสือทั้ง ๔ เล่มอธิบายไว้คล้ายๆกัน แต่ส่วนที่น่าสังเกตมีดังนี้ หนังสือหมายเลข ๓ เขียนหมายเหตุไว้ดังนี้

 

                มีหนังสือหลักภาษาไทยบางเล่ม ยกตัวอย่างคำอักษรนำที่มีเสียงพยางค์หน้าเน้นเสียงอะ เช่น คำว่า สบาย สบง ขบวน ทนาย ฯลฯ และระบุว่าเป็นอักษรนำ ซึ่งความจริงยังไม่ถูกต้อง เพราะคำอักษรนำจะต้องเป็นคำที่เป็นอักษรสูงหรืออักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว จึงจะจัดเป็นอักษรนำ เพราะคำเหล่านี้แม้จะออกเสียง ๒ พยางค์และพยางค์หน้าออกเสียงอะโดยไม่ประวิสรรชนีย์ก็จริง แต่เสียงพยางค์ของคำทั้ง ๒ เป็นอิสระแก่กัน เช่นคำว่าสบาย อ่านว่าสะ-บาย  ตัว ไม่ต้องออกเสียงสูงตามตัว และตัว ไม่ใช่อักษรต่ำเดี่ยว จึงไม่จัดเป็นอักษรนำ คำว่า ทนาย อ่านว่า ทะ-นาย ตัว เป็นอักษรต่ำไม่ใช่อักษรสูงหรืออักษรกลาง อักษรนำจะต้องใช้พยัญชนะตัวแรกเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลางเท่านั้น จึงใคร่ขอให้ครูทำความเข้าใจให้ชัดเจนในเรื่องนี้

               

              จากหมายเหตุนี้จึงน่าจะขัดแย้งกับหนังสือหมายเลข ๑ หมายเลข ๒ และหมายเลข ๓ ตรงท้ายๆ เพราะหนังสือหมายเลข ๑ มีตัวอย่างที่อักษรสูงนำอักษรสูงก็มี เช่น สถาน เสถียร อักษรต่ำนำอักษรต่ำเดี่ยวก็มีเช่น โพยม เชลย อักษรสูงนำอักษรกลางเช่น แสดง เผอิญ เผดียง หนังสือหมายเลข ๒ ยกตัวอย่างคล้ายๆหนังสือหมายเลข ๑ ตัวอย่างที่ยก ว่าเป็นอักษรนำ ก็เหมือนหนังสือหมายเลข ๑ (น่าจะใช้หนังสือหมายเลข ๑ เป็นแหล่งเรียนรู้) ตัวอย่างที่ยกเพิ่มมาคือ ทลาย มณี เป็นต้น

 

                ส่วนหนังสือเล่มที่ ๔ นั้นตอนแรกก็ให้ความหมายสอดคล้องกับหนังสือหมายเลข ๓ แต่ตอนท้ายไปมีเงื่อนไขและตัวอย่างเพิ่มขึ้น ผมจึงจัดไว้เป็นลักษณะที่ ๓

                เมื่อเป็นอย่างนี้ครูภาษาไทยเราจะทำอย่างไร ท่านลองทำข้อสอบของผมข้อนี้

๑.      ข้อใด ไม่จัดเป็นอักษรนำ?

ก.      หน้า

ข.     อยาก

ค.     สนาม

ง.      ทลาย

ท่านว่าข้อสอบข้อนี้มีตัวเลือกที่ถูกต้องหรือไม่..............ท่านผู้รู้ช่วยอธิบาย และตัดสินที ครูภาษาไทยผู้ด้อยปัญญา แต่มากด้วยประสบการณ์อย่างผมกลุ้มกลัด อัดอั้นจริงๆ

 

หมายเลขบันทึก: 95154เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2007 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (109)
ตูดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
  • ขอขอบคุณ คุณก้น ครับที่กรุณา แวะมาเยี่ยม
  • แหมมีอารมณ์ขัน ดีเหลือเกิน ก้นยาวเชียว
  • ขอบคุณครับ
  • บันทึกนี้ผมส่งเข้าลงในหนังสือเฮฮาศาสตร์พอดีเลยครับ

ดูซะดี...................

หนูก็อยากเข้าใจให้มากกว่านี้ แต่ที่พอศึกษามาในหนังสือบางเล่มก็ว่าพวกคำที่เป็นอักษรกลางนั้นก็เป็นอักษรนำหนูก็ไม่รู้เข้าใจถูกหรือเปล่า
  • ตามความเห็นของผม อักษรนำนั้น...น่าจะเป็น...อักษรกลาง....หรืออักษรสูง..นำอักษรต่ำเดี่ยว....แล้วอักษรตัวหน้า...บังคับให้อักษรตัวหลังออกเสียงไปตามตัวหน้า(เสียงวรรณยุกต์ สูงต่ำ ไปตามตัวหน้า) เช่น ขนม อ่านว่า ขะ-หนม ไม่อ่านว่าขะ-นม เพราะ ข เป็นอักษรสูง ถ้า ขม อ่านว่า ขม เป็นเสียงจัตวา นม ที่ตามหลัง ข จึงออกเสียงเป็น หนม ให้เป็นเสียงจัตวาด้วย
  • ตลก อ่านว่า ตะ-หลก ไม่อ่าน ตะ-ลก ก็อธิบายได้ด้วยหลักการเดียวกัน
  • ให้สังเกตว่าตัวหน้า จะเป็นอักษรสูง หรือ อักษรกลาง ตัวหลังเป็นอักษรต่ำเดี่ยวครับ
  • อธิบายแค่นี้ก่อนนะครับ เพราะอักษรนำยังมีอีก ๒ แบบ

ตอบ  ทลายค่ะ

เพราะว่าข้อหนึ่ง หน้าเป็นแบบอักษรนำชนิดที่อ่านพยางค์เดี่ยว  ส่วนข้อ 2  อยาก  ก็  เข้า กฎ "อ" นำ 4 ย  คือ อย่า อยู่  อย่าง อยาก  ส่วนข้อ 3  สนาม  หลักการอ่าน 2 พยางค์  ให้เขียนด้วยตัวอักษรสูงหรือกลางนำหน้าต่ำเดี่ยวพยางค์หน้าออกเสียง "อะ"  พยางค์หลังเอา "ห" นำ  ก็เข้าหลักอักษรนำ  แต่ข้อ 4  ใช้ ทลาย   ซึ่งถ้าอ่านก็เหมือนอักษรนำ  แต่  ท  เป็นอักษรต่ำคู่

  • ขอบคุณ...คุณนัท...ที่มาร่วมตอบ
  • เป็นผม...ผมก็ตอบ..ข้อเดียวกับ...คุณนัท
  • แต่ในวงวิชาการทางภาษาไทย.....อาจต้องถกเถียงกันอีกนานครับ

หนูขออนุญาตเอาบทความของคุณครูมาทำเป็นรายงายส่งครูหน่อยน่ะค่ะ

บทความนี้ให้ความรู้และสาระดีดีแก่หนูมากค่ะ

หนูขอขอบคุณล่วงหน้าน่ะค่ะ

  • ยินดีจ้ะ....ถ้าเป็นประโยชน์...แล้วหนูได้ความรู้....อย่าเพียงแต่ลอกนะ...ให้คิดตาม..ค้นคว้าตามไปด้วย....และอ่านจากตำราอื่นๆ...แล้วมาเทียบกับที่ครูพิสูจน์...เขียนไว้...นะหนูปลาย
ครูสุเมธ เทพทอง จ.ลำปาง

ผมเป็นครูสอนภาษาไทยมา ๒๕ ปี เห็นว่า หลักภาษาไทยเหมือนกฎหมาย ย่อมมีบทเฉพาะกาล หรือ บทอะไรอีกนะ ใช้คำไม่ถูก เราเป็นครูภาษาไทย ไม่ใช่นักกฎหมายที่เขาว่า ต้องตีความ ไม่มีความถูกต้องอย่างนั้นอย่างนี้

ผมว่า เราครูภาษาไทยน่าจะมาร่วมอภิปราย (ไม่ถึงต้องลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีทั้ง๗ ท่านนะครับ)เอาว่า หลักการใดที่แถลงไป(โดยท่านนักปราชญ์ภาษาไทย)ที่ขัดแย้งหรือใช้ไม่ได้ ให้บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาล หรือข้อยกเว้นอะไร ก็ดำเนินไป แล้วออกเป็นหลักการใหม่ออกมา

คิดอย่างนี้ หากท่านราชบัณฑิตอ่านพบ ก็ขอประทานอภัยด้วยนะครับ

ครูสุเมธ

084-6059075

ตอบข้อ ง.  ทลาย

คุณครูค่ะ

ขออนุญาตใช้ข้อมูลนี้สอนเด็กที่บ้านนะค่ะ

ครูสอนดีมากเลยค่ะ

       ดิฉันสอนนักเรียนโดยให้นักเรียนสังเกตลักษณะของคำที่เป็นอักษรนำว่า เป็นคำที่มีพยัญชนะต้น 2 ตัว พยัญชนะต้นตัวหน้าเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลางและพยัญชนะต้นตัวหลังเป็นอักษรต่ำเดี่ยว การอ่านออกเสียง  ถ้าเป็นคำ  2  พยางค์ พยางค์หน้าจะออกเสียง อะ กึ่งเสียง  พยางค์หลังจะอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ตามพยัญชนะต้นตัวหน้า (มีเสียง ห.  นำ ) แต่ถ้าเป็นคำพยางค์เดียว  ไม่ต้องออกเสียง อะ กึ่งเสียงที่พยัญชนะต้นตัวหน้า  เช่น  ห  นำ  ม  ได้แก่  หมาย   หมักหมม   /  อ  นำ  ย   ได้แก่  อย่า   อยู่  อย่าง  อยาก  (อ นำ  ย  ให้อ่านออกเสียงเหมือนมี  ห. นำ  อยู่ ด้วย) 

               เช่น   อย่า  อ่านว่า     หย่า

      ไม่ทราบว่าดิฉันสอนถูกต้องหรือไม่ 

เก่งมากค่ะอาจารย์

ขอบคุณ คุณเษม แวะมาเยี่ยม

ขอบคุณ ครูสุเมธ ความคิดเห็นน่าสนใจมากครับ

ขอบคุณ e ใจเดียวกับผมเลย

ขอบคุณ ครูกระติก ยินดีครับถ้าเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน คุณครูนำไปใช้ได้ทั้งหมดที่เป็นผลงานของผม ทุกบันทึกครับ

ขอบคุณ บาส ที่ให้กำลังใจ ครูพิสูจน์ก็พยายามรวบรวมเกร็ดย่อย แง่มุมต่างๆทางภาษาไทยมานำเสนอเผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง

ขอบคุณ คุณครูน้อย คุณครูสอนเหมือนกับที่ผมสอนเลยครับ

ขอบคุณ นักเรียน สว สว แปลว่า สูงวัยหรือเปล่าครับ ผมล้อเล่นนะครับ ขอบคุณที่ให้กำลังใจครับ ผมไม่ได้เก่งอะไรหรอกครับ ก็จำมาจากครูบาอาจารย์และค้นคว้าตำรา ต่างๆนั่นแหละครับ

ขอบคุณ นักเรียน สว สว แปลว่า สูงวัยหรือเปล่าครับ ผมล้อเล่นนะครับ ขอบคุณที่ให้กำลังใจครับ ผมไม่ได้เก่งอะไรหรอกครับ ก็จำมาจากครูบาอาจารย์และค้นคว้าตำรา ต่างๆนั่นแหละครับ

ครูไทยปัจจุบัน ไม่ใฝ่เรียนรู้เรื่องภาษาไทย จึงไม่เข้าใจและสอนไม่เป็น ส่วนใหญ่สอนตามตำราที่แต่ละสำนักเขียนขึ้น ไม่ได้วิเคราะห์ให้เข้ากับสภาพผู้เรียน อีกอย่างทิ้งหลักภาษาไทยไปเสียหมดแล้ว ผมเองสอนเด็กมุสลิมทางใต้ (นับภาษาไทยเป็นภาษาที่สามของเด็ก เพราะภาษาที่ 1 ของเขาคือ ภาษามลายูท้องถิ่น ภาษาที่ 2 คือ ภาษาอาหรับ เพราะต้องเรียนกุรอาน เป็นหลัก ส่วน ภาษาไทยนับเป็นภาษาที่ 3 และยังให้เรียนภาษาอังกฤษ นับให้เป็นภาษาที่ 4) มันยากแสนเข็นอยู่ครับ ก็ไม่ทราบว่าจะทำไง ให้ครูไทย รู้สึกรักและเข้าใจภาษาไทย เพื่อนำไปใช้สอน คนไทย ให้ถูกต้องบ้างมาก ๆ

หนูก็เป็นคนหนึ่งที่มีความเข้าเหมือนคุณครูคะ  สับสนมากกับการอธิบายอักษรนำของหนังสือแต่ละเล่ม  บางเล่มเป็นหนังสือของกระทรวง  แต่  แต่ละเล่มอธิบายไม่เหมือนกันอย่างคุณครูอธิบายนั่นแหละคะ  หนูเจอมาแล้ว ตามที่หนูเคยเรียนมา  อักษรสูงหรือกลางนำอักษรตำ  แต่มาเจอ  หนังสือยกตัวอย่างคำว่า  สบาย  สบง  รวมอยู่ในคำอักษรนำ  ก็เลยงงมา  และยังเคยเห็นเพลงอักษรนำที่แต่งอาจารย์ระดับ รศ.  มีคำว่าสบายอยู่ในเพลงด้วย  ยิ่งทำให้สับสนมากยิ่งขึ้น  แต่มีหนังสือที่ประกอบหลัก 2544  เล่มสีฟ้า จำชื่อหนังสือไม่ได้(หนังสืออยู่ที่โรงเรียน จำชื่อไม่ได้ว่าเล่มไหน จะไปดูแล้วจะเขียนมาบอกอีกครั้ง)  ได้อธิบายไว้เหมือนที่คุณครูอธิบายว่า  สบายไม่ใช่อักษรนำ  ใครอยากทราบลองไปเปิดดูนะคะ หรือถ้า ราชบัณฑิต จะอธิบายเพิ่มเติมก็จะดีมาก และหนูขอเอาคำอธิบายของคุณครูไปสอนนักเรียนนะคะ ตรงใจหนูมาก โอกาสหน้าคุณครูคงมีเรื่องอื่นมาไขข้อข้องใจอีกนะคะ

ดีมากค่ะ

เก่งครับ ยอดเก่งไทย

Goodddมากค่ะคุณครู สุดยอดจริงๆค่ะ ใช้ภาษาได้ยอดเยี่ยมค่ะครู

เรียน คุณครูพิสูจน์ (ช่างพิสูจน์สมชื่อเลยนะ)

อ่านพบข้อความของท่าน และของอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ อ้างถึงอาจารย์กำชัย ทองหล่อ กำหนดหลักเกณฑ์อักษรนำไว้ในhttp://www.tpschamnong.iirt.net/article/basa_5nt037.htmlดังนี้(ในวงเล็บเขียเอง เพื่อบอกให้ทราบเรื่องที่นำมา)

"๔. พยัญชนะตัวนำหน้า(อักษรนำ)จะเป็นอักษรสูง อักษรกลาง หรือ อักษรต่ำ ก็ได้ เช่น

อักษรสูงนำ: ขนม ฉนำ ถวิล ผนัง ฝรั่ง ฯลฯ

อักษรกลางนำ: กนก จรัส จริต ปรอท ฯลฯ

อักษรต่ำนำ: ชลอ เชลย พนอ แพนง ฯลฯ

ข้อควรสังเกตก็คือว่า ถ้าพยัญชนะตัวหน้าซึ่งเป็นอักษรนำนั้น เป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง และพยัญชนะตัวหลังเป็นอักษรเดี่ยว (คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ) อักษรเดี่ยวนั้นจะต้องออกเสียงและผันเสียงอย่างอักษรสูงหรืออักษรกลางซึ่งเป็นตัวนำ แต่ก็มียกเว้นบางคำที่ไม่อ่านตามกฎนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการ "อ่านตามความนิยม" เช่น กฤษณะ วิษณุ อัศวิน เอกราช ฯลฯ แต่ถ้าพยัญชนะตัวหลังมิใช่อักษรเดี่ยว ก็ให้ออกเสียงอย่างปรกติ ไม่ต้องออกเสียงตามอักษรสูงหรืออักษรกลางซึ่งเป็นตัวนำ เช่น สกุล แสดง ไผท เผอิญ เผชิญ สตางค์ แสตมป์ ฯลฯ"

นำมาลงให้พิจารณาเพื่อการตัดสินใจว่า อักษรนำควรสอนอย่างไร และอย่างไรจึงน่าจะถูกต้องมากขึ้น

ความสับสนของการใช้ภาษาไทย ส่วนมากมักอยู่ที่ความไม่เคารพกติกา หากยอมรับกติกาของภาษาเดิมเขามาใช้ ปัญหาก็น่าจะน้อยลง เพราะคำต่างๆ มักได้มาจากต่างภาษา เช่น บาลี สันสกฤต และเขมร เป็นสำคัญ

เมื่อเรามาตั้งกฎเกณฑ์กันเอง ก็ต้องมีปัญหา "กฎต้องมีข้อยกเว้น" มาก

เช่นภาษาบาลีเขาไม่มีการออกเสียงตามอักษรนำ แต่เรามาตั้งกฎเกณฑ์เอาแต่บ้งเกินไปพ้องกลับคำที่ไม่หยาบแต่ว่าหยาบก็ต้องมีข้อยกเว้นไว้ จึงทำให้ภาษาไทยยากขึ้น

เช่น บาลีอ่าน ติลักขณาทิคาถา(นา) แต่ภาษาไทยแปลงเป็นลักษณะ(หนะ) สัปปายะ ก็แปลงเป็นสบาย เดิม สะบาย แต่ก็มา เปลี่ยนเป็น สบาย เลยสับสนกับอักษรนำอีก แม้แต่อ่านบาลีเองก็ยังอ่านขัดแย้งกันเอง เช่น พุทธัสสาหัสมิ ว่า(มิ)ส่วนโลกัสมิง ว่า(หมิง)ทักขิเนยโย(ไนย)แต่เสยโย(เสย)ก็น่าแปลก

ที่สำคัญ ภาษาบาลี เป็นภาษานิ่ง ไม่ดิ้นเหมือนภาษาไทย คำใดไม่มีสระก็อ่านเสียงอะทุกคำ แต่ถ้าอ่านอะไม่เต็มเสียงก็จะมีเครื่องหมายกำกับทุกตัว ถ้าไม่ปรับแก้ของเดิม ภาษาไทยก็อาจจะเรียนง่ายขึ้นบ้างก็ได้ และยังคงมีอีกมากที่รอให้ครูภาษาไทยศึกษาเพิ่มเติม

ในฐานะเป็นครูก็คอยติดตามความสับสนไปเรื่อยๆ ก็แล้วกัน ศิษย์จะได้สิ่งที่ถูกต้อง

ขออนุโมทนาในความถูกต้องของทุกท่าน

ดี๊ดี ชอบชอบ มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะ อ.พิสูจน์ พอลล่าตกภาษไทย แต่ top ภาษาอังกฤษค่ะ แต่ถ้าอ.ขจิตถาม พอลล่าจะตอบว่า ตกภาษาอังกฤษ top ภาษาไทยค่ะ อิอิ คิดถึงๆๆๆค่ะ

ขอบคุณ คุณหลงยะลา..น่าชื่นชม...และน่าอิจฉา..คุณครูจังเลยครับ..สอนได้ตั้ง ๔ ภาษา...ของผมภาษาเดียวก็จะแย่แล้วครับ

ขอบคุณ คุณeed ที่ได้นำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ครูภาษไทยอย่างเราคงต้องค้นคว้าให้กว้างขวางต่อไป..และไม่ยึดติดตำราเพียงเล่มใดเล่มหนึ่งครับ

ขอบคุณ คุณธัญญารัตน์ ที่มาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจครับ

ขอบคุณ คุณไม่แสดงตน ที่ให้กำลังใจครับ

ขอบคุณ คุณอริสแบส แจลลี่ ให้กำลังใจมามากเลยครับ ขอให้สุขภาพดีมีสุขนะครับ

ขอบคุณ คนรักภาษาไทย ที่นำแง่มุมหลายๆแง่มุม มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทำให้ผู้อ่านได้ความรู้กว้างขวางขึ้นครับ

ขอขอบคุณ คุณรักภาษาไทยอีกครั้งที่นำความรู้มาเพิ่มเติมให้...เรื่องภาษาบาลีผมไม่ค่อยแตกฉาน..นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผมและผู้อ่านท่านอื่นๆมากครับ

ขอบคุณ เจน ครับ ที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยือน

ขอบคุณ อ.เอกราช ถ้าดูตามตำราของ อ.กำชัย ก็ไม่มีคำตอบที่ถูก ถ้าดูตำราของกระทรวงศึกษาธิการก็ตอบ ข้อ ง.ทลาย ครับ แล้วอย่างนี้ครูภาษาไทย จะสับสนไหมครับ

ขอบคุณ พอลลา เอาตัวรอด..ไปได้..อีกแล้วครับ

ขอบคุณ คนพลัดถิ่น ของขวัญวันพ่อ มีค่ามากครับสำหรับพ่อทุกคน

(ชาตินี้ก็อ่านไม่หมดหรอก)

อักษรนำ

ความสับสนในการสอนหลักภาษาไทย

ผมสอนหลักภาษาไทยมานาน เกือบ ๓๐ ปี เคยเรียนภาษาไทยมาหลายสถาบัน เคยอ่านตำราหลักภาษาไทยมาหลายเล่ม เคยเข้าประชุม อบรม สัมมนา เสวนา อยู่บ่อยๆ

(ผมกำลังคุยโม้ว่ามีประสบการณ์นั่นแหละ) พอมาสอน มาวัดผลประเมินผล เรื่องอักษรนำ ทีไร

ผมอึดอัดมาก ท่านลองติดตามมานะครับ

อักษรนำ คืออย่างไร ผมจะลองหยิบหนังสือมา ๔ เล่มที่มีความแตกต่างกันเป็น ๓ ลักษณะ

ลักษณะแรกเป็นหนังสือหลักภาษาไทย ของท่านอาจารย์กำชัย ทองหล่อ(ผมให้หมายเลข๑) กับวารสารแม็ค ประถมปลาย ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๙(หมายเลข๒)

ลักษณะที่ ๒เป็นหนังสือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ของคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพวิชาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ(หมายเลข๓)

ลักษณะที่ ๓ หนังสือเรียนภาษาไทย ป.๔ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ของสำนักพิมพ์ อจท.(หมายเลข๔)

หนังสือหมายเลข ๑ให้ความหมายของอักษรนำ ว่า อักษรนำคือ พยัญชนะ ๒ ตัวร่วมอยู่ในสระตัวเดียวกัน บางคำก็ออกเสียงร่วมกันสนิท เช่น หนู หมอ..อยู่ อย่า..บางคำก็เสียงคล้ายกับเป็น ๒ พยางค์ เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าประสมกับพยัญชนะตัวหลัง แต่พยัญชนะทั้ง ๒ นั้น ประสมกันไม่สนิทกลมกลืนเหมือนอักษรควบแท้ จึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะดังออกมาแผ่วๆ แต่อย่างไรก็ตาม เสียงของคำย่อมบ่งชัดว่าเป็นพยัญชนะประสมกัน เป็นตัวเดียวกัน และเป็นพยางค์เดียว เช่น กนก ขนม จรัส ฉมวก แถลง ผนวก ฝรั่ง ไสว

หนังสือหมายเลข ๒ ให้ความหมายของอักษรนำว่า อักษรนำคือคำที่มีพยัญชนะสองตัวประสมสระเดียวกัน ออกเสียงสองพยางค์ พยางค์หน้าหรืออักษรนำออกเสียงสระอะกึ่งมาตรา พยางค์หลังหรืออักษรตามออกเสียงสระที่ประสมอยู่

หนังสือหมายเลข ๓ บอกว่าคำอักษรนำ คือคำที่มีพยัญชนะ ๒ ตัวประสมสระเดียวกัน

หนังสือหมายเลข ๔ บอกว่า อักษรนำคือคำที่มีพยัญชนะสองตัวซ้อนกัน พยัญชนะตัวแรกเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง พยัญชนะตัวที่สองเป็นอักษรต่ำเดี่ยว...เวลาออกเสียง พยัญชนะตัวแรกจะออกเสียงวรรณยุกต์สูง-ต่ำตามพยัญชนะตัวแรกเช่น ขนุน..เสมอ...ตลาด..อร่อย..(แล้วมาหยอดตรงท้ายว่า หากอักษรตัวหลัง ที่ตามอักษรสูงหรืออักษรกลาง ไม่ใช่อักษรต่ำเดี่ยว เวลาออกเสียง ไม่ต้องเปลี่ยนระดับเสียงวรรณยุกต์เหมือนอักษรสูงหรืออักษรกลางที่นำมาข้างหน้า เช่น ไผท เผชิญ

ทีนี้ผมจะมาอธิบายความแตกต่าง ส่วนอื่นๆหนังสือทั้ง ๔ เล่มอธิบายไว้คล้ายๆกัน แต่ส่วนที่น่าสังเกตมีดังนี้ หนังสือหมายเลข ๓ เขียนหมายเหตุไว้ดังนี้

“ มีหนังสือหลักภาษาไทยบางเล่ม ยกตัวอย่างคำอักษรนำที่มีเสียงพยางค์หน้าเน้นเสียงอะ เช่น คำว่า สบาย สบง ขบวน ทนาย ฯลฯ และระบุว่าเป็นอักษรนำ ซึ่งความจริงยังไม่ถูกต้อง เพราะคำอักษรนำจะต้องเป็นคำที่เป็นอักษรสูงหรืออักษรกลางนำอักษรต่ำเดียว จึงจะจัดเป็นอักษรนำ เพราะคำเหล่านี้แม้จะออกเสียง ๒ พยางค์และพยางค์หน้าออกเสียงอะโดยไม่ประวิสรรชนีย์ก็จริง แต่เสียงพยางค์ของคำทั้ง ๒ เป็นอิสระแก่กัน เช่นคำว่าสบาย อ่านว่าสะ-บาย ตัว “บ” ไม่ต้องออกเสียงสูงตามตัว “ส” และตัว “บ” ไม่ใช่อักษรต่ำเดี่ยว จึงไม่จัดเป็นอักษรนำ คำว่า ทนาย อ่านว่า ทะ-นาย ตัว “ท” เป็นอักษรต่ำไม่ใช่อักษรสูงหรืออักษรกลาง อักษรนำจะต้องใช้พยัญชนะตัวแรกเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลางเท่านั้น จึงใคร่ขอให้ครูทำความเข้าใจให้ชัดเจนในเรื่องนี้”

จากหมายเหตุนี้จึงน่าจะขัดแย้งกับหนังสือหมายเลข ๑ หมายเลข ๒ และหมายเลข ๓ ตรงท้ายๆ เพราะหนังสือหมายเลข ๑ มีตัวอย่างที่อักษรสูงนำอักษรสูงก็มี เช่น สถาน เสถียร อักษรต่ำนำอักษรต่ำเดี่ยวก็มีเช่น โพยม เชลย อักษรสูงนำอักษรกลางเช่น แสดง เผอิญ เผดียง หนังสือหมายเลข ๒ ยกตัวอย่างคล้ายๆหนังสือหมายเลข ๑ ตัวอย่างที่ยก ว่าเป็นอักษรนำ ก็เหมือนหนังสือหมายเลข ๑ (น่าจะใช้หนังสือหมายเลข ๑ เป็นแหล่งเรียนรู้) ตัวอย่างที่ยกเพิ่มมาคือ ทลาย มณี เป็นต้น

ส่วนหนังสือเล่มที่ ๔ นั้นตอนแรกก็ให้ความหมายสอดคล้องกับหนังสือหมายเลข ๓ แต่ตอนท้ายไปมีเงื่อนไขและตัวอย่างเพิ่มขึ้น ผมจึงจัดไว้เป็นลักษณะที่ ๓

เมื่อเป็นอย่างนี้ครูภาษาไทยเราจะทำอย่างไร ท่านลองทำข้อสอบของผมข้อนี้

๑. ข้อใด ไม่จัดเป็นอักษรนำ?

ก. หน้า

ข. อยาก

ค. สนาม

ง. ทลาย

ท่านว่าข้อสอบข้อนี้มีตัวเลือกที่ถูกต้องหรือไม่..............ท่านผู้รู้ช่วยอธิบาย และตัดสินที ครูภาษาไทยผู้ด้อยปัญญา แต่มากด้วยประสบการณ์อย่างผมกลุ้มกลัด อัดอั้นจริงๆ

อาจารย์ค่ะ หนูขออนุญาตินำบทความของอาจารย์ไปทำเรียงความนะคะ

ขอบคุณสำหรับหัวข้อดีๆเช่นนี้ค่ะ ขอขอบคุณล่วงหน้าจากใจค่ะ^^

ขอบใจ นร.ม.๒ แห่ง สธ.มก. สำหรับนักเรียน ที่นำไปใช้ในเชิงวิชาการ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ครูพิสูจน์ยินดีอนุญาต ครับ ..ขอชมเชยว่า..หนู..เป็นเด็กดี..มีคุณธรรม..มีมารยาท...รู้จักขออนุญาต....ขอชมเชย..พ่อแม่...ผู้ปกครอง...และครูบาอาจารย์...สถาบันของหนู...ที่ปลูกฝังสิ่งดีๆให้หนูมา

ขอบคุณแทนประเทศไทยที่มีคนอย่างคุณ ไม่งั้นภาษาไทยหายแน่

สวัสดีค่ะอาจารย์ ขอแนะนำตัวก่อนนะคะ หนูก็เป็นครูที่สอนภาษาไทยอีกคนหนึ่งที่สนใจเรื่องของอักษรนำ บังเอิญว่าหนูกำลังหาแหล่งความรู้เรื่องอักษรนำอยู่ แล้วก็ได้มาเจออาจารย์ คือหนูเป็นผู้ที่มีประสบการณ์น้อย จึงขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์หน่อย

นะคะ หนูสอนนักเรียนมัธยมและสิ่งที่หนูเจอปัญหาเกี่ยวกับภาษาไทยในยุคปัจจุบันของนักเรียนคือนอกจากนักเรียนจะอ่านไม่คล่องและเขียนไม่คล่องแล้วยังเจอปัญหาเรื่องอักษรนำนี่แหละค่ะที่หนูสนใจอยากที่จะทำวิจัย แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะหาวิธีการอย่างไรดี

จากปัญหาที่หนูเจอก็คือสังเกตจากการเขียนของนักเรียนไม่ว่าจะเป็นม.1หรือม.3ก็จะเจอเหมือนกัน คือนักเรียนจะไม่เขียนอักษรนำอย่างเช่นคำว่า หมั่น เขียนเป็นมั่น อยากเป็นยาก อาจารย์พอจะมีวิทยายุทธแนะนำบ้างมั๊ย เพื่อที่หนูจะได้นำเอาวิชาที่อาจารย์ถ่ายทอดมาใช้กับนักเรียนของหนูได้

สวัสดีค่ะ หลายครั้งที่เห็นครูภาษาไทยก็สอนผิดนะค่ะ

ขอบคุณ เบดูอิน ครูพิสูจน์ ไม่ใช่คนเก่งภาษาไทยนักหรอก แต่สนใจภาษาไทย รักภาษาไทย พยายามศึกษาภาษาไทย มีอีกหลายเรื่องที่ครูพิสูจน์ก็ยังตอบไม่ได้..และกำลังหาคำตอบอยู่...คงยังไม่แก่เกินเรียนนะครับ

ขอบคุณ คุณครูหน่อย ครับที่แวะนำประสบการณ์การสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จากตัวอย่างที่คุณครูยกมา แสดงว่านักเรียนมีปัญหาเรื่องการผันวรรณยุกต์ด้วย นักเรียนสับสน และแยกไม่ออกว่า คำนั้น มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน เช่น อยาก มีเสียง เอก ยาก มีเสียง โท เขาไม่รู้ว่า อักษรต่ำ ถ้าใส่ไม้เอก จะมีเสียงโท แต่ถ้ามีอักษรนำ จะผันตามระดับเสียงตัวนำ เช่น หมั่น ผันตาม เสียงตัว ห คือ ถ้าเป็น ห ตัวเดียวจะเป็น หั่น เสียงเอก เมื่อ ม ตาม ห จึง ต้องเป็น หมั่น เสียงเอกเท่า หั่นไม่ใช่ มั่น ถ้าเด็ก มีปัญหา ต้องเขียน เทียบเสียงให้ดู เช่น มั่น เท่ากับ หมั้น วิธีแก้ ต้อง ฝึกผันวรรณยุกต์ด้วยครับ ผมก็แนะนำไป แต่เวลาสอนจริงๆผมก็เหนื่อยเหมือนครูหน่อยนั่นแหละครับ

ขอบคุณ mena บางทีจะโทษครูภาษาไทย ก็ไม่ได้เพราะ ท่านก็อาจศึกษามาจากตำราบางเล่ม ที่ให้แง่มุมทางภาษาบางแง่มุม ไม่เห็นอีกแง่มุมหนึ่ง

สวัสดีค่ะ อ.พิสูจน์

อาจารย์สบายดีนะคะ ไม่ได้เข้ามาทักทายอาจารย์นานเลยค่ะ คงจำตุ๊กได้นะคะ (หลานอาฟ้าคะนองค่ะ)พอดีได้มีโอกาสมาอ่านเรื่องอักษรนำของอาจารย์ ทำให้มีความรู้เพิ่มเติมอีกค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากๆ ค่ะที่มีสิ่งดีๆ ให้อ่านเสมอ

ขอบคุณ ตุ๊ก จำได้เพราะผมสนิทกับ อ.ฟ้าคะนอง ตอนนี้ ภรรยาของผมย้ายไปอยู่โรงเรียนวัดศรีเฉลิมเขตโรงเรียนเดียวกับ อ.ฟ้าคะนองแล้ว ยิ่งใกล้ชิดกันมากขึ้นครับ อ.ฟ้าคะนองเก่งนะครับ เป็นพิธีกรยอดเยี่ยมเลย

สวีสดีอาจารย์ค่ะ ช่วยสอนการเรียงประโยคบ้างซิค่ะ แบบประโยคไหนมาก่อน มาหลัง

เหมือนในข้อสอบภาค ก นะค่ะ จะกรุณามากเลยค่ะ แล้วก็เคล็ดลับการจำด้วยได้ไหมค่ะ

จะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ

ขอบคุณ ทิพย์ การเรียงประโยค บอกเคล็ดลับ ตายตัวยาก แต่มีข้อสังเกต ว่าส่วนมากมักจะไม่ขึ้นประโยคแรกด้วย คำเชื่อม แต่ก็ต้องดูเนื้อความ เหตุการณ์ ก่อนหลัง ดูการเชื่อมคำ นี่เป็นข้อสังเกตเท่านั้น ต้องเห็นประโยคจริงจึงจะค่อยๆพิจารณาได้..ผมยังเคยเรียงผิดเลย...หรือเฉลย...เฉลยไม่ตรงก็ไม่รู้

ผมจำได้ว่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านสอนว่า

อักษรนำคืออักษรที่ลากจูงอักษรตัวหลังให้ออกเสียงตามหรือสามารถออกเสียงตามฐานเสียงของอักษรตัวหน้าได้ ในภาษาไทยก็มีเพียง /อ/ และ /ห/ ส่วน /จ/ /ต/ /ส/ /ข/ ฯลฯ ล้วนเป็นคำที่ได้รับอิทธิพลจาภาษาอื่น อย่างไรก็ดีองค์ความรู้เกี่ยวกับอักษรนำนั้นอธิบายได้หลายวิธีตามแต่สำนักเรียน แต่สำนักใหญ่ ๆ ที่ควรศึกษาเป็นแนวทางคือ สำนักของพระยาอุปกิตฯ สำนักของพระยาอนุมานฯ สำนักของพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูล/ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นตุลาการด้านภาษาไทย) แต่ทั้งนี้ผมเห็นว่าหากอธิบายในแนวของภาษาศาสตร์โดยใช้หลักสัทศาสตร์น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนที่สุด

ปล.ผู้มีความรู้น้อย(ยิ่งกว่า)ขอเสนอความเขลาให้พ่อครูติชมเพื่อบำเทิงใจ

ขอบคุณ พิมล มองจันทร์ ข้อมูลและความคิดเห็นของท่านนับว่าเป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้..หลักภาษาไทยอย่างยิ่ง...เสียดาย..ตุลาการศาลฎีกา..แห่งภาษาไทย ท่านก็ถึงแก่อนิจกรรม...ไปเสียแล้ว...มิเช่นนั้นเราคงได้ฟังคำพิพากษาจากท่าน....

จะน่ามียกตัวอย่างคะ

อยากให้มี(เช่น ขยับ ฉลาด ฉลาม ตลาด จมูก เป็นต้น)

น่าจะมีให้อ่านเยอะกว่านี้ต้องปรับปรุงหน่อยนึง

อักษรนำไม่คบเท่ารัยเลยนะ มีมั้ยมาก

ก็ดีแต่นุงงง่ะ มันยาวแล้วเนื้อหาซ้ำไปซ้ำมา Thank You

น่าจะมีรายละเอียดให้มากกว่านี้ และควรอธิบายให้แน่ชัดไม่อ่านแล้วสับสน...ขอบคุณ

อ่านแล้วงงมาก ไม่มีหน่วยงานไหนรับผิดชอบตรงนี้หรือคะ ไม่เช่นนั้นคนไทยก็ต้องสับสนต่อไป ใครรับผิดชอบตรงนี้ช่วยหาคำอธิบายที่เป็นแนวทางเดียวกันหน่อยซิคะ เพื่อภาษาไทยของเรา

ได้เข้าอบรมกับ ศ.อัจฉรา ชีวพันธุ์ อาจารย์คณะครุศาสตร์ ม.จุฬาฯ ท่านให้ความกระจ่างไว้ 3 ข้อ เกี่ยวกับ อักษรนำว่า

1. ลองแยก พยัญชนะกับสระของคำ แล้วผันเสียงวรรณยุกต์ จำไว้ว่า จะต้องใช้เสียงวรรณยุกต์เสียงเดียวกับพยางค์หน้า

เช่น หนู แยก หู (เสียงจัตวา) + นู (เสียงสามัญ) เมื่อนำมาใช้ จึงอ่านตามเสียงจัตวาของพยางค์หน้าว่า หนู ไม่อ่านว่า นู

2. สนาม แยก สาม (เสียงจัตวา)+ นาม (เสียงสามัญ) อ่านว่า สะ-หนาม ตามเสียงหน้า

ความเห็นของตัวเองคิดว่า คำอื่น เช่น แสดง น่าจะเป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ที่มันแผลงมาจากคำอื่น ลองอ่านหนังสือของ ท่านอ.กำชัย ทองหล่อ อีกครั้งนะคะ เรื่องคำแผลง การกร่อนเสียง คำจากภาษาอื่น ท่านก็เขียนได้ชัดเจนดี ไม่มีเวลาดูให้เลยค่ะ มีงานเยอะ แต่เข้ามาอ่านแล้ว น่าจะช่วยได้จุดหนึ่ง

สวัสดีครับ ผมเป็นชาวอเมริกันที่เรียนภาษาไทยตัวเองที่บ้านในอุดรธานี ผมยังออกไม่เป็นเขียนไม่ได้เลย ตอนนี้ผมเรียนอักษรนำ และอักษรควับกล้ำ ในหนังสือ 'หัดอ่าน ภาษาไทย แบบใหม่ เล่ม ๑-๗ ฉบับบสมบูรณ์'

ผมอยากรู้ว่า คำอักษรนำที่มีวรรณยุกต์ด้วย มีหลายคำหรือเปล่า? เช่น ฝรั่ง เป้นอักษรนำที่มีวรรณยุกต์ไม้เอก

ผมคิดว่า ในคำที่มีพยัญชนะ 2 ตัว เรียงติดกับ ประสมกับสระตัวเดียวกัน ถ้าพยัญชนะที่เรียงติดกับคือ ร ล ว และตัวนั้นก็มีวรรณยุกต์ด้วย คำนั้นอย่างน่าจะเป็นอักษรควบกล้ำ เข่น ไข้ว พร้า คว้า กล้า ไคร่ แต่ข้อยกเว้นมีคำอย่างนั้นเป็นอักษรนำ เช่น ฝรั่ง

ขอตอบว่าที่ผมคิดเป็นถูกต้องหรือไม่ ขอบคูณให้ช่วยเหลือผมเข้าใจภาษาไทย

จอห์น

ขอบคุณ ทุกท่านแวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

น่าจะยกตังอย่าง

ขอบคุณคุณคะได้ความรู้อีกแล้ว

ทลาย ไม่ใช่อักษรนำ

เพราะ คำอักษรนำต้อง ออกเสียงมี ห นำ

เช่น ขนม อ่านว่า ขะ - หนม

แต่ ทลาย อ่านว่า ทะ -ลาย ไม่ใช่ ทะ - หลาย

ทลายจึงไม่ใช่คำอักษรนำ

หนูกไม่เข้าใจค่ะ

ตอบทลาย ไม่ใช่อักษรนำ เพราะทะลายอ่านว่า ทะ-ลาย ไม่ใช่ ทะ-หลายค่ะ

ส่วนคำอื่นๆก็อ่านออกเสียง ห นำ ถูกต้องแล้วค่ะ

ขอบคุณอีกครั้ง สำหรับท่านที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

ผมกำลังหาคำตอบ เกี่ยวกับอักษรนำอยู่พอดี พอได้ความรู้จากบทความของอาจารย์ผู้มากประสบการณ์ จึงอยากแสดงความคิดเห็น ดังนี้

คำในภาษาไทยเรา ย่อมทราบกันอยู่ว่าไม่ใช่คำไทยแท้ทั้งหมด บางคำ หรืออาจถึง ครึ่งของภาษาไทยที่ใช้กันอยู่(ไม่เคยนับ) เป็นคำที่นำมาจากภาษาอื่น โดยเฉพาะภาษาของเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น เขมร มาลายู บาลี เป็นต้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาเขมร มักมีคำที่ออกเสียงอะกึ่งเสียงอยู่เป็นจำนวนมาก ฉะนั้น เป็นไปได้ไหมว่า เราอาจสับสนเพราะคำเหล่านี้ว่าเป็นคำที่เป็นอักษรนำในภาษาไทยหรือไม่

จาก

ผู้น้อยประสบการณ์

      สวัสดีครับ   เป็นไปได้ไหมละครับ  ข้อสอบข้อนี้ไม่มีคำตอบที่ถูก เพราะมีการออกข้อสอบที่มีคำตอบถูกหมดทุกข้อ กระทรวงศึกษาธการก็เถอะ  มันอยู่ที่หัวกระดาษ  แต่คนออกข้อสอบก็เรา ๆ ท่าน ๆ นี่แหละ การไม่รอบคอบ ไม่ทบทวนก่อนนำใช้ ก็มีผิดพลาดเสมอ   ผมพบบ่อย  ก็เลยให้คะแนนฟรีไปเลยในข้อนี้  แต่อย่าทำตามวิธีการของผมนะครับ เพราะวิธีและหลักการพิจารณาอาจแตกต่างกัน 

         ผมยังพบหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการพิมพ์ผิดบ่อยเลยตำราเรียนเสียด้วยครับ   ขอบคุณที่แบ่งปันครับ 

     สวัสดีคับ  แต่อย่างไรก็ตามกรณีนี้กระทรวงศึกษาธิการและผู้ออกข้อสอบไม่ได้ผิดครับ   เขาเฉลยถูกต้อง(พิมพ์ความเห็นไม่ทันเสร็จ  พลาดถูกแป้น ok ส่งโดยไม่ได้ตั้งใจ  ก็เลยต้องเพิ่มเติมตามติดมาแสดงเหตุผลที่เห็นด้วยกับคำเฉลย)

ขอบคุณ คุณวินัย และคุณธนา ที่แสดงความเห็น และมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

อ่านเเล้วสนุกมากๆเลยค่ะ

สนุกมากๆๆค่ะ  ขอตอบข้อ ง.

ขอบคุณ อุมาภรณ์ นริศราและพรทิพย์ครับ

ถึงแม้จะลงกระทู้นานแล้ว ผมเข้ามาก็รู้สึกว่าดีมากเลยครับที่นำมาคุยกัน ผมตอบ"ทลาย"อย่างหลายๆคน เพราะหลักการจำของผมจำนิดเดียวคือ นอกจาก อย่า อยู่ อย่าง อยาก  และ  "หน."  นำทั้งหลายแล้ว  คำใดก็ตามที่ออกเสียงแล้วเมื่อแจงคำไม่ตรงตามเสียง ต้องมีตัว "ห" มาช่วย เช่นไถล เมื่อสอนก็ให้เด็กหัดแจกแจงลูกคำ  ให้เด็กแจงให้เป็น ถะ-ไหล  ไม่ใช่ ถะ-ไล  นั้นก็คือ ห-นำ แต่คำว่า ทลาย  เราอ่าน ทะ-ลาย  ตรงตัว  ไม่ได้อ่าน  ทะ-หลาย จึงไม่ใช่  ห-นำ หรือ  อักษรนำ  ดูอ้างอิงมากบางทีก็เครียดครับ

ขอบคุณ คุณเก่ง ลูกราม ภาษาไทยมากครับ ที่สนใจภาษาไทยของเราครับ

เด็กที่ยังต้องได้รับการศึกษา

สับสนเหมือนกันค่ะ หนังสือให้ข้อมูลต่างกันจริงๆ

แต่ว่าทลาย คือคำตอบที่ถูกค่ะ อ่านว่า ทะ-ลาย ไม่มี ห นำ

ขอบคุณเด็กที่ยังต้องได้รับการศึกษา ผมก็เห็นเหมือนคุณครับ

ดิฉันว่าคุณเข้าใจผิดตรงการออกเสียงหรือเปล่า

เพราะคำว่าอักษรนำก็คือพยัญชนะสองตัวประสมสระเดียวกัน ตัวแรกเรียกอักษรนำ ตัวที่สองเรียกอักษรตาม

แต่ออกเสียงเป็น 2 อย่างคือ

ออกเสียง 2 พยางค์ กรณีดังนี้

1. อักษรสูง หรืออักษรกลาง นำอักษรต่ำเดี่ยว ให้ออกเสียงเป็นสองพยางค์ พยางค์แรกออกเสียงเหมือนมี อะ กึ่งเสียง พยางค์ที่สองออกเสียงวรรณยุกต์ตามอักษรนำ เช่น ขนม ออกเสียงวรรณยุกต์เสียงจัตวา ว่า หนม ตามอักษรนำ ขม (ฟังเหมือนมี ห นำอักษรตาม)

2. (ข้อนี้แหละที่คุณสับสน) ถ้าอักษรสูง อักษรกลาง หรืออักษรต่ำ นำอักษรที่ไม่ใช่อักษรต่ำเดี่ยว ให้ออกเสียงอักษรตาม ตามสระที่ประสมอยู่โดยไม่ออกเสียงวรรณยุกต์ตามอักษรนำ (ออกเสียงตามตัวมันเอง) เช่น สบาย ทนาย เผอิญ สถาน

ออกเสียงเป็น 1 พยางค์ มี 2 อย่าง

1. ห นำ อักษรต่ำเดี่ยว เช่น หรูหรา หงาย หญ้า หนู หวาน หมา หลาย ออกเป็นเสียงพยางค์เดียวแต่ออกเสียงวรรณยุกต์ตามอักษรนำ เช่น หวาน เสียงวรรณยุกต์ตาม หาน

2. อ นำ ย (เหมือนข้อ 1 ) มี 4 คำ อย่า อยู่ อย่าง อยาก

ดิฉันเข้าใจอย่างนี้มาตลอด แต่ไม่เข้าใจว่าอาจารย์สอนมา 30 ปี แต่ยังมีความสับสนอยู่แล้วอาจารย์สอนเด็กว่าอย่างไร แต่อาจารย์บอกว่ามีประสบการณ์ และที่สำคัญเป็นอาจารย์ชำนาญการพิเศษ

ครูที่สับสนเหมือนกัน

จะเขียนแสดงความคิดเห็น ก็อย่าดูถูกกัน เพราะบางครั้งมองต่างมุมกัน จะเป็นใครก็ตามก็ยังผิดพลาดได้ คุณนาอาจจะเข้าใจผิดอีกก็ได้ กรุณาศึกษาดี ๆ อีกครั้งหนึ่ง (หรือหลายครั้ง) คนนี้ก็ศึกษาค้นคว้ามาหลายอาจารย์แล้ว คำว่า สบาย สบง

สกัด สกาว คำเหล่านี้ไม่น่าจะเป็นอักษรนำ เพราะไม่ได้อ่านตามหลักของการอ่านออกเสียงอักษรนำ (จำไว้คุณนา อย่าดูถูกกัน

คุณจะเก่งแค่ไหน ถ้าคุณลองถูกคนอื่นดูถูกบ้างจะเป็นอย่างไร) ข้อความข้างบนเป็นเพียงแต่แสดงความคิดเห็น ข้ออ้างอิงเท่านั้น

เรื่องนี้ อ่านมาทั้งหมดยังห่ข้อสรุปไม่ได้ ขอไม่แสดงความคิดเห็นนะคะ บางครั้งอยากให้อาจารย์หลายๆท่านมาหาข้อสรุปกัน เหมือนเหล่าอักษรย่อ เนี่ย ตามราชบัณฑิตสถาน ให้ รร. คือ โรงเรียน และโรงแรม แต่พอ ร.พ. โรงพยาบาล ข้อสอบ NT เด็กป.3ยังผิดเลย ข้อใดใช้ตัวย่อผิด ก ช.ม. ชั่วโมง ข.จ.ว จังหวัด ค.ร.ร. โรงเรียน ง.รพ. โรงพยาบาล ให้เฉลย ข้อไหนหละคะ ดิฉันจึงต้องเปิด พจนานุกรม สุดท้ายไม่มีข้อถูก ทำยังไงคะ ตอนนี้ติว o-net เรื่องคำอักษรนำก็ยังไม่กระจ่าง เราจะทราบข้อสรุป ยังไงดี อย่าทะเลาะกันด้วยปัญหานี้ ทุกอย่างคือการแสดงความคิด เห็น ส่วนเรื่องตัวย่อ ส่วนใหญ่ผิดที่สื่อ ที่ขยันคิดตัวย่อ ขึ้นมาในแต่ละวัน ขอบคุณทุกท่านที่แสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย

สวัสดีค่ะอาจารย์หนูว่าคำว่า ทลายไม่ใช้อักษรนำคะ

นั่นสิคะ ขอขอบคุณกระทู้ของคุณครูมาก เพราะเคยเห็นกรณีของอาจารย์ ของอจท.น่ะ สอนหลักการได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ เพราะบางตำราบอกว่า สบาย สกาว ชบา เป็นอักษรนำ ซึ่งจริงๆไม่ใช่ คำเหล่านี้ อ่านแบบเรียงพยางค์ สังเกต สกา สบาย ไม่ใช่อักษรนำเพราะเป็นสูงนำกลาง จริงๆแล้วพยัญชนะที่สองต้องเป็นอักษรต่ำเท่านั้นค่ะ ชบา ชไม พนักงาน ก็ไม่ใช่ค่ะเพราะ พยัญชนะตัวแรกที่เป็นอักษรนำได้ต้องเป็น อักษรสูงหรือกลางเท่านั้น ถ้าเป็นอักษรต่ำนำไม่ถือเป็นอักษรนำค่ะ นี่คือหลักภาษาไทยจากสำนัก อจท. น่าเชื่อถือนะคะ เพราะฉะนั้นข้อนี้คำตอบคือ ทลาย ค่ะ

  1. (ข้อนี้แหละที่คุณสับสน) ถ้าอักษรสูง อักษรกลาง หรืออักษรต่ำ นำอักษรที่ไม่ใช่อักษรต่ำเดี่ยว ให้ออกเสียงอักษรตาม ตามสระที่ประสมอยู่โดยไม่ออกเสียงวรรณยุกต์ตามอักษรนำ (ออกเสียงตามตัวมันเอง) เช่น สบาย ทนาย เผอิญ สถาน
    ..................................นักปราชญ์ที่พลาดพลั้ง ทนาย น เป็นอักษรต่ำเดี่ยวนะคะ คุณบอกว่าอักษรที่ไม่ใช่อักษรต่ำเดี่ยวให้ออกให้ออกเสียงอักษรตาม ตามสระที่ประสมอยู่โดยไม่ออกเสียงวรรณยุกต์ตามอักษรนำ (ออกเสียงตามตัวมันเอง) แค่นี้ก็ขัดแย้งในตัวแล้ว สบาย ทนาย เผอิญ สถาน ไม่ใช่อักษรนำ แน่นอน เพราะ พยางค์ที่สอง ไม่ใช่อักษรต่ำ และการออกเสียงก็ไม่ใช่ ยกเว้น ผไท สมาคม สมาชิก เป็นอักษรนำไม่อ่านอย่างอักษรนำ เป็นข้อยกเว้นค่ะ อย่าดูถูกคนอื่น ครูที่เขาตั้งกระทู้นี้ เขามีความฉลาดที่รู้จักสังเกต ว่าตำราบางสำนักบอกไม่เหมือนกัน เขาไม่อยากให้ความรู้ผิด ๆ แก่เด็ก ฉันว่าคุณนาสอนเด็กมาผิดมานานแล้วนะค่ะ อย่าโกรธกันนะ แต่นี่คือความจริง

ขอบคุณ ทุกท่านที่มาอภิปรายทำให้เห็นแง่มุมต่างๆ ความคิดจะได้กว้างขวางออกไป หลายๆด้าน ดีครับ

ดิฉันก็เรียนจบเอกไทยเป็นครูภาษาไทยมานาน เท่าที่เรียนมาก็เหมือนกับหลายท่านที่อักษรนำ คือ อักษรที่พาเสียง ห ไปให้อักษรตัวหลัง เช่น สนุก = สะ - หนุก แต่พอมาเห็นคำที่อักษรตัวหลังไม่มีเสียง ห ก็งงๆ เหมือนกันค่ะ เช่น แสดง = สะ - แดง สอนเด็กไปก่อนตามที่เรียนมาตั้งแต่เด็กเช่นกัน พอไปเทียบกับหนังสือปัจจุบัน คำว่า แสดง สบาย กลับถูกจัดอยู่ในกลุ่มอักษรนำด้วย จากการอ่านหลายความเห็นก็ยังสรุปไม่ได้จริงๆค่ะว่าสอนเด็กแบบไหนถึงถูก แต่ถ้าให้คิดก็ต้องเป็นแบบที่เรียนมาแต่เด็ก เพราะหลายๆคนก็เรียนมาแบบนี้ เพิ่งมาสับสนกันไม่ถึง 10 ปีมานี่เองค่ะ เฮ้อ....รักภาษาไทยและอยากให้ความถูกต้องเป็นไปในทางเดียวกันทั้งประเทศค่ะ

เป็นเรื่องธรรมดาครับ นักภาษาศาสตร์ยังมีหลายสำนักเลยครับ

สวัสดีครับ ก่อนอื่นต้องออกตัวเลยว่า กระผมไม่ได้มาสอนหรือมาแนะนำใดใดทั้งสิ้น เพียงแต่ขอร่วมสนทนา แลกเปลี่ยนทัศนะ กับท่านเท่านั้น

ก่อนอื่นเราต้องตรวจสอบความเข้าใจ ว่าเราเข้าใจความหมายของคำว่า "อักษรนำ" ตรงกันหรือไม่ ผมให้ความหมายคำว่า “อักษรนำ” ตามตำราทั้งสี่เล่มที่อาจารย์ยกมา ซึ่งทั้งสี่เล่มเห็นพ้องต้องกันว่า หมายถึง

๑.“คำที่มีพยัญชนะสองตัวประสมสระเดียวกัน

.พยัญชนะตัวแรก ส่งเสียง(นำ)พยัญชนะตัวหลังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเสียง

(นำ หมายถึง มีอิทธิพลชักนำ ชี้นำ(ความหมายตามบริบท))

เพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอให้เราแยกแยะว่าคำได้เป็น อักษรนำหรือไม่ใช่ เพราะฉะนั้น

.คำจำพวก ดำริ,ประโยค,อำมาตย์,ดิลกจึง “ไม่ใช่” คำอักษรนำอย่างแน่นอน

เนื่องจากไม่เข้ากฏที่ว่า “คำอักษรนำ คือ คำที่มีพยัญชนะสองตัวประสมสระเดียวกัน” เช่น ดำริ ( อำ และ อิ หมายความว่า พยัญชนะสองตัว+สระสองตัว) คำอื่นก็เช่นเดียวกัน (ถ้านำความเป็นภาษาบาลีสันสกฤตมาอธิบายก็จะ เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น อำมาตย (อำมาตย์) เนื่องจากเป็นบาลี เราจึงต้องอ่านว่า อำ-มา-ตะ-ยะ ฉะนั้นแล้วการที่เราอ่านว่า อำ-หมาด เป็นเพียงการอ่านตามความเคยชินอันได้รับอิทธิผลจากการอ่านแบบอักษรนำ เราจึงเรียกคำเหล่านี้ว่า คำที่อ่าน ((อย่าง) )อักษรนำ

.ที่บอกว่าอักษรสูงนำอักษรสูงได้นั้น ไม่จริง (ซึ่งผมจะไม่พูดถึงว่าอักษรหมวดหมู่ไหนใครนำหรือตาม ซึ่งถ้าเราพิจารณาตามกฎการนำเสียงแล้วก็ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอักษณไตรยางศ์)

เช่น คำว่า สถาน แยกคำได้เป็น สาน (เสียงจัตวา) และ ถาน (เสียงจัตวา) ทั้งสองพยางค์ออกเสียงจัตวาเหมือนกันจึงไม่มีใครนำใคร (เพราะต่างก็เป็นอักษรสูง ตำรวจยศเท่ากันไม่นำกัน) ฉะนั้นจึงไม่ใช่อักษรนำ รวมถึงคำว่า เชลย แยกคำได้เป็น เชย(เสียงสามัญ) และ เลย (เสียงสามัญ)ทั้งสองพยางค์ออกเสียงสามัญเหมือนกัน จึงไม่มีใครนำใคร อธิบายเช่นเดียวกับคำว่า สถาน

หลักการสังเกต อักษรนำขออธิบายความเข้าใจของตนเองดังนี้ เช่น หนา เกิดจาก หา (เสียงจัตวา) และ นา (เสียงสามัญ) เมื่อ หา นำ นา (ห นำ น) ก่อให้เกิดการชักนำเสียงสามัญ นา(น) ให้กลายเป็นเสียงจัตวา หน๋าเช่นเดียวกับพยัญชนะตัวแรก(ห) เช่นนี้ถึงเรียกอักษรนำ

น่าคิดว่า คำที่อ่านออกเสียงเหมือนมี ห นำ เช่น ฉลาด ไถง ฯลฯ ส่วนมากเป็นภาษาเขมร

ฉะนั้นความเป็นภาษาเขมร (เขมร ข นำ ม) ก็น่าจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการบ่งความเป็นอักษรนำ ถ้าเป็นบาลีสันสกฤต ก็เป็นคำที่อ่านอย่างการอ่านอักษรนำ

ส่วนคำที่มีรูป ห นำ อักษร ตำเดี่ยว ย่อมแน่นอนอยู่แล้วว่าเป็นอักษรนำ

ภาษาไทย ครูพี่หน่อย

ตอบกลับ เพราะส่วนตัวคิดว่า อักษรนำ2พยางค์ พยางค์ที่2นั้นเมื่อเขียนเสียงอ่านต้องมีเสียง ห น์ด้วย เช่น สมร สมัย แต่ว่า คำว่า ทลาย หรือ คำว่าแสดง ไม่น่าจะใช่ครับ

แล้วคำอักษรนำประเภทสูงนำต่ำ กับ กลางนำต่ำ เอาไปรวมเป็นคพไม่ประวิสรรชนีย์ได้ไหม เพราะสงสัยในเรื่องหลักการอ่านที่ไม่เหมือนกัน เช่น

ขนม (ขะ-หนม) สูงนำต่ำ

ตลก(ตะ-หลก)กลางนำต่ำ

ชบา(ชะ-บา)ไม่ประวิสรรชนีย์

**สองคำบนนั่น ถือว่า เป็นไม่ประวิสรรชนีย์ด้วยไหม


#แต่สำหรับตัวเองคิดว่าไม่ใช่ เพราะมันเป็นอักษรนำ มันมีหลักการอ่านเฉพาะของมัน


แต่ก็ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

แล้วคำอักษรนำประเภทสูงนำต่ำ กับ กลางนำต่ำ เอาไปรวมเป็นคพไม่ประวิสรรชนีย์ได้ไหม เพราะสงสัยในเรื่องหลักการอ่านที่ไม่เหมือนกัน เช่น

ขนม (ขะ-หนม) สูงนำต่ำ

ตลก(ตะ-หลก)กลางนำต่ำ

ชบา(ชะ-บา)ไม่ประวิสรรชนีย์

**สองคำบนนั่น ถือว่า เป็นไม่ประวิสรรชนีย์ด้วยไหม


#แต่สำหรับตัวเองคิดว่าไม่ใช่ เพราะมันเป็นอักษรนำ มันมีหลักการอ่านเฉพาะของมัน


แต่ก็ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

จะต้องมีหลักที่แน่ชัดให้ยึดถือกัน อย่างนี้ใช่ อย่างนี้ไม่ไช่ ที่เป็นอยู่ตอนนี้คือ ต่างคนก็สอนกันไปตามตำราที่มี บางสำนักพิมพ์ก็อย่างหนึ่ง อีกสำนักก็อย่างหนึ่ง ผู้ปกครองก็มาแย้งครูว่าสอนลูกเขาผิด เช่น คำว่า สตางค์ วนา ชรา เป็นคำอักษรนำหรือไม่ ผมบอกไม่ใช่ เพราะเป็นคำศัพท์ทที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี ถ้าอย่างนั้น คำว่า กรณียกิจ ก็คือคำอักษรนำ ไม่อย่างนั้นไม่ได้ข้อสรุป น่าจะมีพจนานุกรมคำอักษรนำนะครับ

จะต้องมีหลักที่แน่ชัดให้ยึดถือกัน อย่างนี้ใช่ อย่างนี้ไม่ไช่ ที่เป็นอยู่ตอนนี้คือ ต่างคนก็สอนกันไปตามตำราที่มี บางสำนักพิมพ์ก็อย่างหนึ่ง อีกสำนักก็อย่างหนึ่ง ผู้ปกครองก็มาแย้งครูว่าสอนลูกเขาผิด เช่น คำว่า สตางค์ วนา ชรา เป็นคำอักษรนำหรือไม่ ผมบอกไม่ใช่ เพราะเป็นคำศัพท์ทที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี ถ้าอย่างนั้น คำว่า กรณียกิจ ก็คือคำอักษรนำ ไม่อย่างนั้นไม่ได้ข้อสรุป น่าจะมีพจนานุกรมคำอักษรนำนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท