KM Cafe :: การสร้างสัมพันธภาพในการทำงาน


กล้าที่ใช้คำว่า “ขอบคุณ” และ “ขอโทษ” ในชีวิตประจำวัน

        การสร้างสัมพันธภาพในการทำงาน


“ ผูกสนิทชิดเชื้อนี้เหลือยาก
  ถึงเหล็กฟากผูกไว้ก็ไม่มั่น
  จะผูกด้วยลงเสกเลขลงยันต์
                       ไม่เหมือนพันผูกไว้ด้วยไมตรี ”     (สุนทรภู่)


ความคิดหลัก  :  งานสำเร็จได้ด้วยพนักงาน
ความรู้หลัก  :  กัลยาณมิตร  คือสัมพันธภาพของพนักงาน  การสร้างสัมพันธภาพของพนักงานที่ก่อให้เกิดพลังและความพร้อมในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย  โดยมิต้องลงทุนเพิ่มแต่อย่างใด  จะก่อให้เกิดทั้ง “ผลงานและน้ำใจ”
การเข้าถึงความรู้หลัก  :  เริ่มต้นที่ตนเอง  โดยอาศัยความรู้ต่อไปนี้มาใช้เพื่อพัฒนาตน   และแลก เปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  เพื่อนำไปสู่การสร้างสัมพันธภาพในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ทั้ง “ผลงานและน้ำใจ”

1. ภูมิปัญญาไทย  : 
รักยาวให้บั่น  รักสั้นให้ต่อ
ซื่อกินไม่หมด  คดกินไม่นาน


2. ภูมิปัญญาตะวันตก  : 
มองให้เห็นอีกด้านของสิ่งที่มอง
วิเคราะห์อดีต  เพื่อใช้วางแผนอนาคต

บทเรียนสู่การปฏิบัติ


            รักษาจิตใจและคุณธรรมให้ลงรอยกัน  เพราะความคิด  จิตใจ  และการประพฤติที่ลงรอยกันในทางที่ดี  ที่เจริญ  มั่นใจได้ว่าสัมพันธภาพในการทำงานจะดำรงและมั่นคงตลอดไป  ซึ่งมีแนวทางที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ  ดังต่อไปนี้


แนวทางที่ 1 / ระดับบุคคล : ความคิด / หวังดี  จิตใจงาม  คุณธรรมเยี่ยม  ไม่ติดยึดกับสิ่งที่จบไปแล้ว
1. กล้าที่ใช้คำว่า “ขอบคุณ” และ “ขอโทษ” ในชีวิตประจำวัน
2. จิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดี และความพร้อมที่จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทุกคนทุกฝ่าย
3. คิด พูด ทำ ด้วยความเมตตามุ่งดีมุ่งเจริญและสำรวจตนเองอยู่ตลอดเวลา
4. คุ้นชินกับความแตกต่าง สามารถนำไปสร้างสรรค์ได้


แนวทางที่ 2  / ระดับกลุ่ม : สัมพันธภาพ  / รู้รักสามัคคี
1. นึกถึงคุณธรรมที่เป็นที่ตั้งของความรักความสามัคคี  มีสติเท่าทันอารมณ์
2. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล  เชื่อในกฎธรรมชาติ
3. ศรัทธาและชื่นชมในศักดิ์ศรีของมนุษย์ บนความแตกต่างที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์


แนวทางที่ 3  / ระดับองค์กร : งาน / รักษาและพัฒนางาน
1. ทุกคนปฏิบัติตนอยู่ในความสำเร็จ ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน  ทำงานต่างไม่ประมาท  เพราะอีกด้านของนวัตกรรมคือความเสี่ยงใหม่
2. ทุกคนต่างพยายามทำความคิดความเห็นของตนให้ถูกต้องเที่ยงตรงและมั่นคงอยู่ในเหตุและในผล  โดยเชื่อมั่นว่ามีประโยชน์อยู่ในการเปลี่ยนแปลง
3. อำนวยความพึงพอใจให้เกิดแก่ผู้รับบริการและเกี่ยวข้องโดยทั่วหน้ากัน  ขาดทุนคือกำไร

หมายเลขบันทึก: 92412เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2007 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เข้าใจนำเสนอ เห็นแล้วเข้าใจง่ายดีนะครับ ขอบคุณครับผม
  • ขอชื่นชมบทความดี ๆ เข้าใจง่าย
  • ขออนุญาตนำไปใช้เป็นไอเดียนะค่ะ
  • เขียนอีกนะ  โอกาสหน้าจะแวะมาใหม่นะค่ะ
ขอบคุณสำหรับกำลังใจจากทั้ง 2 ท่านค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท