การใหว้ครูและครอบครูดนตรีไทย


การใหว้ครูและครอบครูดนตรีไทย

  • การใหว้ครู และครอบครู เป็นการแสดงกตเวทีต่อบุพการี ครูบาอาจารย์ในพิธีการนั้น จะต้องจัดให้มีเครื่องสังเวย และครูผู้อ่านโองการตามแบบแผน ส่วนใหญ่จะเลือกกระทำพิธี ในวันพฤหัสบดี

  • การใหว้ครูและครอบครูของผู้ศึกษาเครื่องสายและคีตศิลป์ ครูผู้กระทำพิธีจะทำการครอบด้วยฉิ่งที่ศีรษะ และครอบเพียงครั้งเดียว
    ส่วนการใหว้ครูและครอบครูสำหรับปี่พาทย์นั้นจะมีพิธีการขั้นตอนละเอียด เนื่องจากผู้เรียนปี่พาทย์จะต้องเรียนเพลงเถา  และเพลงหน้าพาทย์ ดังนั้นการครอบครู จึงมีพิธีการไว้เป็นระดับ ๆ

  • ระดับขั้นของการครอบครูมีดังนี้

ขั้นที่ 1   

           การเรียนเบื้องต้นผู้เรียนจะต้องเรียนเพลงชุดโหมโรงเย็น ที่ขึ้นต้นด้วยเพลงสาธุการ ครูผู้ทำพิธี จะครอบด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่  เพลงสาธุการ

ขั้นที่ 2 

            ครูผู้ครอบจะครอบด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงตระโหมโรง แล้วให้เรียนเพลงต่างๆ ในชุดโหมโรงเย็นจนจบ

ขั้นที่ 3 

            ครูผู้ครอบจะทำพิธีด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงตระบองกัน แล้วจึงให้เรียนเพลงต่างๆในชุดโหมโรงกลางวันจนจบ

ขั้นที่ 4  

            ครูผู้ครอบ จะครอบด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงบาทสกุณี ต่อจากนั้นในขั้นนี้ ผู้เรียนจะต้องเรียนในเรื่องเพลง
ที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงทุกเพลงจนจบ

ขั้นที่ 5 

           ผู้เรียน จะต้องศึกษาเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งนับเป็นเพลงที่อยู่ในระดับสูงสุด และถือเป็นการนำ
ความสิริมงคลมาสู่ผู้ครอบ และผู้ประกอบพิธีครอบในระหว่างประกอบพิธี ทั้งผู้ครอบและผู้ทำการครอบต้องถือเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด
และควรระมัดระวัง และต้องปฏิบัติดังนี้

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการครอบในขั้นนี้

1.     ผู้นั้นจะต้องผ่านการครอบขั้นต้นมาแล้ว 4 ขั้นดังกล่าวแล้ว ซึ่งหมายถึงผู้เข้ารับการครอบต้องได้เรียนเพลงหน้าพาทย์ในแต่ละ
ขั้นตอนของพิธีครอบขั้นต้นครบถ้วนแล้ว


2.     ผู้เข้ารับการครอบในขั้นที่ 5 นี้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี


3.    จะต้องอุปสมบทมาแล้ว 1 พรรษา (หมายถึงได้บวชเรียนแล้ว)


4.     หรือผู้นี้ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

           

           เมื่อผ่านพิธีการครอบอย่างถูกต้องสมบูรณ์มีคุณสมบัติดีแล้ว จึงให้ปฏิบัติในการเรียนเพลงองค์พระพิราพดังนี้


                            1.     จุดธูปเทียน และดอกไม้เพื่อบูชาองค์พระพิราพก่อนที่จะเริ่มต้นเพลง


                            2.     ครูผู้กระทำพิธีจับมือศิษย์ให้ตีฆ้องวงใหญ่ทำนองเพลงตอนขึ้นต้นองค์พระ 3 ครั้ง


                            3.     ควรต่อเพลงหรือทบทวนเพลงในวันพฤหัสบดี
            เพื่อความเป็นสิริมงคลของทั้งผู้กระทำพิธี และผู้เข้าร่วมในพิธี จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ และต้องระลึกถึงความศักดิ์สิทธิ์
ของพิธีการโดยเคร่งครัดด้วย

หมายเลขบันทึก: 91422เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2007 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้มาก มัทครอบขั้นที่ 1 เองค่ะ (เมื่อตอนอายุ 14)

สวัสดีครับ คุณ มัทนา

  ยินดีที่ได้รู้จักครับ ผมก็ขั้นที่ 1 นานมาแล้วแต่ก็ครอบฉิ่งด้วยครับ ส่วนใหญ่ผมเน้นเครื่องสายมากกว่า จึงครอบแค่ครั้งเดียวสมัยเรียนมัธยม

มีเพลงอะไรแปลกนำมาแลกเปลี่ยนกันนะครับ แล้วจะขอคำปรึกษา

ครอบฉิ่งกับครูมนตรี ตราโมทค่ะ จำไม่ลืมเลยค่ะ เป็นเกียรติมากๆ

มัทไม่มีโน๊ตมาแลกเพราะเล่นเครื่องตี ต่อเพลงกับครูตลอดเลยค่ะ อ่านโน๊ตไม่เก่งเลย

แต่ก็มาอ่านโน๊ตของคุณ จ๊อด แก้คิดถึง

มัทต้องขอคำปรึกษาคุณจ๊อดมากกว่าค่ะ : ) 

ถ้าแบบนี้ลองหัดเขียนโน๊ตจากการที่ได้จำมาซิครับ ผมอยากจะเล่นเครื่องตีบ้างจังเลย เล่นเป็นแต่ระนาดเอกพอดีได้ ระนาดทุ้มได้ 2 เพลงเหมือนฆ้องวงใหญ่เลย เป็นเพลงแขกบรเทศ นางนาค ครับ ที่เหลือเล่นไม่ได้ครับ เล่นได้แต่ทางกลางๆ โน๊ตทั่วๆไปอะ

แล้วจะนำโน๊ตเพลงต่างๆที่ได้เรียนมา นำมาลงให้อ่านนะครับ สงสัยจะต้องสแกน

สวัสดีค่ะ ดิฉันก็เคยครอบเหมือนกันค่ะ ตั้งแต่ ครอบฉิ่ง- รับมอบเลย นึกถึงบรรยากาศแล้ว ขลังมากๆ อยากมีโอกาสแบบนั้นอีก

หนูเป็นคนขับร้องเล่นฉิ่งได้อย่างเดียว แต่ครูหนูให้หนูครอบครูปี่พาทย์ แบบนี้ผิดไหมค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท