เสวนาเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงโลก (2)...ปรีชา เปี่ยมพงศานต์ และ สุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง


“ไม่มีความพอเพียงถ้าไม่มีความเท่าเทียม ไม่มีความเท่าเทียมถ้าไม่มีความพอเพียง”

ดร.ปรีชา เปี่ยมพงศานต์

  

ด้วยอยู่ในสำนักเศรษฐศาสตร์การเมือง  ท่านจึงใช้วิธี วิพากษ์ ด้วยมุมมองที่เฉียบคมอย่างเคย 

 

อาจารย์ปรีชาเริ่มด้วยการตั้งคำถามว่า จริงหรือไม่ที่เรามีการพัฒนาหลายแนวทาง   จริงๆแล้วเราไม่มีทางเลือก   ท่านยกคำของท่านพุทธทาสที่เคยแปลจากรากศัพท์ว่า การพัฒนาหมายถึงการทำให้รกรุงรัง ยุ่งเหยิง  ถ้าเป็นเช่นนี้ บางทีสิ่งที่เราต้องการคือ การไม่พัฒนา

  

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นวาทะกรรม คืออยู่ท่ามกลางความขัดแย้งการแย่งชิงพื้นที่ทางความคิด   ทางพุทธ บอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางสายกลาง  รัฐปัจจุบันบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียงอยู่ร่วมกันได้กับทุนนิยม    อาจารย์ปรีชาบอกว่า  ดีไม่ดี สิ่งที่เราจะเป็นได้  อาจจะเป็น  “sufficiency capitalism”  (แปลได้ว่าเป็น ทุนนิยมแบบพอเพียง)

  

อาจารย์ปรีชาเสนอแนวคิด eco-sufficiency คล้ายๆกับที่ วูลฟกัง ซาคเสนอ  และบอกว่า  จะเป็นเช่นนั้นได้  สิ่งที่ต้องทำคือ การมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย  เช่น  แบบเต๋า  ปัญหา คือ ทำอย่างไร  ประชาชนและหน่วยธุรกิจที่คุ้นเคยการบริโภคแบบเดิมจะเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ทำอย่างไรจึงจะทำให้สังคมไทยเปลี่ยนรากลึก

  

อาจารย์บอกว่า สิ่งที่เราขาด คือ  ขาดการวิเคราะห์เรื่องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างแบบทุนนิยม  ซึ่งต้องการการเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจ  การเปลี่ยนโครงสร้างการถือครองทรัพย์สมบัติ  เปลี่ยนโครงสร้างรายได้

  

ข้อเสนอเพื่อความยั่งยืนอย่างอ่อน (อาจารย์ใช้คำว่า weak sustainability)  คือ  คนจนต้องได้รับสวัสดิการอย่างพอเพียง  คนรวยต้องรู้จักพอและลดความมั่งคั่ง  โลกต้องลดจักรวรรดินิยมทุกรูปแบบ

  

ข้อเสนอเพื่อความยั่งยืนอย่างเคร่งครัด (strong sustainability) คือต้องเปลียนโครงสร้างอำนาจ และต้องยกระดับจิตสำนึกทางนิเวศ

  

สิ่งที่ต้องทำคือ  เรียนรู้และมองให้เห็นว่า รากเหง้าของความยุ่งเหยิงปั่นป่วนมาจากไหน   เมื่อไร อย่างไรจึงจะพอ   และต้องรู้จักที่จะพูดว่า  พอแล้ว

  

ตบท้ายด้วยการบอกว่า  ไม่มีความพอเพียงถ้าไม่มีความเท่าเทียม (อาจารย์ใช้คำว่า equity)  ไม่มีความเท่าเทียมถ้าไม่มีความพอเพียง

  

เป็นการวิพากษ์ที่ถูกใจมาก  .... 

  

คุณสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง

  

นักธุรกิจ บริษัทของเล่นวันเดอร์เวิลด์และประธานเครือข่ายเอสวีเอ็น ประเทศไทย  ท่านบอกว่า  ในสามห่วงสองเงื่อนนั้น    สามห่วง คือ  พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน  เป็นสิ่งที่บริษัทส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติอยู่   แต่สิ่งที่จะเป็นข้อแตกต่างจริงๆ และเป็นปัจจัยชี้ขาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นได้หรือไม่ก็คือ  สองเงื่อน  นั่นคือ  เรื่อง ของความรู้และคุณธรรม

  

ลักษณะของธุรกิจเพื่อสังคม (CSR) คือมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ (code of business conduct) และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม   อย่างไรก็ดี  บางรายอาจทำด้วยมีกฎบังคับ  หรือ เป็นเครื่องมือทางการตลาด  หรือ บางรายก็ทำด้วยจิตสำนึกจริงๆ

 
หมายเลขบันทึก: 91844เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2007 18:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์น้องปัท

พี่ตุ้มแวะมาเยี่ยม econ4life ค่ะ มีเรื่องน่าสนใจมากเลย เสียดายว่าที่ผ่านมาไม่ได้มีเวลาเข้ามาอ่าน จะพยายามแบ่งเวลาให้กับการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย G2K มากขึ้นค่ะ

อาจารย์ปัทมีความสามารถในการบันทึกเรื่องราวการประชุมได้ดีมากค่ะ...ขอมอบตำแหน่ง "ผู้สื่อข่าวกิตติมศักดิ์" ให้อีกตำแหน่งนึงนะคะ

 

ยังติดตามอ่านผลงานของอาจารย์อยู่นะครับ

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

เรียนอาจารย์พี่ตุ้ม และคุณหมอ

ขอบคุณที่ให้กำลังใจนะคะ  คน "บ้ายอ" และ "บ้างาน"  ก็คงจะทำงานต่อไปเต็มที่ค่ะ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท