ระบบ (๓)


 เรื่องของระบบ  หรือ  System  ที่ได้กล่าวมาแล้วในสองบล็อกที่ผ่านมา  ยังไม่จบครับ  เพราะยังมีความมหัศจรรย์ซ่อนเร้นอยู่อีกครับ  ดูตัวอย่างต่อไปนี้

O, K, O, B,  -----  เป็นหน่วยย่อย ๔ หน่วยสัมพันธ์กันเป็น -->  BOOK  เป็น"หนึ่งหน่วยใหญ่"  และ "มีคุณสมบัติเปลี่ยนไป"  คือ "มีความหมายใหม่" 

H2, O, ------- เป็นหน่วยย่อย  "มีคุณสมบัติอย่างหนึ่ง" -----> H2O  เป็น"หนึ่งหน่วยใหญ่"  แต่"มีคุณสมบัติต่างไปจากเดิม"  คือ  "เป็นน้ำ"  และ   "ดับไฟได้"!!

เซลล์ หลาย เซลล์ ----  เป็นหน่วยย่อย "มีคุณสมบัติอย่างหนึ่ง" ---->รวมกันเป็น "เลือด" "คุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม"  --->ถ้ารวมกันเป็น "กระดูก" ก็จะมี"คุณสมบัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง" ----> ถ้าเป็น "เนื้อเยื่อ" ก็จะมี "คุณสมบัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง" ----> ถ้ารวมกันเป็น"หัวใจ" ก็จะมี "คุณสมบัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง"  ฯลฯ

กล้ามเนื้อแต่ละชิ้น, กระดูกแต่ละชิ้น, หัวใจ, ตับ, ปอด, ฯลฯ ----> รวมกันเป็น "คน"  คือเป็นหน่วยใหญ่ "หนึ่งหน่วย"  ก็จะมี "คุณสมบัติใหม่เกิดขึ้น"  คือ  "พูดได้"   "คิดเป็น"   "มีความรู้สึก"(Conscious)  ฯลฯ

เมื่อหน่วยยอ่ยรวมกันเป็นหน่วยใหญ่อย่างเป็นระบบเครือข่ายแล้ว "คุณสมบัติใหม่ของหน่วยใหญ่ก็จะเกิดขึ้น ครับ !!

มันมหัศจรรย์จริงๆ !!!

เมื่อมันเป็นหน่วยย่อยแต่ละหน่วย  แยกกันอยู่เป็นเอกเทศ  มันมี "คุณสมับัติอย่างหนึ่ง"  แต่เมื่อมัน "รวมกันเข้าเป็นเครือข่าย เป็นระบบ มันกลับมีคุณสมบัติเปลี่ยนไป"  เปลี่ยนไปเป็น "คุณสมบัติใหม่"  มัน "เกิดขึ้นใหม่" เป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่ง "ไม่เหมือนเดิม"

จากความจริงอันนี้  บอกให้เราตระหนักว่า  เราจะสลาย  หรือวิเคราะห์หน่วยใหญ่ออกเป็นหน่วยยอยก็ได้  เพื่อศึกษาหน่วยย่อย  ว่ามันเป็นอย่างไร   แต่ "อย่าลืมหน่วยใหญ่ด้วยก็แล้วกัน"  เพราะว่า "เมื่อหน่วยย่อยมันสัมพันธ์กันเข้าในบางลักษณะเพื่อเป็นหน่วยใหญ่ มันจะมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นด้วย  ซึ่งสิ่งที่เกิดใหม่นี้  มันไม่เหมือนเดิม"  คือไม่เหมือนกับ "คราวที่มันเป็นหน่วยย่อย"

แล้วมันเกี่ยวข้องอะไรกันกับการวิจัยเล่า ?

อ๋อ ---  เกี่ยวแน่ครับ

คำสำคัญ (Tags): #ระบบ
หมายเลขบันทึก: 92743เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2007 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว.....

เจริญพร

  • รอดูว่าเกี่ยวอย่างไร
  • หายไปนานเลยครับอาจารย์
  • คิดถึง
ขอบคุณครับ พะคุณเจ้า
ขอบคุณ คุณขจิต ฝอยทอง ครับ  และขอแสดงความยินดินดี ที่จะได้ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ - USA ใช่ไหมครับ
ไม่มีรูป
ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

อาจารย์ หายไปนานเลย....

เป็นยังไงบ้าง.....

เจริญพร

สวัสดีครับ ด็อกเตอร์

  ในเรื่องของระบบเราจะรู้ได้อย่างไรว่า นักเรียนมีความคิดเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน และมีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เรามีวิธีวัดหรือรู้ได้อย่างไรบ้างครับ ท่านอาจารย์

ขอบคุณครับ

นมัสการพระคุณเจ้า

กลับมาแล้วครับ ขอบตุณมากครับที่เป็นห่วง

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

สวัสดีครับ คุณสมชาย ดีเสมอ

เป็นคำถามที่ดี  แต่ต้องตอบยาวหน่อยครับ ผมจะพยายามให้สั้น  และตรงจุด   ดังนี้ครับ

(๑) "..... นักรียนคิดเกี่ยวข้องกับเนื้อหา.. "  คำว่า "เนื้อหาวิชา"  นั้น ความหมายส่วนหนึ่งหมายถึง "องค์ความรู้" หรือ "BODY of KNOWLEDGE"  ที่หลายคนชอบพูดกัน  องค์ความรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจะประกอบด้วย "ข้อเท็จจริง(Facts), มโนทัศน์(Concepts), กฎ(Empirical Laws), ทฤษฎี(Empirical Theories)"  ในสาขาที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ก็เหมือนกันครับ แต่ต้องแก้เป็น "หลัก"(Principles), Prescriptive laws, or Rules,  และ Theories เฉยๆ ก็ได้ครับ  โดยที่ครู "ทุกคน" "ต้องรู้" ความรู้เหล่านี้ !!! 

เปิดหนังสือขึ้นมาหนึ่งหน้า ลองอ่านดู  ทีละประโยค ถ้า"ไม่รู้" ว่าคำใดเป็น "ข้อเท็จจริง"  คำใดเป็น "มโนทัศน์" ข้อความใด "เป็นกฎ" หรือ "ข้อความใดเป็นทฤษฎี" แล้วละก้อ------ ต้องเลิกพูดกันครับ??!!!

(๒) องค์ความรู้ประเภท "ข้อเท็จจริง" จะเก็บหรือจำหรือเข้ารหัสไว้ใน LTM เป็น "หน่วยๆ" และ "โยงสัมพันธ์"กันเป็น "เครือข่าย" สามารถที่จะรวมกันเป็น"กระจุกๆ" ได้ที่เรียกว่า "มโนทัศน์" หลายๆมโนทัศน์สามารถรวมกันเป็น "เครือข่าย"ที่ใหญ่ขึ้นเป็น "ประพจน์" หรือ "Proposition"  ถ้าพูดอย่าง "ภาษาศาสตร์" (Linguistics) ก็เรียกว่า "ไวยากรณ์" หรือ "Grammar" ซึ่เป็น "กฎไวยากรณ์"  (Grammartical RULES) มาควบคุมเครือข่ายเหล่านี้อีกครั้งหนึ่ง

(๓) "-- จะรู้ได้อย่างไรว่านักเรียนคิดเกี่ยวกับเนื้อหา--" คำตอบก็คือ "เราต้องวัด" ความรู้ตามข้อ(๑)และ(๒)ด้วยข้อสอบซีครับ 

ถ้าครู "รู้" ว่า ข้อ(๑) และ(๒)ข้างบนนี้คืออะไรแล้ว ครูก็ "เขียนข้อสอบเป็น" !!!!!

และถ้าเด็ก "ตอบได้" ก็สันนิษฐานว่า เด็กคนนั้น "มี"องค์ความรู้แบบต่างๆอย่างแน่นอน

(๔) "--จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ--?"   

ถ้า ถามเป็น "หน่วยๆ" หรือ "จำเป็นชิ้นๆ" เด็กก็จะตอบเป็น "หน่วยๆ" ไม่ใช่ระบบซีครับ !!!!

แต่ถ้าข้อสอบนั้นถามเพื่อกระตุ้น "ประพจน์" ตั้งแต่ "๑ประพจน์ขึ้นไป" เด็กก็จะต้อง "คิดอย่างเป็นระบบ" อยู่แล้วครับ!!!  และอย่างไม่ต้องสงสัยครับ!!!!

ปัญหามันมีอยู่ว่า "ครู" ทั่วพารานั้น "รู้ข้อ(๑)หรือ(๒)ข้างบนนี้มากน้อยแค่ไหน?   และ"รู้วิธีเขียนข้อสอบปานใด?" ต่างหากเล่าครับ???!!!

วิธีแก้ขั้นต้น

(๑) สถาบัน "ผู้สร้างคร" ต้องสร้างครูให้รูและทำได้ "อย่างแตกฉาน" ในข้อ (๑)และหรือ(๒)

(๒) "ผู้สร้างครู" ต้องสร้างครูให้"แตกฉานเรื่องการเขียนข้อสอบ  การประเมินผล จนทำได้อย่างดี จึงจะปล่อยออกไป!!!  และ

(๓) "ผู้ใช้ครู" ต้อง "รู้จักคัดเลือกครู" เข้ามาสอนในสถานศึกษาครับ

ก็พอแก้ได้ไปพลางๆ ----

ดร.ไสว เลี่มแก้ว

ไม่มีรูป
ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ตามที่อาจารย์ตอบคุณโยมสมชาย..... ก็คิดถึงวิชาที่สอนไป...(สอนมา ๒ ปีแล้ว)

วิชาตรรกศาสตร์ ซึ่งออกข้อสอบเป็นปรนัย ก ข ค ง. ...  ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการฝึกหัดการวิเคราะห์ รู้สึกว่าพอไปได้...แม้จะมีนิสิตตกจำนวนหนึ่งก็ตาม ...

........

วิชาอภิธรรมปิฎก ซึ่งจัดนิสิตเป็นกลุ่มๆ ให้ไปศึกษาแล้วมาอภิปรายหน้าห้อง... และออกข้อสอบเป็นอัตนัย โดยอธิบาย เน้นถามความเข้าใจและความเห็น... แต่รู้สึกว่ายังไม่ได้เรื่องได้ราว...

ปีนี้คิดว่า จะต้องฝึกให้นิสิตเขียนให้เยอะๆ เพื่อจะได้พัฒนาด้านนี้ด้วย...

ในฐานะที่อาจารย์มีประสบการณ์และชำนาญด้านนี้ อาจารย์พอจะมีความเห็นและคำแนะนำอย่างไรบ้าง....

อยากเป็นครูในอุดมคติของอาจารย์ (....)

เจริญพร   

นมัสการพระคุณเจ้า

ขอบคุณครับ

(๑) กระบวนการสอนแบบนั้น เหมาะกับการสอนระดับอุดมศึกษามากครับ  โดยเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งต้องเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนเอง โดยการค้นคว้า ปฏิบัติ เสนอรายงานหน้าขั้น  เขียนรายงาน  ดังนั้นจึงต้องใช้ชั้นเรียนที่มีผู้เรียนน้อย ไม่เกิน ๑๕ คน ทั้งนี้เพื่อให้พวกเขาได้ "พูดกันทุกคน"ในแต่ละชั่วโมง เป็นการฝึกแสดงความคิดเห็น  และฝึกพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการ  ถ้าใครไม่พูดต้องถามให้เขาพูด  ถ้ากลุ่มใหญ่ ทำอย่างนี้ไม่ได้

แต่ ผู้สอน "ต้อง" เพิ่มเติม "ชี้ผิดชี้ถูกได้"  และต้องควบคุมให้เนื้อหาได้มาตรฐาน  ถ้าพูดรู้ต่ำกว่ามาตรฐาน  ครู"ต้องเพิ่มเติม"  หรือ "ให้ไปค้นคว้าและเขียนมาใหม่"  ถ้าเด็กเสนอรายงานหน้าชั้นแล้ว ก็แยกย้ายกันไป  แล้วละก้อ "เหลว" ครับ

(๒) ข้อสอบแบบ "ปรนัย" แบบ ก  ข  ค  ง  จ  นั้น  เขียนยากมาก  ต้องมีหลักวิชาในการเขียน  ถ้าไม่รู้เรื่องการเขียนข้อสอบแล้ว  "จะเป็นข้อสอบวัดจำ"เสียเป็นส่วนใหญ่  และอันตรายมาก  ควรเปลี่ยนไปเป็นข้อสอบแบบ "อัตนัย หรือแบบบรรยายตอบ" จะดีกว่าครับ  เหมือนที่ทำอยู่แล้วนั่นแหละ ดีมาก  เพราะถึงอย่างไร  ผู้ตอบก็ "ต้องใช้ความคิดแบบต่างๆอยู่ดี" ครับ  และเด็กจะคิดเป็นเชิงระบบไปในตัวโดยเราไม่รู้ตัวอีกด้วย แม้การตรวจให้คะแนนจะมีความคลาดเคลื่อนมาก เช่น ตรวจหัวค่ำ กับตรวจตอนดึก จะให้คะแนนต่างกันก็จริง  แต่ดีกว่าข้อสอบปรนัยที่วัดแต่จำเป็นไหนๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท