โลกหมุนไป สายน้ำรินไหล วันคืนไม่หวนกลับ


โลกหมุนไป

           ส่วนสุขนิยมตามแบบมาตรฐานสากลคือ มีปัจัยสี่แค่เพียงพอ มีครอบครัวอบอุ่นและเพื่อนพ้องมิตรสหายจริงใจ รู้ใจ และมีเสรีภาพ (เงินทองมากมาย บ้านหลังใหญ่โต มีคนรับใช้ มีชื่อเสียง อำนาจ มิได้เป็นปัจจัยของสุขนิยม)  

             คนเราคงรู้สึกไม่ต่างกันมากนัก เมื่อนั่งหวนคิดถึงวัยเด็ก จะรู้สึกว่าวันเวลาผ่านไปเร็วมากๆ หากวันไหนว่าง ลองหยิบรูปถ่ายเก่าๆมาดูจะรู้สึกถึงสิ่งที่ผมพูดมาได้เป็นอย่างดี             ท่านผู้อาวุโสซึ่งตกผลึกทางความรู้ความคิดแล้ว มักพูดให้ผมฟังบ่อยๆว่า ทำอะไรก็รีบทำ วันเวลามันผ่านไปเร็วก็จริงล่ะนะ! ตามสถิติจากการสำรวจ( World Health Report 1998,WHO) พบว่าอายุคาดเฉลี่ยแรกเกิด(Life Expectancy at Birth) ของประชากรโลกในปี 2025 อยู่ที่ 73 ปี (ปัจจุบันอยู่ที่ 66ปี) ถ้าถือซะว่าอยู่ได้ 70ปี จะมีเวลาอยู่บนโลกใบนี้ = 25,550 วัน  แล้วเราจะใช้วันเวลาเหล่านี้อย่างไร?           

          การค้นพบตนเอง ค้นพบความหมายของชีวิต ค้นพบคุณค่าของการเกิดมาป็นมนุษย์ ค้นพบว่าคุณค่าที่แท้จริงคืออะไร? ได้ช่วยสร้างสรรค์โลก ช่วยเหลือผู้อื่นมากมาย ด้วยวันเวลาอันน้อยนิดในชีวิตเราอย่างไร? เป็นโจทย์ที่ถ้าไม่รีบคิดอาจหมดเวลาคิดก็ได้นะ!!            หนังสือพิมพ์หลายฉบับเคยลงข่าวว่าประเทศไทยติดอันดับที่ 32 ของโลกในแง่ที่ว่าประชาชนมีความสุขเพียงไร การวิจัยนี้ตั้งเกณฑ์วัดความสุขไว้ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) อายุขัย (2) ความพึงใจกับชีวิต และ (3) การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ             อธิบายได้ ว่า อายุยืนจะสุขมาก ชีวิตพอเพียงมากจะสุขมาก ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติน้อยจะสุขมาก  ความสุขตามสูตรข้างต้นไม่มี "รายได้" เป็นองค์ประกอบสำคัญเลย  ประเทศที่ชนะที่ 1 ได้แก่ "วานูอาตู=Vanuatu" ประเทศนี้เป็นหมู่เกาะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกของออสเตรเลีย ส่วนประเทศภูฏาน ได้อันดับ 13 เยอรมนี (81) ญี่ปุ่น (95) อังกฤษ (108) ฝรั่งเศส (129) สิงคโปร์ (131) สหรัฐอเมริกา (150)ประเทศร่ำรวยเหล่านี้ ข้อมูลบ่งบอกว่าไม่พึงพอใจกับชีวิต (รวยเท่าไหร่ก็ไม่พอ) และมักจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติกันมาก มีคะแนนดีอยู่ปัจจัยเดียวคืออายุขัยของประชากรยืนยาว ซึ่งน่าจะเป็นด้วยปัจจัยด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพ และสาธารณสุขที่ดีกว่า ผมเลยมานั่งคิดต่อว่า เอ๊ะแล้วอยู่ไปนานๆแบบไม่มีความสุขทำไมหว่......ส่วนประเทศที่รั้งท้ายสุด(คนทุกข์มาก) อยู่ในแอฟริกา ได้แก่ บุรุนดี (Burundi175) สวาซีแลนด์ (177) และ ซิมบับเว (178) ประเทศยากจนแสนเข็ญในแอฟริกาหลายประเทศตกอยู่ท้ายตาราง มิใช่จากมีรายได้น้อยโดยตรง แต่อายุสั้นจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงขาดแคลนแม้กระทั่งปัจจัยสี่
            สำหรับประเทศเกาะที่มักจะเป็นเกาะสวรรค์นั้นผู้คนมักเกื้อกูลช่วยเหลือกันในชุมชน ตลอดจนมีจิตสำนึกสูงที่จะเอื้ออาทรต่อธรรมชาติ
            งานวิจัยชิ้นนี้พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ เรียกชื่อว่ามูลนิธิเศรษฐศาสตร์ใหม่ (New Economics Foundation) พวกนักเศรษฐศาสตร์น่าจะสนใจเรื่องเงินๆ ทองๆ แต่คราวนี้ไม่ใช้รายได้เข้ามาคำนวณวัดความสุขด้วย โดยคำถาม มิได้ถามว่า ได้รายได้เท่าไร (กี่บาท กี่เยน กี่ดอลลาร์) แต่เขากลับถามว่า "รายได้ที่ได้รับอยู่นั้นพอเพียงกับชีวิตหรือไม่?"
            จากบทความข้างต้นประกอบกับผมได้อ่านบทความของ นพ.เฉก ธนะสิริ ใน นสพ.มติชน ฉบับวานนี้(วันอาทิตย์ที่29/4/50)สรุปว่า คนจะอายุยืนมีองค์ประกอบ 3ส่วน คือ พันธุกรรม 30% พฤติกรรม 60% และสภาพแวดล้อม 10%
            ส่วนสุขนิยมตามแบบมาตรฐานสากลคือ มีปัจัยสี่แค่เพียงพอ มีครอบครัวอบอุ่นและเพื่อนพ้องมิตรสหายจริงใจ รู้ใจ และมีเสรีภาพ (เงินทองมากมาย บ้านหลังใหญ่โต มีคนรับใช้ ชื่อเสียง อำนาจ มิได้เป็นปัจจัยของสุขนิยม)             

คงสรุปหลังสรุปได้ว่า

               การใช้ชีวิตเป็นเรื่องท้าทาย (บนความไม่ประมาท)            การรู้สึกมีคุณค่าในตนเองจากการได้ทำงานบางสิ่งที่เรารัก หรือทำงานบริการสังคม ทำให้หัวใจพองโต อิ่มเอิบ แม้ต้องอยู่บนโลกที่สับสนวุ่นวาย ความไม่แน่นอนสูงมาก อีกทั้งความไม่ต่อเนื่องก็ยังสูงอีกด้วย จึงเป็นโจทย์ที่ส่งต่อให้ท่านคิดว่าเราจะทำอะไรต่อจากนี้ไป!!!        

สวัสดีครับ             Sirikasem  Sirilak                                       

                                 April 30, 2007

คำสำคัญ (Tags): #new economics#สุขนิยม
หมายเลขบันทึก: 93392เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2007 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยครับคุณหมอ
  • ขอบคุณมากครับผม
     สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงได้เลยค่ะ

ดิฉันคิดว่าความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกันแต่ความสุขของบางคนไม่ใช่การมีเงินทองที่รำรวยแต่ความสุขบางคนคือการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงพอประมาณ รู้จักตนเอง ดำเนินชีวิตที่มีอยู่อย่างมีความสุข จนบางครั้งความทุกข์ที่เจออาจกลายเป็นความสุขได้ ความจริงแล้วความทุกข์คือเพื่อนของเรา คือครูที่สอนให้เราเข้มแข็งค่ะ

ดิฉันคิดว่าความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกันแต่ความสุขของบางคนไม่ใช่การมีเงินทองที่รำรวยแต่ความสุขบางคนคือการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงพอประมาณ รู้จักตนเอง ดำเนินชีวิตที่มีอยู่อย่างมีความสุข จนบางครั้งความทุกข์ที่เจออาจกลายเป็นความสุขได้ ความจริงแล้วความทุกข์คือเพื่อนของเรา คือครูที่สอนให้เราเข้มแข็งค่ะ

เป็นบทความที่ดีมากค่ะ จะพยายามนำไปสังเคราะห์และนำไปประยุกต์ใช้ ขอบคุณค่ะ @^-^@

ชอบบทความนี้มากเลยครับ ได้ทั้งข้อมูลเชิงวิชาการ และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ทำให้ฉุกคิดว่า แล้วเราละ เหลือเวลาอีกกี่วัน เกิดมาเพื่ออะไร อะไรคือเป้าหมายปลายทาง ความสุขที่แท้จริงคืออะไร อยู่ที่ไหน และสุดท้าย ควรจะทำอะไรกับวันเวลาที่เหลืออยู่ ขอบคุณมากเลยครับหมอเอ

  • อาจารย์คะ  ชอบบทความนี้จังค่ะอ่านแล้วย้อนกลับมาทบทวนตัวเองในหลายๆ ด้าน เกิดคำถามขึ้นกับตัวเองหลายๆ ข้อ  ... ความสุขที่แท้จริงคืออะไร --- > การใช้ชีวิตเป็นเรื่องท้าทาย (บนความไม่ประมาท)  การรู้สึกมีคุณค่าในตนเองจากการได้ทำงานบางสิ่งที่เรารัก หรือทำงานบริการสังคม ทำให้หัวใจพองโต อิ่มเอิบ แม้ต้องอยู่บนโลกที่สับสนวุ่นวาย ... :)
  • สวัสดีครับ
  • ขอบคุณข้อมูลและแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้  นะครับ
  • วันเวลาของชีวิต....น้อยนิด ...แต่มหาศาล
  • แต่นั่นต้องหมายถึงว่า..  การรู้จักใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า..ใช่ไหมครับ

น้องๆป.โทแอบจำไปตอบข้อสอบได้เลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท