The Impossible Dream


สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ เมื่อสุดมือเอื้อมคว้า ที่จะฝันใฝ่ หัวใจเลือกที่จะไขว่คว้า แม้แรงน้อยเหนื่อยอ่อน จะสู้มิรู้ถอยดั่ง

The Impossible Dream ซึ่งเป็นเพลงละครบรอดเวย์ มาจากเรื่อง

Man of La Mancha แสดงระหว่างปี 2508-2514

บทละครเขียนโดย Dale Wasserman

ทำนองเพลงโดย Mitch Leigh และคำร้องโดย Joe Darion

ต่อมาได้รับการสร้างเป็นหนังในปี 2515

เป็นเรื่องราวของดอน กิโฮเต้ (Don Quixote)

 

To dream ... the impossible dream ...
To fight ... the unbeatable foe ...
To bear ... with unbearable sorrow ...
To run ... where the brave dare not go ...
To right ... the unrightable wrong ...
To love ... pure and chaste from afar ...
To try ... when your arms are too weary ...
To reach ... the unreachable star ...
This is my quest, to follow that star ...
No matter how hopeless, no matter how far ...
To fight for the right, without question or pause ...
To be willing to march into Hell, for a Heavenly cause ...
And I know if I'll only be true,
to this glorious quest,
That my heart will lie peaceful and calm,
when I'm laid to my rest ...
And the world will be better for this:
That one man, scorned and covered with scars,
Still strove, with his last ounce of courage,
To reach ... the unreachable star ...

The Impossible Dream

ท่านผู้หญิง มณีรัตน์ บุนนาค ประพันธ์กลอน ความฝันอันสูงสุด โดยถอดความมาจากเพลง The Impossible Dream

คำร้อง: ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค

ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ ขอสู้ศึกทุกเมื่อไม่หวั่นไหว

ขอทนทุกข์รุกโรมโหมกายใจ ขอฝ่าฟันผองภัยด้วยใจทะนง

จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง

จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา

ไม่ท้อถอยคอยสร้างสิ่งที่ควร ไม่เรรวนพะว้าพะวังคิดกังขา

ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป

นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง หมายผดุงยุติธรรมอันสดใส

ถึงทนทุกข์ทรมานนานเท่าใด ยังมั่นใจรักชาติองอาจครัน

โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่ เพราะมีผู้ไม่ยอมแพ้แม้ถูกหยัน

ยังคงหยัดสู้ไปใฝ่ประจัญ ยอมอาสัญก็เพราะปองเทิดผองไทย

 

หมายเลขบันทึก: 92703เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2007 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2012 00:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

อืม เพิ่งได้ทราบนี่แหละค่ะว่า เพลงความฝันอันสูงสุดนี้มาจากเพลงในละคร Broadway เรื่อง Don Quixote

ทราบแต่ว่ามี Don Quixote ที่เป็นบัลเลต์โปรดักชั่น และละครเวที ซึ่งดัดแปลงบทจากวรรณกรรมสเปน หลายคนคงเคยทราบเรื่องหรือคุ้นหูอยู่บ้าง ขณะนี้ production ที่แสดงเป็นภาษาอังกฤษอยู่ใน Geffen Playhouse, Los Angeles,CA. เป็น Off Broadway แสดงเดือนหน้านี้ค่ะ

www.theaterticketsnow.com/images/don-quixote.jpg

ความรู้ใหม่เลยค่ะ


 

 

 

 

 

 

 

 

  • ?
  • มาจาก Broadway หรือ?
  • มีความน่าจะเป็นเหมือนกัน
  • ขอแหล่งที่มาของข้อมูลด้วยครับ เรื่องนี้มีความสำคัญทีเดียว

ที่มาของเพลงพระราชนิพนธ์ ‘ความฝันอันสูงสุด’

สู่ฝันอันยิ่งใหญ่

Don Quixote:Man of La Mancha เดล วาสเซอร์แมน เขียน

มัทนี เกษกมล แปล

 

ไม่ว่าสภาพความเป็นจริงจะเป็นอย่างไร

ก็ไม่อาจมาขวางกั้นขอบเขตแห่งจิตนาการ
แม้ในยามอับจนสิ้นไร้
ความฝันใฝ่ก็ยังปราศจากเขตแดน
ณ คุกใต้ดินแห่งหนึ่งในนครเซวิลล์
ประเทศสเปน มิเกล เด เซรบานเตส นักประพันธ์เอกของโลก
ถูกศาลศาสนาจับกุมมาคุมขังรวมกับนักโทษอื่นๆ
ซึ่งมีทั้งหัวขโมย ฆาตกร แมงดาและโสเณี

บรรดานักโทษเหล่านี้ ล้วนอยู่กันอย่างซังกะตาย

ทุกคนต่างหมดสิ้นความหวังในชีวิต

และภายในคุกนี้ เซรบานเตสก็ยังถูกนักโทษด้วยกัน

กล่าวหาว่าเป็นนักอุดมคติ กวีชั้นเลวและคนซื่อ

ซึ่งเขาก็ยอมรับในข้อกล่าวหา

แต่เซรบานเตสก็ยังขอโอกาสต่อสู้คดี เพื่อ

แก้ข้อกล่าวหา ด้วยการนำเสนอละคร

อันเป็นเรื่องราวของ ดอน กีโฮเต้ อัศวิน
แห่งลามันช่า ผู้พร้อมที่จะต่อสู้กับเหล่าอธรรม
และใฝ่ฝันถึงแต่สิ่งที่ดีงาม แล้วเขาก็ได้จุดไฟฝัน
ให้สว่างขึ้นมาในหัวใจของปรรดาผู้สิ้นไร้
ซึ่งครั้งหนึ่งต้องดำรงอยู่อย่างยอมรับสภาพความจริง
ของชีวิตอันยากแค้นขมขื่น
 
ดอน กีโฮเต้ ยังไม่ตาย

....ที่มาที่ไปของดอน กิโฮเต้

สถานที่เริ่มต้น และฉาก

....เซรบานเตสกับคนรับใช้ กำลังเดินสู่คุกใต้ดิน

บุรุษแห่งลามันช่า

....การปรากฎตัวของดอน กิโฮเต้ กับคนใช้ที่มีชื่อว่า ซันโช และการต่อสู้กับปีศาจพันหน้า 

ก็เป็นอย่างเดิม

....ณ โรงเตี๊ยม ปราสาทที่ยิ่งใหญ่แห่งลามันช่า และการพบรักครั้งแรกของดอน กิโฮเต้

ดัลซีเนีย(1)

 ....ตกหลุมรักอัลดอนซา

ดัลซีเนีย(2)

....เซรบานเตสกำลังคิดถึงบทละครเพิ่มเติมในการแก้คดีต่อ

ต่างห่วงพะวงคิดถึงเขา

....และแล้วฉากที่บ้านของดอน กิโฮเต้ หลานๆ แม่บ้านและพระ
เราต่างก็เป็นห่วงเขา ....ดอน กิโฮเต้ ส่งสาส์นไปยังอัลดอนซา
ผมชอบเขา ....การโต้ตอบของอัลดอนซา
นกน้อย ....คนต้อนฬอกับสาส์นนั่น
ช่างตัดผมและหมวกทอง ....หมวกทองและการพิธีแต่งตั้งอัศวินแห่งลามันซ่า
สู่ฝันอันยิ่งใหญ่(1) ....การต่อสู้ระหว่างดอน กิโฮเต้กับคนต้อนฬอ
อัศวินแห่งทัศนาดูร ....คุณธรรมของอัลดอนซา
สู่ฝันอันยิ่งใหญ่(2) ....นักโทษที่ถูกเผาไปนั่นทำให้เซรบานเตสรู้สึกตระหนกใจไม่น้อย
บุรุษแห่งลามันช่า(2) ....หญิงชาวมัวร์หรือหัวขโมย
อัลดอนซา ....อัศวินกระจก กับความพ่ายแพ้ของดอน กิโฮเต้
ซุบซิบเพียงเล็กน้อย ....ข้าชื่อ "อลองโซ กิฆานา"
ดัลซีเนีย(3) ....ความมุ่งมั่นในการสร้างวีรกรรม
สู่ฝันอันยิ่งใหญ่(3) ....การกลับมาและวาระสุดท้ายของดอน กิโฮเต้

ดอน กีโฮเต้ ยังไม่ตาย

ดอน กิโฮเต้ ( Don Quixote ) เป็นวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ของสเปน มิเกล เด เซรบานเตส ซาเบดรา ผู้แต่งนิยายเรื่อง ดอน กีโฮเต้ มีชีวิตอยู่ในยุคเดียวกับเชคสเปียร์ กวีชาวอังกฤษ และก็เช่นเดียวกัน ประวัติชีวิตส่วนใหญ่ของเขายังอยู่ในความคลุมเครือไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด ทราบแต่ว่า เขาเกิดที่เมืองเล็กๆ ใกล้กรุงมาดริด เมื่อ ค.ศ. 1547 ครอบครัวมีฐานะค่อนข้างยากจน แต่มีศักดิ์ศรี ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่มาดริด จนอายุ 22 ปี จึงเดินทางไปยังประเทศอิตาลี เข้าร่วมรบในสงคราม ระหว่างพวกมัวร์และพวกคริสเตียน จนได้รับบาดเจ็บที่หน้าอกและที่มือซ้าย หลังจากนั้นยังได้ร่วมในสงครามอื่นๆ อีกหลายครั้ง จนกระทั่งเดินทางกลับสเปน

ระหว่างเดินทางกลับมายังสเปน เขาถูกโจรสลัดชาวมัวร์จับไปขาย ตกเป็นทาสอยู่ในอาฟริกาถึงห้าปี ในที่สุดก็ได้รับการปลดปล่อยกลับมายังสเปน แต่ที่สเปนนี้เอง เขาถูกลงโทษจำคุกอีกสองสามครั้ง เพราะถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรม ค.ศ. 1597 เขาถูกลงโทษด้วยข้อหาบ่อนทำลายศาสนจักรอันศักดิ์สิทธิ์ ชีวิตของเขามีแต่ความลำบากยากจน ทว่าเขาก็ยังมีความกระตือรือร้นและกำลังใจอยู่เสมอ เซรบานเตสใช้ช่วงเวลาสุดท้ายที่เมืองมาดริด และได้พิมพ์เผยแพร่นิยายภาคแรกของ ดอน กีโฮเต้ ในปีค.ศ. 1605 ต่อจากนั้นก็เริ่มเขียนหนังสืออีกอย่างไม่หยุดยั้ง และนำเอา ดอนกีโฮเต้ ภาคสองออกดีพิมพ์ในปีค.ศ. 1615

ระยะเวลาที่ห่างกันเพียงสิบปี ระหว่าง ดอน กีโฮเต้ ภาคแรก และภาคที่สองนั้นมีความหมายในเชิงประวัติศาสตร์สังคมที่ส่งผลต่องานวรรณกรรม เซรบานเตสเขียน ภาคแรกในช่วงปลายยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาอันรุ่งเรือง จักรวรรดิสเปนมีอำนาจครอบคลุมไปทั่วโลก จัดเป็นยุคทองทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และศิลปวัฒนธรรม เนื้อหาจึงเอ่ยถึงอุดมคติและจินตนาการอันยิ่งใหญ่ของ ดอน กีโฮเต้ ผู้ละทิ้งหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อลามันช่า เพื่อออกไปเผชิญโชคเยี่ยงอัศวิน คอยพิทักษ์ความยุติธรรม และช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า แต่ที่สุด เขาก็ถูกพ่อค้าสองสามคนทำร้าย และถูกนำตัวกลับมายังหมู่บ้าน

หนังสือภาคสอง เซรบานเตส สะท้อนสภาพเสื่อมโทรมของจักรวรรดิสเปน เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า บาร็อคโก อันเนื่องมาจากศึกสงครามและดินแดนอาณานิคมที่ครอบครองอยู่มากมายที่ทำให้สเปนต้องรับภาระหนักทางเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมีแต่ความลำบากยากแค้น เนื้อเรื่องของ ดอน กีโฮเต้ ภาคสอง จึงสะท้อนให้เห็นบรรยากาศที่ตึงเครียด เศร้าหมอง การดูถูกเหยียดหยามที่ดอนกีโฮเต้ ได้รับระหว่างผจญภัยในดินแดนต่างๆ ทำให้เขารู้สึกเจ็บช้ำ และท้อแท้ เหนื่อยอ่อนต่อการยึดถืออุดมคติ และความฝันอันสูงสุดของเขา ในที่สุด เขาต้องกลับไปหมู่บ้านอย่างพ่ายแพ้ ยอมรับสภาพความเป็นจริงที่เจ็บปวดและขมขื่น ต่อมาไม่นานเขาก็สิ้นชีวิตลง

ดอน กีโฮเต้ คือนิยายที่สร้างชื่อเสียงอันยืนยงให้แก่เซรบานเตส ตั้งแต่บัดนั้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน นักวรรณคดีทั่วโลกต่างยกย่องความเป็นอัจฉริยะของเขาที่สามารถ ทำให้ชายชราผู้เสียสติกลายมาเป็นละคร อมตะแห่งโลกวรรณคดี

เดล วาสเซอร์มัน นักเขียนบทละครชาวอเมริกัน ได้รับความบันดาลใจการเรื่องราวของ ดอน กีโฮเต้ และมิเกล เดเซรบานเตส ผสมผสานกัน แรกเริ่มเดิมที เขาเองก็เช่นเดียวกับคนทั่วไปในโลกตะวันตก ที่คุ้นเคยกับชื่อของดอน กีโฮเต้ โดยไม่เคยอ่านนิยายที่เซรบานเตสเขียน อย่างน้อยในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ คำว่า quixote ก็มีปรากฏอยู่ และมักถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ เพื่อระบุถึงความคิด การกระทำ หรือลักษณะของคนที่เพ้อฝัน หรือพยายามทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

เมื่อเดินทางไปยังประเทศสเปนในปี 1959 วาสเซอร์มัน อ่านพบข่าวหนังสือพิมพ์ซึ่งออกในกรุงมาดริดว่า เขามาเพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับการนำวรรณกรรมเรื่อง ดอนกีโฮเต้ ไปทำเป็นบทละคร ภายหลังจากงุนงงอยู่พักใหญ่ เขาก็เริ่มด้วยการหยิบเอา ดอนกีโฮเต้ ภาคสองขึ้นมาอ่านด้วยความรู้สึกล่วงหน้าว่า เรื่องราวอันเข้มข้นลึกซึ้งของอัจฉริยบุรุษผู้ฟั่นเฟือนนี้ ยากเกินกว่าจะนำมาถ่ายทอดในรูปของบทละคร

แต่แล้ว จากการที่เขาได้ขุดค้นลงไปในประวัติชีวิตของเซรบานเตส วาสเซอร์มัน ก็เริ่มประทับใจในเรื่องราวชีวิตที่ผ่านประสบการณ์มามากมายหลายแบบ เคยเป็นทั้งทหาร นักแสดง คนเก็บภาษี นักเขียนบทละคร ซ้ำยังถูกขังคุกนับครั้งไม่ถ้วน ท่ามกลางความล้มลุกคลุกคลานเหล่านี้ อะไรเล่าทำให้ เขาสามารถผลิตงานเช่น ดอน กีโฮเต้ ได้ในบั้นปลายของชีวิตที่ดูมีแต่ความเสื่อมโทรมล้มเหลว คงต้องอาศัยวิญญาณอันทรงพลังของความเป็นมนุษย์นั่นเอง ที่กลั่นกรองและ บันดาลให้เขาทำงานชิ้นสำคัญนี้ได้จนสำเร็จและกลายมาเป็นวรรณคดีที่ยืนยงของโลก

เมื่อได้ข้อสรุปเช่นนี้ เดล วาสเซอร์มัน จึงเริ่มเขียนบทละคร แรกสุด เขาเขียนเป็นบทละครสำหรับออกอากาศทางโทรทัศน์ ความยาว 90 นาที ได้รับการต้อนรับจากผู้ชมอย่างดีเยี่ยม ถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญของปีนั้น ทั้งยังได้รับรางวัลทางการละครอีกมากมาย แต่วาสเซอร์มัน กลับยังไม่พอใจนัก ด้วยเห็นว่าโทรทัศน์มีข้อจำกัดบางประการซึ่งทำให้ละครไม่บรรลุจินตนาการและความตั้งใจที่เขาใฝ่ฝันไว้ เขาจึงนำบทประพันธ์นี้มาเขียนขึ้นใหม่ สำหรับแสดงบนเวทีของบรอดเวย์ ตามที่มีผู้มาเสนอเขา

ทว่าวาสเซอร์มันก็ยังไม่รู้สึกลงตัวกับการเขียนครั้งใหม่นี้ จนกระทั่งผู้ร่วมงานคนหนึ่งเสนอว่า ต้องทำออกมาเป็น "ละครเพลง" จึงจะได้รสชาติตามที่ต้องการ วาสเซอร์มัน เห็นด้วยกับความคิดนี้และได้ที่สุดก็เริ่มสิ่งที่เขาเรียกว่า "การผจญภัย" ของเขาอีกครั้ง เป็นการผจญภัยไปในอาณาบริเวณของการเสาะแสวงรูปแบบ กลวิธี และปรัชญา เพื่อสร้าง แมน ออฟ ลามันช่า ให้ออกมาสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เขาและเพื่อนร่วมงานจะฝันไปให้ถึงได้

ความลึกซึ้งของบทละครที่พูดถึงวิญญาณภายในของมนุษย์ ที่ดิ้นรนฝ่าฟันข้อจำกัดทั้งมวลประดามีในโลกนี้ เพื่อไปให้ถึงความฝันอันยิ่งใหญ่ ทำให้นายทุนบรอดเวย์หลายคนลังเลว่าละครจะเป็นปัญญาชนมากเกินไป กว่าที่จะได้ลงโรง ณ โรงละครเฮาเวิร์ด เบย์ ก็เล่นเอาพวกเขา ล้มลุกคลุกคลานไม่ผิดกับชีวิตของเซรบานเตสเองทีเดียว

ในคืนเปิดการแสดงรอบแรก ปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้ชมทำให้บรรดาผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของละคร ถึงกับอุทานออกมาว่า "พวกเขามิได้เพียงเข้ามาชมการแสดงละครเรื่องหนึ่งเท่านั้น หากกำลังเข้าร่วมพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเราเองก็มิได้คาดคิดมาก่อนว่าจะตรึงผู้ชมได้ถึงขนาดนี้" แมน ออฟ ลามันช่า ได้รับรางวัล "ละครเพลงยอดเยี่ยมแห่งปี 1966" จาก New York Drama Critics Award นักวิจารณ์ประจำหนังสือพิมพ์ฉบับสำคัญๆ ทั้งหลายต่างกล่าวขวัญถึงละครเรื่องนี้อย่างยกย่องว่าเป็นการปลุกวิญญาณของดอน กีโฮเต้ ให้กลับฟื้นคืนมาได้อย่างสง่างาม ทรงพลังเต็มไปด้วยจินตนาการบรรเจิด และที่สำคัญ คือ ด้วยความสัตย์ซื่อต่อความใฝ่ฝันอันเป็นอมตะ ที่ส่งทอดจากศตวรรษที่สิบเจ็ดมาสู่คนรุ่นหลัง ด้วยเลือดเนื้อของศิลปะการละคร ศิลปะที่เซรบานเตสรักและผูกพัน แม้จะไม่เคยประสบความสำเร็จจากละคร 40 เรื่องที่เขาเขียนขึ้น ตลอดเวลาที่เขามีชีวิตอยู่เลยก็ตาม

คัดจาก
http://www.geocities.com/sathit_ropple/Quixote/q_xo1.html

สำหรับเมืองไทย คณะละคร 28 เคยนำบทละครของ เดล วาสเซอร์ มัน มาแสดงบนเวทีละครไทย โดยชื่อภาษาไทยว่า สู่ฝันอันยิ่งใหญ่

The Impossible Dream
To dream the impossible dream
To fight the unbeatable foe
To bear with unbearable sorrow
To run where the brave dare not go

To right the unrightable wrong
To be better far then you are
To try when your arms are too weary
To reach the unreachable star

This is my quest
To follow that star
No matter how hopeless
No matter how far

To fight for the right
Without question or pause
To be willing to march into Hell
For a heavenly cause

And I know if I'll only be true
To this glorious quest
That my heart will lie peaceful and calm
When I'm laid to my rest

And the world will be better for this
That one man, scorned and covered with scars
Still strove with his last ounce of courage

อ้างอิง จากข้อเขียนของ

 

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=a-wild-sheep-chase&month=02-2006&date=24&group=4&gblog=4


 

อ้างอิงจาก

http://www.arts.chula.ac.th/~complit/thesis/thesis_th/2542.htm#6

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์

ของ สุภัททิรา รอดบุญธรรม 2542

 

2542. สุภัททิรา รอดบุญธรรม. ดอน กีโฆเต้ เด ลา มันช่า และอิทธิพลที่มีต่อบทละครเพลงอเมริกันเรื่อง แมน
ออฟ ลา มันช่า และบทละครเพลงไทยเรื่อง สู่ฝันอันยิ่งใหญ่

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ ประการแรกเพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและบริบทต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ใน ดอน กีโฆเต้ เด ลา มันช่า ประการที่สองเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ ดอน กีโฆเต้ เด ลา มันช่า กับ แมน ออฟ ลา มันช่า และเรื่อง สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ ในฐานะที่บทละครเพลงทั้งสองเรื่องได้รับอิทธิพลมาจาก ดอน กีโฆเต้ เด ลา มันช่า

จากการวิจัยพบว่าวรรณกรรมเรื่อง ดอน กีโฆเต้ เด ลา มันช่า ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคมและบริบททางวรรณกรรม ซึ่งสะท้อนออกมาในส่วนต่างๆ ของเรื่อง และจากการวิเคราะห์ตัวบทเรื่อง ดอน กีโฆเต้ เด ลา มันช่า พบว่า วรรณกรรมเรื่องนี้แต่งขึ้นมาเพื่อเสียดสีนิยายอัศวินยุคกลาง ดังนั้นผู้แต่งจึงสร้างโครงเรื่อง ตัวละครเอก และนำเสนอแนวคิดที่เสียดสีนิยายดังกล่าว แต่ขณะเดียวกัน การกระทำและอุดมการณ์ของตัวละครเอกได้สะท้อนให้เห็นภาพของมนุษย์ ที่พยายามรักษาอุดมการณ์ของตนเองไว้ ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ลักษณะดังกล่าวได้กลายเป็นแนวคิดสำคัญที่มีอิทธิพลต่อวรรณกรรมในสมัยต่อๆมา

สำหรับเรื่อง แมน ออฟ ลา มันช่า และ สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ นั้น แม้จะได้รับอิทธิพลทั้งในด้านโครงเรื่อง ตัวละคร และแนวคิด มาจาก ดอน กีโฆเต้ เด ลา มันช่า แต่จากบริบททางสังคม จุดมุ่งหมายของผู้แต่งและการตีความที่แตกต่างกันทำให้บทละครเพลงทั้งสองเรื่องมีความแตกต่างจาก ดอน กีโฆเ เด ลา มันช่า

  •  ประเด็นก็คือเพลงความฝันอันสูงสุดท่านถอดความจากเพลง The Impossible Dream จริงหรือครับ

 ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากที่ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ทำนองจากแรงบันดาลพระราชหฤทัยโดยตรง

 อ้างอิงจากงานวิจัยเชิงเอกสาร

ของ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ในงานวิจัยเชิงเอกสาร เรื่อง เราสู้:เพลงพระราชนิพนธ์การเมืองกับการเมือง ปี 2518 - 2519

จาก http://www.2519.net/autopage/show_page.php?t=10&s_id=12&d_id=20

เราสู้: เพลงพระราชนิพนธ์การเมืองกับการเมืองปี 2518-2519

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ทั้งสองเพลงนี้ ถ้านับจากจุดเริ่มต้นจริงๆอาจจะมีขึ้นหลัง "ความฝันอันสูงสุด" เล็กน้อย ตามการบอกเล่าของท่านผู้หญิงมณีรัตน์เอง เมื่อตามเสด็จฯไปที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ในปี พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชเสาวนีย์ ให้เขียนกลอนแสดงความนิยมส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจทำงานเพื่ออุดมคติและประเทศชาติ "ข้าพเจ้าค่อยๆคิดหาคำ กลั่นกรองให้ตรงกับความหมายเท่าที่จะสามารถ แล้วทูลเกล้าฯถวายทอดพระเนตร [สมเด็จพระนางเจ้าฯ] ทรงพระกรุณาติชม จนผลสุดท้ายออกมาเป็นกลอน 5 บท....ความบันดาลใจในเรื่องนี้มีที่มาจากการสังเกตของข้าพเจ้า ได้รู้เห็นพระราชอัธยาศัย พระราชจริยาวัตร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประพฤติปฏิบัติอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันไม่เสื่อมคลาย" หลังจากนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถโปรดให้พิมพ์บทกลอนนี้ลงในกระดาษการ์ดแผ่น

เล็กๆ พระราชทานข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน และผู้ทำงานเพื่อประเทศชาติ เตือนสติมิให้ท้อถอยในการทำความดี "เพราะบ้านเมืองขณะนั้นยุ่งอลเวง น่าเป็นห่วงอนาคตของประเทศชาติ" (ดนตรีจากพระราชหฤทัย, หน้า 183) ต่อมาในปี 2514 สมเด็จพระนางเจ้าฯจึงได้กราบบังคมทูลขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใส่ทำนองให้กับคำกลอน กลายเป็นเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ที่รู้จักกัน มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเพลงนี้ 3 ประเด็น คือ

หนึ่ง ผู้ที่รู้จักเพลง The Impossible Dream คงสังเกตว่าเนื้อเพลงภาษาอังกฤษใกล้เคียงอย่างมากกับคำกลอนภาษาไทยของท่านผู้หญิงมณีรัตน์: To dream the impossible dreamTo fight the unbeatable foe ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อขอสู้ศึกทุกเมื่อไม่หวั่นไหว To bear the unbearable sorrowTo run where the brave dare not go... ขอทนทุกข์รุกโรมโหมกายใจขอฝ่าฝันผองภัยด้วยใจทะนง... And the world will be better for thisThat one man scorned and covered with scars โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่เพราะมีผู้ไม่ยอมแพ้แม้ถูกหยัน Still strove with his last ounce of courage.... คงยืนหยัดสู้ไปใฝ่ประจัญ....

เพลง The Impossible Dream นั้นมาจาก Man of La Mancha ละครเพลงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ของบรอดเวย์ ซึ่งแสดงระหว่างปี 2508-2514 ต่อมาได้รับการสร้างเป็นหนังในปี 2515 (บทละคร เพลงเขียนโดย Dale Wasserman ทำนองเพลงโดย Mitch Leigh และคำร้องโดย Joe Darion) ขอให้สังเกตว่าบทกลอนของท่านผู้หญิงมณีรัตน์นั้นมีส่วนที่ "ไม่ลงตัว" ในแง่เนื้อหาบ้าง เช่น "โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่ เพราะมีผู้...ยอมอาสัญก็เพราะปองเทิดผองไทย" ซึ่งน่าจะเป็นร่องรอยของการพยายามทำคำร้องดั้งเดิมให้เป็นแบบไทยๆ

ขอบคุณครับ

คุณ

P

สำหรับประเด็นคำถามและประเด็นนำเสนอที่น่าสนใจ

และคุณ

P

ประเด็นนำเสนอ ก็คือว่า เนื้อหาของบทเพลงจาก เดล วาสเซอร์แมน นั้น มีการเขียนบันทึก และสรุปเรื่องราว จากคณะละคร สองแปด ตอนช่วงที่มีการจัดทำบท เขียนบท และเตรียมงาน เพื่อทำละครเพลง

สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ ที่มี คุณรัศมี เผ่าเหลืองทอง เป็นผู้เขียนบท มีคุณ มัทนี เกษกมล แปลบทประพันธ์จากภาคละครเวทีของ เดล วาสเซอร์แมน โดยมี คุณยุทธนา มุกดาสนิท เป็นผู้กำกับ

ในเรื่องนั้น มี ดอน กิโฆเต้ สองคน คือ จรัล มโนเพ็ชร และศรันยู วงษ์กระจ่าง สลับกับเล่น โดยมี คำรณ คุณะดิลก เล่นและช่วยการกำกับ

ยินดีสำหรับคำแนะนำครับ

ขอบคุณสำหรับประเด็นนำเสนอครับ

ขอบคุณสำหรับประเด็นคำถามครับ

คุณ

P

มีรายละเอียดและประเด็นเชื่อมโยง ที่ต้องนำเสนอครับ เนื่องจากข้อมูลเบื้องต้นในการอธิบายของ

คุณต่อพงษ์ เศวตามร์ ในผู้จัดการ ซึ่งผมเคยอ่านมาแล้ว แต่ไม่พบว่าเป็นปัญหา จนกระทั่งคุณได้นำเสนอ พอกลับมาอ่านอีกครั้ง ก็เลยพบว่า น่าจะเป็นปัญหาและ เนื้อหาที่เกิดขึ้นนั้น มีความคลาดเคลื่อน ในด้านความถูกต้องของข้อมูลอ้างอิง

http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=4625191017985

ความฝันอันสูงสุดของในหลวง/ต่อพงษ์ เศวตามร์
โดย ต่อพงษ์ 4 ธันวาคม 2546 10:45 น.

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่หยิบยกบทสัมภาษณ์ของ ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค มาอธิบายเพิ่มเติม โดยเฉพาะที่ต้องระบุ อย่างมากก็คือ เป็นการสัมภาษณ์โดยท่านผู้หญิงเอง แต่คุณต่อพงษ์ ไม่ได้ระบุ

ดังนั้นโดยความเข้าใจ ถ้าเทียบเคียงการวิจัยในเชิงเอกสาร ก็คือเป็นข้อมูลชั้นรอง ที่ต้องรับฟังอีกชั้นหนึ่ง รวมทั้งบทสัมภาษณ์ของท่านผู้หญิง ก็ได้ให้สัมภาษณ์ต่างที่ต่างวาระ ไม่ว่าจะเป็น ในนิตยสารสตรีสาร และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ดังนั้น ความคลาดเคลื่อนดังกล่าว ย่อมปรากฎ เมื่อไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

ผมเข้าใจว่า คุณต่อพงษ์ พยายามจะอธิบายให้นุ่มนวลและดูเหมือนการบอกเล่าเรื่องราว แต่ความเสียหายของความซับซ้อนในเนื้อหา จะกลายเป็นปัญหาในการถกเถียงครับ

ต้องขอชี้แจงเล็กน้อยครับ

  • บทนำเสนอนี้ พยายามอธิบายการผสมผสานเนื้อหาของบทเพลง และจุดเริ่มต้น
  • การอธิบายในเชิงเอกสาร หรือวิจัยเอกสารนั้น มีความสำคัญในการอ้างอิงครับ ดังนั้น ผมจึงต้องอธิบายรายละเอียดที่ยุ่งยาก ต้องขอโทษต้องมีเนื้อหาที่มากเกินไป
  • การวิจัยเชิงเอกสาร ที่น่าสนใจของเพลงนี้ ในภาคของละครบรอดเวย์ ละครเวทีของคณะละครสองแปด กับบทเพลงพระราชนิพนธ์นั้น ไม่ได้มีความหมายในเชิงการตีความ หรือเปรียบเทียบในด้านลิขสิทธิ์ หรือสิทธิทางปัญญาแต่อย่างใด
  • เพราะในทางศิลปะ แรงบันดาลใจ และการเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการสร้างงาน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ
  • แต่ในธรรมเนียม จารีต และจริตทางศิลปะ และวิชาการระยะหลัง ได้มีการเสนอ ให้อธิบายถึงแรงบันดาลใจ อธิบายถึงขั้นตอนการต่อยอด และให้เกียรติต้นแหล่งที่มา ของแรงบันดาลใจ เพื่อให้เกิดการรับรุ้ และเข้าใจร่วมกัน
  • โดยส่วนตัว ผมประทับใจกับเพลง ทั้ง 3 อย่างมาก
  • ไม่ว่าจะเป็นThe Impossible Dream  - ความฝันอันสูงสุด - สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ โดยไม่ได้รู้สึกถึงการเปรียบเทียบ เพราะทั้ง 3 บทเพลง ก็ได้ทำหน้าที่ ต่างกรรม ต่างวาระ และคงคุณค่าในทางศิลปะอย่างงดงาม ยิ่งใหญ่ ด้วยกันทั้งสิ้น
  • เพียงแต่การนำเสนอ เพื่อเชื่อมโยงแรงบันดาลใจ และต้นร่างของเนื้อหา ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง

ขอขอบคุณ ในประเด็นนำเสนอ และข้อมูลเชื่อมโยงครับ

ขอบคุณมากครับ

ขออนุญาตเพิ่มเติม

เนื้อหา บทประพันธ์คำร้อง

"สู่ฝันอันยิ่งใหญ่"

สู่ฝันอันยิ่งใหญ่Don Quixote:Man of La Mancha
ดล วาสเซอร์แมน เขียน
มัทนี เกษกมล แปล
ชาลี อินทรวิจิตร  ประพันธ์คำร้อง
สุดมือ เอื้อมคว้าข้าจะฝัน
กล้าหาญ รานรบอริร้าย
ชีวิต จะปลิดปลดมิลดละง่าย
จะไป ถิ่นอันคนกล้ายังถอย
อะไร ชั่วแท้จะแก้ไข
อันไหน ถ้าใจรักสลักร้อย
แรงน้อย เหนื่อยอ่อนสู้มิรู้ถอยดั่ง
ใจหวัง จะลอยลิบหยิบดาว
จะไกลแค่ไหน ไม่เคยสิ้นหวัง
จะไม่มีหยุดยั้ง พลังฝันอันเร่งเร้า
ไม่ลังเลและขลาดเขลา สู่เป้าหมายอันใฝ่หา
อาจจะล้มเซถลามากี่ครั้งก็ยังรักยุติธรรม...
สิ่งดีงามจะค้ำจุนโลกไว้ ตายแล้วยังนอนตาหลับ
โลกจะดีกว่านี้ควรต้อนรับ ประทับใจทุกคนได้..
ผู้ทนง เท่านั้นจึงจะมี บาดแผลนี้ ถี่เป็นแถวแนวเลือดไหล
ความหวังที่ตั้งมั่นคือความฝันใฝ่ โลกจะสวย..ด้วยความฝันบินสู่..ฟ้า

 

เพลงพระราชนิพนธ์

  • ขอบคุณอย่างมากสำหรับข้อมูลที่มาของเอกสารอ้างอิงเพิ่มเติมครับ
  • กระจ่างขึ้นเยอะทีเดียวครับ ทั้งที่มาที่ไป ที่สูงสุดครับ
  • เราคนไทมี"ความฝันอันสูงสุด"กันแล้วหรือยัง?    

 

ขอให้ศรัทธาเป็นดั่งเข็มทิศ

ที่นำหนทางของเรา ในท่ามกลางเรื่องราวแห่ง ความฝันอันสูงสุด เพื่อไปสู่ฝันอันยิ่งใหญ่ แม้ว่าฝันนั้น อาจจะเป็นไปไม่ได้ ก็ตาม

ในฐานะของความเป็นมนุษย์ ทั้งในจิตวิญญาณของชีวิต ที่ยังคงต้องค้นหาที่ทางแห่งอนาคต

ขอให้ฝันนั้นจงเป็นจริง

ขอบคุณมากครับ

เนวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์แปลเพลง The Impossible Dream ไว้เหมือนกัน

 

ฝันอันมิอจเป็นไปได้

 จะฝันถึงสิ่งอันมิอาจฝัน

จะต่อสู้ศัตรูอันมิอาจสู้

ความทุกข์อันมิอาจทนจะทนดู

จะไปสู่ที่ผู้กล้ามิกล้าไป

จะแก้สิ่งผิดอันมิอาจแก้

จะรักยิ่งจริงแท้พิสุทธิ์ใส

จะกู้แรงอันล้ากลับกล้าไกร

จะหาญไขว่คว้าดาวเอื้อมเอามา

ปณิธานดั้นไปให้ถึงดาว

ถึงสุดหาวไร้หวังยังฟันฝ่า

จะต่อสู้กูสิทธิ์อิสรา

ไม่นำพาพร้อมพลีแม้ชีวิต

เพียงประจักษ์แจ้งจริงสิ่งบรรเจิด

สันติสุขบังเกิดแก่ดวงจิต

พร้อมสละพร้อมยอมพร้อมอุทิศ

หมายว่าโลกจะโสภิตกว่าวันนี้

หนึ่งเดียวนี้ริ้วรอยพร้อยแผลพัน

ถึงถูกหยันประณามหยามศักดิ์ศรี

จะดิ้นรนจนสุดท้ายปลายธุลี

ดวงดาวที่สุดเอื้อม...จะเอื้อม ดาว

ไม่รู้มีที่ผิดบ้างหรือเปล่า เพราะเขียนมาจากความจำ รู้สึกจะตีพิมพ์ที่หนังสือศิลปวัฒนธรรมมานานแล้วครับ

ฟังเพลง The Impossible Dream และ สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=S63MfUXxeKo

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท