PMQA


แนวทางการประเมิน

เมื่อวันที่ 24-27 เมษายน 2550 ได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาโครงการ "การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ" หลักสูตรการอบรมคณะทำงานในการดำเนินการตามตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (ส่วนราชการที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2549) ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

การจัดอบรมครั้งนี้ ก.พ.ร. ได้จัดให้กับส่วนราชการที่ดำเนินการต่อเนื่อง และผู้รับผิดชอบก็ต้องเป็นคนเดิม แต่ดิฉันกลับเป็นคนใหม่ ใหม่ทั้งที่ทำงานและใหม่ทั้งเรื่องที่เข้าอบรม PMQA (Public Sector Management Quality Award) เป็นรางวัลสูงสุดที่มอบให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่มีการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการได้ทัดเทียมมาตรฐานสากล ก่อนเข้าอบรมดิฉันก็มีความรู้เพียงน้อยนิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ประสานงานการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อรายงานผลต่อมหาวิทยาลัย แต่ ณ บัดนี้ได้มาเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งเป็นภาระอันหนักอึ้ง  แต่ก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด ดิฉันได้รับการปลูกฝังเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานตั้งแต่อยู่หน่วยงานเดิม (คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีท่าน รศ.มาลินี ธนารุณ เป็นคณบดี) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ดิฉันได้ตระหนักเสมอว่าการทำงานจะให้มีประสิทธิภาพใช้กระบวนการ QA มาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน

 1. ลักษณะสำคัญขององค์กร เป็นการอธิบายถึงภาพรวมในปัจจุบันของส่วนราชการ สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติภารกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับผู้รับบริการ ส่วนราชการอื่น และประชาชนโดยรวม
สิ่งสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินการ
ละความท้าทายที่สำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ที่ส่วนราชการเผชิญอยู่ รวมถึงระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการของส่วนราชการ 
 2. เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐประกอบด้วยคำถามต่าง ๆ ในแต่ละหมวด ซึ่งเป็นแนวทางในการบริหารจัดการที่จะนำส่วนราชการไปสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศได้ และเกณฑ์ในแต่ละหมวดจะมีความเชื่อมโยงกันระหว่างหมวดต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการที่ดีต้องมีความสอดคล้องและบูรณาการกันอย่างเป็นอย่างระบบ  เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐประกอบด้วย 7 หมวด คือหมวด 1         การนำองค์กรหมวด 2         การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์หมวด 3         การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหมวด 4         การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้หมวด 5         การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคลหมวด 6         การจัดการกระบวนการหมวด 7         ผลลัพธ์การดำเนินการ           ทั้งนี้ เกณฑ์ทั้ง 7 หมวดสามารถอธิบายได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นกระบวนการ และส่วนที่เป็นผลลัพธ์  ส่วนที่เป็นกระบวนการ (หมวด 1-6) เป็นเกณฑ์เพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพของส่วนราชการ สามารถจัดได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1)     กลุ่มการนำองค์กร ประกอบด้วย §         หมวด 1 การนำองค์กร §         หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ §         หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2)     กลุ่มพื้นฐานของระบบบริหาร ประกอบด้วย§         หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และจัดการความรู้3)     กลุ่มปฏิบัติการ ประกอบด้วย §         หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล  §         หมวด 6 การจัดการกระบวนการ ส่วนที่เป็นผลลัพธ์ (หมวด 7) เป็นเกณฑ์เพื่อใช้ประเมินประสิทธิผลของ
ส่วนราชการ ใน 4 มิติ ที่มีความสอดคล้องตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ได้แก่
§         มิติด้านประสิทธิผลตามแผนปฎิบัติราชการ§         มิติด้านคุณภาพการให้บริการ§         มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ§         มิติด้านการพัฒนาองค์กร 

 

คำสำคัญ (Tags): #pmqa#กพร.-50
หมายเลขบันทึก: 93845เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2007 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท