ปลูกยูคาแล้วปลูกหญ้าเลี้ยงโคได้จริงหรือ


สวนป่าครูบาที่แปลงหญ้าส่วนใหญ่ปลูกร่วมกันสวนยูคา โดยเฉพาะหญ้ารูซี่ที่ทนแล้งได้ดีและเหมาะกับการปล่อยให้โคแทะเล็มด้วย

           มีหลาย ๆ ท่านที่สงสัยว่า  ถ้าปลูกยูคาลิปตัสแล้วจะปลูกหญ้าเลี้ยงโคได้หรือเปล่า

           ถ้าดูรูปข้างบน  คงตอบได้ว่า ปลูกยูคาก็สามารถปลูกหญ้าเลี้ยงโคได้ ถ้าจัดการดีๆ และจัดการเป็น

          ในรูปนั้นคือต้นยูคาลิปตัสที่โคนต้นล้อมรอบด้วยต้นหญ้ากินนีม่วงที่เจริญเติบโตคู่กันได้อย่างดี

          ในบริเวณอื่นที่อยู่ไกลจากจากต้นยูคา ต้นยูคาก็เจริญได้ไม่ดีนัก อาจเป็นเพราะตรงโคนต้นยูคานั้นมีรากที่ไปดูดซึมอาหารมาเลี้ยงลำต้นมากอาจมีอาหารและความชื้นในดินสูงจึงทำให้หญ้าโตได้เร็ว

         จากภาพนี้ น่าจะเป็นแนวทางที่ว่า  การปลูกต้นยูคาลิปตัสน่าจะปลูกหญ้าหรือพืชชนิดอื่นร่วมด้วยได้

          โดยเฉพาะในช่วงที่ต้นยูคายังไม่โตมากสามารถปลูกหญ้าแซมระหว่างแถวได้ เหมือนที่สวนป่าครูบาที่แปลงหญ้าส่วนใหญ่ปลูกร่วมกันสวนยูคา  โดยเฉพาะหญ้ารูซี่ที่ทนแล้งได้ดีและเหมาะกับการปล่อยให้โคแทะเล็มด้วย

        ดังนั้นเกษตกรท่านใดที่เลี้ยงวัวและกำลังจะปลูกยูคาลิปตัส ก็ลองเอาวิธีไปทำดู ไม่น่าจะเสียหาย  จะเป็นใช้พื้นที่ให้คุ้มค่ามากกว่าที่คิด

ได้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 93292เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2007 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • คนยังเข้าใจผิดว่าปลูกยูคาฯ
  • แล้วไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นได้ครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ  อาจารย์

           เป็นความจริงอีกข้อที่หลายคนยังเข้าใจผิดค่ะ อาจารย์ขจิต ว่ายูคาคือพืชอันตรายอยู่ร่วมกับใครเขาไม่ได้  ซึ่งความจริงแล้วยูคาก็คือพืชทั่วๆ ไป ที่กินจุมากใครเขาจึงโตเร็ว  พืชชนิดอื่นที่มีความสามารถในการหาอาหารสู้ยูคาไม่ได้ก็อยู่ร่วมกันไม่ได้

         แต่ถ้ามีการจัดการที่ดี มีการทดลองปลูกพืชผสมผสานที่หลากหลายและเหมาะสมแล้ว ยูคาลิปตัสก็สามารถปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่นได้

        ยิ่งยูคาโตมากขึ้นเท่าไหร่อายุประมาณ 10 ปีขึ้น ต้นยูคาก็จะคืนประโยชน์สู่ธรรมชาติเหมือนกับไม้ชนิดอื่น ๆ   แต่ที่เราพบเห็นปัญหาจากยูคาในปัจจุบันเพราะเราปลูก เราจัดการและใช้ปรธยชน์จากยูคาเร็วและมากเกินไป  ความสมดุลจึงเกิดขึ้นไม่ได้ค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลนะครับ
  • จากในภาพไม่ทราบว่าเป็นยูคารุ่นที่เท่าไหร่ครับ แล้วเป็นยูคาที่ปลูกมากี่ปีแล้วครับ แล้วพื้นที่ดินตรงนั้นเคยปลูกอะไรมาก่อนครับ แล้วปลูกความหนาแน่นของยูคาเท่าไหร่ กี่จำนวนต้นต่อพื้นที่หนึ่งไร่ครับ
  • ปกติยูคาที่ปลูกกันแล้วนั้น เค้ารอให้อายุกี่ปีถึงป้อนเข้าสู่โรงงานครับ หรือว่าปลูกไว้เพื่อประโยชน์อื่นครับ เพราะหากบอกว่า ต้นยูคาจะคืนประโยชน์ให้หลังจากอายุสิบปีแล้ว แต่เราโค่นทิ้งขายไปก่อน อันนี้ก็ต้องพิจารณาครับ
  • แต่อย่างที่คุณว่านั่นหล่ะครับ หากให้ระบบมันสมดุลอยู่มันคงอยู่ร่วมกันได้ หากปลูกอย่างเหมาะสม
  • รบกวนขอข้อมูลด้วยนะครับ เพราะผมสนใจในเรื่องนี้มากๆ เลยครับ หากมีข้อมูลการปลูกยูคาบนคันนา รบกวนเอามาเผยแพร่และขอรูปด้วยนะครับ ผมสนใจมากๆเลยครับในเรื่องนี้
  • หากทำได้อย่างสมดุล ประโยชน์ก็จะเกิดครับ
  • ขอบคุณมากครับ
P
สวัสดีค่ะ  คุณเม้ง
                จากในภาพเป็นยูคาพันธุ์สำหรับใช้ใบกลั่นน้ำมัน  เป็นแปลงทดลอง ปลูกมาแล้ว 3 ปีและยังไม่ได้ตัดกลั่นเพราะดินไม่สมบูรณ์จึงไม่โตพอที่ตัดกลั่นได้  โดยปลูกอยู่ประมาณ  2  ไร่  ความหนาแน่นประมาณ 150  ต้นต่อไร่ค่ะ
                ปกติยูคาที่ปลูกกันทั่วไปจะรอให้อายุประมาณ  5  ปี แล้วตัดส่งโรงงาน  แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพดินถ้าดินสมบูรณ์และปลูกตอแรกอาจจะตัดเร็วขึ้นในปีที่ 3 -4  ถ้าเป็นตอสองจะตัดเร็วขึ้นอีก 1  ปี  แต่ถ้าในดินไม่สมบูรณ์อาจจะเป็น  7 - 8  ปี  จึงจะตัดได้
               ส่วนการปลูกเพื่อให้ยูคาคืนทุนกับธรรมชาตินั้นคิดว่าน่าจะต้องใช้เวลาอย่างต่ำ  10  ปีขึ้นไปอย่างกรณีการปลูกในสวนป่าของครูบา เพราะเมื่อยูคามีอายุได้ประมาณ 10  ปี จะมีเปลือกไม้และใบไม้ร่วงหล่นลงสู่ดินเป็นจำนวนมาก  และมีต้นไม้และหญ้าชนิดอื่นๆ เกิดขึ้นในแปลงยูคาเป็นจำนวนมากและยังเจริญเติบโตได้ดีด้วย ซึ่งน่าจะเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้  เพราะดินในสวนป่าก่อนที่จะปลูกยูคานั้นเสื่อมโทรมมากจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว (มันสำปะหลัง)มาเป็นเวลานาน
               สำคัญที่สุดในการปลูกยูคาคือต้องจัดการให้เป็น ไม่หวังผลเร็วเกินไป ไม่เช่นนั้นจะส่งผลต่อคุณภาพดินได้
             ในกรณีการปลูกบนคันนานั้นเท่าที่พบ  เกษตรกรที่ปลูกจะทำคันนาให้ใหญ่ขึ้นอย่างน้อยก็กว้างประมาณ 1  เมตร และควรปลูกห่างกันเกิน 2  เมตรขึ้นไป เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยูคาและข้าวในนาด้วย  แต่ยังปลูกกันไม่มากเนื่องจากเกษตรกรบางรายก็กลัวว่าจะมีผลกระทบต่อเกษตรกรที่มีพื้นที่อยู่ข้างเคียง เพราะชาวบ้านบางคนก็มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อยูคาบ้างเพราะไม่มีความรู้และเข้าใจผิดเพราะจัดการผิดมาตั้งแต่ต้น
             การปลูกยูคาจึงยังต้องศึกษาข้อมูลกันอีกมากตามบริบทของคนที่ปลูกในแต่ละพื้นที่ค่ะ
            ขอบคุณค่ะ
          
  • สวัสดีครับคุณพันดา
  • ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลดีๆ นะครับ
  • แสดงว่าการปลูกยูคาที่ให้ได้ผลชัดเจนก็ต้องปลูกให้มีอายุมากกว่าสิบปีใช่ไหมครับ
  • กรณีการปลูกเพื่อตัดส่งโรงงานนั้น อาจจะมีผลกระทบต่อสภาพดินได้หรือเปล่าครับ หรือว่าหากมีการจัดการดินได้ดี ก็ไม่มีผลกระทบ
  • กรณีการปลูกมันสำปะหลัง ไม่ได้มีการคืนสภาพอินทรีย์คืนสู่ดินเลยหรือครับ
  • เคยมีคนทำวิจัยไหมครับ ว่าระหว่างดินที่ดีพร้อม นำมาปลูกยูคาแบบนำใบไปกลั่นเป็นน้ำมัน กับการปลูกพืชพื้นเมืองเอง อันไหนจะคุ้มค้ากว่ากันครับ
  • เคยมีคนทดลองเรื่องสภาพดินไหมครับ ในพื้นที่ต่างๆ เช่นพื้นที่ดินเสื่อมสภาพ แล้ววัดคุณภาพดิน แล้วจากนั้นปลูกยูคา แล้วไปแต่ละรุ่นแล้วตรวจสอบคุณสมบัติดิน ว่ามีสารอาหารในดินเปลี่ยนไปอย่างไร
  • เป็นไปได้ไหมที่จะทำการปลูกแบบผสมผสานเพื่อให้พื้นที่นั้นมีการเกื้อกูลที่ดี เช่นอาจจะปลูกพืชทนแล้งได้มากในระยะแรก แล้วจากนั้นค่อยปลูกที่ทนแล้งระดับปานกลางในระยะที่สอง แล้วเมื่อมีการเจริญของพืชพื้นเมืองแล้วค่อยปลูก พืชชนิดอื่น แล้วอาจจะให้ผลได้เหมือนๆ กันกับป่ายูคา หรือว่า อย่างอื่นที่อาจจะดีกว่า
  • ที่พูดมานี้ผมยังเชื่ออย่างที่คุณบอกนะครับ ว่าจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านเข้าใจในเรื่องการปลูกยูคาที่ดีพอ แล้วที่สำคัญคือ จะปลูกพันธุ์ไหน มีคนดูแลชาวบ้านและให้คำแนะนำตลอดไหมครับ
  • การปลูกในที่คันนา นี้ มีตัวอย่างให้เห็นได้ชัดไหมครับ ที่ว่าปลูกแล้วเกินสิบปีนะครับ ทางภาคอีสานนะครับ ผมอยากจะทราบว่าจะมีความสมดุลเกิดขึ้นอย่างไรบ้างครับ กับการปลูกยูคาบนคันนาแบบต่อเนื่อง อยากจะทราบว่านาข้าวปกติจะมีผลกระทบในทางที่ดี หรือด้อยอย่างไรบ้างครับ แล้วเทียบกับผลผลิตของข้าวก่อนจะมีการปลูกยูคา อาจจะทำงานให้ต่อเนื่องครับ
  • หากได้ผลเป็นที่น่าสนใจ ก็อาจจะเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง แต่หากไม่ดีก็ต้องแจ้งชาวบ้านให้ทราบทั่วถึงกันครับ
  • ท้ายสุดแล้ว พืชทุกชนิดคงมีผลดีและด้อยในตัวของมัน อยู่ที่ว่าเราจะศึกษามันลึกขนาดไหนครับ ที่สำคัญทำแล้วให้ชุมชนยั่งยืนจริงๆ นะครับ
  • ขอเป็นกำลังใจนะครับ ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ คุณเม้ง

         จากที่ได้คลุกคลีอยู่ในสวนป่าครูบามาหลายปีก็เห็นว่า  การปลูกยูคาถ้าให้เวลากับยูคาสักนิด ไม่รีบตัดไม่รีบขาย  ยูคาก็สามารถฟื้นคืนธรรมชาติให้เราได้ และที่สวนป่านี้ ครูบาก็ได้ทดลองปลูกผสมผสานทั้งไม้ยูคา  กระถินณรงค์  ไม้พื้นเมืองพวกยางนา ไม้แดงก็โตไปด้วยกันได้ แต่ก็ไม่แน่ใจสำหรับพื้นที่อื่นว่าจะเป็นอย่างที่สวนป่าหรือไม่  เพราะวิธีการจัดการอาจไม่เหมือนกัน  เนื่องจากที่สวนป่าไม่เน้นการตัดขายแต่เน้นปล่อยไว้เรื่อยๆ และป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าอย่างเด็ดขาด

        ส่วนในเรื่องการทดลองปลูกในสภาพดินต่าง ๆ นั้นคงต้องหาข้อมูลกับทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ค่ะ เพราะที่สวนป่าก็ทดลองอยู่กับดินชนิดเดียว  และที่กระทรวงเกษตรกรมาทดลองปลูกก็มีหนึ่งแปลง  แต่ยังโตไม่มากเพราะสภาพดินแย่มาก  และพันธุ์กลั่นน้ำมันก็ยังไม่ใครทดลองปลูกเห็นมีแต่ที่สวนป่าเท่านั้นจึงยังสรุปไม่ได้ค่ะ

       ในแง่ของการปลูกมันสำปะหลังนั้น  หลังปลูกไปแล้ว  5   ปี  ธาตุอาหารในดินจะหมด ถ้าจะให้ได้ผลผลิตก็ต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ชอบปุ๋ยเคมีมากกว่าเพราะเห็นผลเร็ว วิธีที่น่าจะช่วยปรับสภาพดินก็น่าจะทำได้ถ้าชาวบ้านมีการปลูกพืชบำรุงดินตระกูลถั่วสลับกันปีเว้นปี  แต่เชื่อเถอะค่ะ  เคยปลูกมันยังไงก็ยังงั้น  เปลี่ยนแปลงยากค่ะ

       ส่วนการปลูกยูคาบนคันนาก็มีคนปลูกกันเยอะ  ถ้าหากคันนาใหญ่ดินยังสมบูรณ์ หรือดูแลสภาพดินดี และปลูกยูคาห่างกันตั้งแต่ 2.5 เมตร คอยตัดใบยูคาในช่วงล่างของลำต้นไม่ให้บังแสงแดดก็จะไม่มีผลต่อต้นข้าว  แต่ถ้าคันนาเล็ก ปลูกยูคาถี่ มีใบปกคลุมมากก็จะมีผลต่อต้นข้าว  ข้าวจะต้นเล็ก เมล็ดก็จะลีบ

      ถ้าคุณเม้งสนใจเรื่องนี้จริง ๆ  ต้องถามปรมาจารย์ตัวจริงคือพ่อครูบาค่ะ  และถ้ากลับจากเยอรมันและว่าง ๆ  ก็ลองมาดูที่สวนป่านะค่ะ  เพราะเล่าแล้วไม่จุใจจริง ๆ ค่ะ

      สวัสดีค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • เคยติดตามทุกตอนกับท่านครูเรื่องนี้ผ่านทางบล็อกครับ ไว้ค่อยมีเวลาเสร็จสรรพ ทุกสิ่งจะได้ไปเยี่ยมครับ
  • การให้ธรรมชาติ มีปุ๋ยอย่างธรรมชาติ เราต้องให้ธรรมชาติครับ ไม่ใช่ให้แค่สารสังเคราะห์ครับ
  • ปุ๋ยเคมีเป็นสารสังเคราะห์ ให้เวลาพืชต้องการ ให้ผิดเวลาก็ไม่มีประโยชน์ ให้ผิดวิธีก็ไร้ค่า
  • การให้แบบผสมเคมีอินทรีย์ ก็คงเป็นแนวทางหนึ่งครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

สวัสดีค่ะ

        การให้ปุ๋ยธรรมชาติหรือให้พืช คงต้องเป้นอย่างที่คุณเม้งว่าค่ะ  โดยเฉพาะการให้แบบเคมีผสมอินทรีย์ เพราะถ้าให้กษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทันทีก็คงยังไม่ได้ คงต้องใช้เวลาสักพัก 

       แต่ถ้าให้ลองใช้ผสมผสานกันทั้งเคมีและอินทรีย์ไปก่อนน่าจะเป็นวิธีที่ดี  จากนั้นค่อยให้เกษตรกรเรียนรู้และหาความเหมาะสมสำหรับตัวเองต่อไป

       ขอบคุณค่ะ

 

อยากทราบว่า การจะให้ปุ๋ยในการเร่งลำต้นไม้ยูคา ควรให้สูตรไหนดี และมีวิธีการให้อย่างไร และจะทราบได้อย่างไร ว่าให้ปุ๋ยไปแล้วได้ผล

ขอบคุณครับ

อยากทราบวิธีถอนตอยูคา แบบประหยัดครับ

ปลูกตัดขายมา 3 รุ่นแล้วครับ

ตอนนี้อยากใช้ที่ดินมาทำเกษตรอย่างอื่นบ้าง

ขอความกรุณาผู้รุ้แนะนำด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท