บุญกริยาวัตถุ
10
คำว่า "บุญ" ปัจจุบันเรามักใช้ควบคู่กับคำว่าทาน เช่น
ทำบุญทำทาน คำว่าทำบุญ ในที่นี้คนทั่วไปมักหมายถึง การทำทานนั้นเอง
คือ การให้สิ่งของแก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
ด้วยความเต็มใจ
แต่คำว่าบุญในทางพระพุทธศาสนามีความหมายมากกว่าการให้
"บุญ" หมายถึง ความดี
ฉะนั้นการทำความดีก็คือการทำบุญการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ก็เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง
ในทางพระพุทธศาสนาการทำบุญนั้นสามารถทำได้ 10 ทาง เรียกว่า
บุญกิริยาวัตถุ 10 ได้แก่
1.ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
2.สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
3.ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
4.อปวายนมัย
บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่ คือ ไม่ทำตัวเป็นคนพาล
การทำตัวหยิ่งยโส แต่เป็นคนสุภาพอ่อนโยน
5.เวยยาวัจวมัย
บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจกรรมที่ชอบ เช่น รับใช้บิดา มารดา
ผู้มีพระคุณ
ครูอาจารย์รวมตลอดถึงคนที่เราไม่รู้จักแต่ต้องการความช่วยเหลือจากเราในบางโอกาส
โดยที่กิจการต่างๆที่เราช่วยนี้ด้วยชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยประเพณี
และชอบด้วยธรรม
6.ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
เฉลี่ยส่วนความดีให้กับผู้อื่น
7.ปัตตานุโมทนามัย
บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ ยินดีในความดีของผู้อื่น
8.ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม คือ
รับฟังความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์
และตั้งอยู่ในความเห็นที่ดีงาม
9.ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม คือ
การถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
10.ทิฏฐุชุกัมม์
บุญสำเร็จด้วยการทำความเห็นให้ตรง คือ
การใช้ปัญญาไตร่ตรองอยู่เสมอว่าอะไรผิด อะไรถูก
-
ทานมัย การให้ทานมีวัตถุประสงค์ เพื่อขจัดความตระหนี่ ความโลภในจิตใจมนุษย์ และการให้ทานยังมีจุดประสงค์อย่างอื่น ได้แก่ เพื่อบุชาคุณ เพื่อการสงเคราะห์ เพื่ออนุเคราะห์ เพื่อทำคุณ การทำทานมี4ประเภทคือ 1) อามิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุสิ่งของต่างๆ 2) วิทยาทาน ได้แก่การให้ความรู้ทางโลกแก่บุคคลอื่น 3) ธรรมทาน ได้แก่ การให้ความรู้ทางธรรม 4)อภัยทาน ได้แก่ การให้อภัยซึ่งกันและกัน การให้ทานที่กล่าวมานั้น " การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง (ธม.มทานํ สพ.พทานํ ชินาติ) " ทั้งนี้เนื่องจากการให้ทานอย่างอื่นมีประโยชน์เฉพาะหน้า หรือในชาตินี้เท่านั้น แต่ธรรมทานมีประโยชน์ทั้งชาตินี้และชาติหน้า สำหรับการทำบุญตักบาตรนั้น จะต้องมีองค์คุณ 3ประการ จะทำให้บุญมาก คือ
1) วัตถุบริสุทธิ์
2) เจตนาบริสุทธิ์ (ก่อนให้ทานมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เต็มใจขณะให้ทาน ให้ด้วยจิตใจเบิกบาน หลังให้มีจิตใจแช่มชื่น ไม่นึกเสียดาย)
3)บุคลบริสุทธิ์(ปฎิคาหก คือ ผู้รับทานเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบระงับ มีกายวาจาเรียบร้อย ตั้งใจประพฤติธรรม)
-
สีลมัย หลังจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว พระองค์ทรงพิจารณาสัตว์โลกว่า ทำไมจึงมีวิบากกรรรมต่างๆกันทำไม จึงไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย หรือดิรัจฉาน และทำไมจึงเกิดเป็นมนุษย์ และมนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนพิการ บางคนสติปัญญาดี บางคนทรัพย์น้อย บางคนสร้างฐานะไม่ได้สักที เป็นต้น เหตุที่มนุษย์เป็นคนสมบูรณ์ คือ ศีล5 พระองค์ทรงบัญญัติศีล5 เพื่อให้มนุษย์รักษาและถือเป็นหลักปฏิบัติ เป็นการป้องกันตนเองไม่ให้ตกไปในทางที่ชั่ว เช่น อบายภูมิ เป็นต้น
....... การรักษาศีลเป็นการขจัดกิเลสขั้นละเอียดกว่าการให้ทาน คือ ขจัดความโลภ โกรธ หลง ให้เบาบางจากจิตใจ ทำให้มนุษย์มีความสุขกายสุขใจมากขึ้น
-
ภาวนามัย การเจริญภาวนา หมายถึง การฝึกอบรมจิตให้เจริญขึ้น ซึ่งมีอยู่2วิธีคือ
1) สมถภาวนา คือ การฝึกจิตเพื่อมุ่งความสงบของจิต การฝึกจิตให้มีสงบอารมณ์เดียวดิ่งแน่วแน่ มีความตั้งมั่น(หรือที่เรียกว่าสมาธิ) ซึ่งมี40 วิธี(กรรมฐาน40) จะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละบุคคล แต่วิธีที่นิยมกันคือ การเจริญภาวนาปานสติ
2) วิปัสนาภาวนา คือ การฝึกจิตที่สงบแล้วให้พิจารณาด้วยปัญญารู้เป็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ตามธรรมชาติของสิ่งนี้
คัดมาจาก http://teacher.pk.ac.th/tangmo/buddhism/tripidok/merit.html
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย รักษาใจให้สะอาด ใน การดำเนินชีวิตตามแนวทางธรรมชาติ
ขอให้ทุกคนทำแต่ความดี
นะงับ