การทำงานแบบจำลองสภาพบรรยากาศ


ต้องนำมาใช้ทางเกษตร

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2550 ระหว่างการเดินทางไปเยี่ยมสถาบัน IMH ที่กรุงฮานอย ประเทศ เวียตนาม ได้พบเห็นการทำงานเกี่ยวกับแบบจำลองสภาพบรรยากาศ (Climate model) ซึ่งได้เริ่มทำงานกับ START-SEA (ผอ. ได้แก่ ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา http://www.start.or.th)  โดยทุนสนับสนุนการวิจัยของ APN (http://www.apn-gcr.org/en/indexe.html) และศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (http://www2.mcc.cmu.ac.th/APN/home/about.aspx) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พบว่านักวิชาการที่ได้พบมีเงินเดือนประมาณเดือนละ USD150-200 มีงบประมาณไม่มาก แต่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนพยายามสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในเวลาเดียวกัน (อาจจะเป็นเพราะระบบสังคมนิยม) ทำให้สามารถสร้างผลงานที่น่าสนใจได้ดีในระดับที่เราต้องดีใจกับคณะทำงาน และคิดว่าเราน่าจะเรียนรู้การคิด และการทำงานของเขา เพื่อโอกาสในการทำงานร่วมกันในอนาคต

 

คนเวียนามและคนไทยมีความสามารถในการทำงานในระดับใกล้เคียงกัน และเราต้องให้ความสนใจและศึกษาประเทศนี้มากกว่าเดิมเพราะ

๑. ไม่สามารถย้ายประเทศไม่อยู่ที่อื่นไ้ด้

๒. มีปัญหาและโอกาสที่ใกล้เคียงกัน และ่อาจจะเรียนรู้และ ร่วมกันแก้ไขได้และอาจเป็นแบบจำลองด้านการสร้างพลังมวลรวม (critical mass) เพื่อการทำงานแต่ละด้าน เช่น การที่รัฐบาลเวียตนาม ให้นโยบาย แก่กระทรวงกรมกองสร้างหลักสูตรปริญญาเอก เพื่อ ผลิตทรัพยากร บุคคลให้ประเทศในด้านต่าง ๆ หลายหลักสูตร และใช้ข้าราชการ ที่มีวุฒิการศึกษาระดับสูงเป็นอาจารย์ หลักสูตรเหล่านี้มีการรับรอง โดยกระทรวงศึกษาธิการ กรณีสถาบัน IMH สามารถผลิตบัณฑิต ปริญญาเอกปีลประมาณ 5 คน เป็นต้น

๓. น่าจะเป็นแบบจำลองในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ในสภาพ ที่มีทรัพยากรจำกัดแต่ละด้านไม่มากนัก (ทรัพยากรที่ดิน แรงงาน เชื้อชาติ ความคิด และความกลัว)  

๔.   เพื่อความรู้สึกที่ดีต่อกันในการอยู่ร่วมกันภายใต้ สภาพบรรยากาศที่เปลี่ยนแปลงไป (Global climate change)  หรือ สภาพสังคมที่เชื่อมโยงกันมากกว่าในรุ่นปัจจุบัน

===========================

อรรถชัย, เชียงใหม่ 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #แบบจำลองระบบ
หมายเลขบันทึก: 94181เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2007 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนท่านอาจารย์

  • วันนี้ผมนั่งอ่านบล๊อก ความรู้เกี่ยวกับแบบจำลองระบบเกษตร ของท่านอาจารย์ ตั้งแต่เริ่มต้น จบถึงตอนสุดท้าย
  • อ่านอย่างตั้งใจ ตั้งแต่เช้าจบทั้งหมดเมื่อกี้ครับ
  • อ่านแล้วได้ความรู้เย่อะเลยครับ
  • ทึ่งมากๆที่อาจารย์เอาแนวคิดเชิงระบบไปผูกกับศาสนาได้ด้วยครับ
  • อีกอย่างนึง ผมนั่งอ่านไปแล้ว อดยิ้มไม่ได้ เพราะข้อสอบที่ผมสอบเข้าที่ มข. ตั้งคำถามเหมือนกับท่านอาจารย์เป็นผู้ออกข้อสอบเองเลยครับ นี่ถ้าผมได้อ่านบล๊อกของท่านอาจารย์ก่อนไปสอบผมคิดว่า อาจารย์คนตรวจข้อสอบผมที่ ม.ข. คงสดุ้งแน่ครับ
  • และในวันที่ผมสอบสัมภาษณ์ ท่านอาจารย์วิระย ลิมปินันท์ ก็ตั้งคำถามกับผม เกี่ยวกับเกษตรเชิงระบบเหมือนกับบทความหลายๆตอนของอาจารย์เลยครับ สุดยอดจริงๆครับท่านอาจารย์หลวง
  • ผมคิดว่าถ้าอาจารย์ยังมีเวลาเข้ามาเขียนเรื่อยๆผมคงเรียนเกษตรเชิงระบบจบจากสองสถาบัน (มช. และ มข.) ในเวลาเดียวกันแน่เลยครับ
  • ขอขอบคุณท่านอาจารย์มากครับที่เปิดโลกในการเรียนรู้ให้กับหลายคนได้เรียนรู้ในที่นี่ และผมจะเข้าไปอ่านบล๊อกที่เหลือของท่านอาจารย์ต่อครับ
  • ขอขอบคุณท่านอาจารย์อีกครั้งด้วยความเคารพอย่างจริงใจครับ

ประสิทธิ์ (แดง ม.อุบล)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท