ปรัชญาการศึกษาจากสูเราะห์ อัล-อัศริ


ถ้าทุกคนไม่อยากเป็นผู้ขาดทุนก็ต้องเป็น "ครู" เผยแพร่สัจธรรม

           ในอัลกุรอาน บทที่ 103 ที่มีชื่อว่า สูเราะห์ อัล-อัศริ  (سورة العصر)เป็นบทสั้นๆ มีเพียง 3 อายัต หรือ 3 โองการ อ่านง่าย ท่องง่าย และศึกษาความหมายเข้าใจง่ายด้วย ฉะนั้นสูเราะห์ส่วนใหญ่แล้วจะท่องได้ และบางคนที่จำอัลกุรอานได้ไม่มากนัก มักจะนำสูเราะห์นี้มาอ่านเวลาละหมาด

         ความว่า 1. ขอสาบานด้วยกาลเวลา
                    2. แท้จริงมนุษย์นั้น อยู่ในการขาดทุน 
                    3. นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย และตักเตือนกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม และตักเตือนกันและกันให้มีความอดทน

                อิมามชาฟีอีย์ มีความเห็นว่า ผู้ใดได้ศึกษาสูเราะห์นี้อย่างจริงจัง เพียงพอแล้วสำหรับเขา

                ซัยยิด กุฏุบ ได้กล่าวในหนังสือ “ใต้ร่มเงาอัลกุรอาน”(في ظلال القرآن) ว่า ในสูเราะห์สั้นๆที่มีเพียง 3 อายัตนี้ จะครอบคลุมวิถีชีวิตที่สมบูรณ์สำหรับมนุษย์คนหนึ่งให้เป็นไปตามที่อัลกุรอานต้องการ

                เริ่มแรกของสูเราะห์นี้ อัลลอฮฺได้สามบานกับเวลา وَالْعَصْرِ (วัลอัศริ) เวลาเป็นวินาที เป็นนาที เป็นชั่วโมง เป็นเดือน เป็นปี หรือเป็นยุคสมัย ทุกๆเวลามีความสำคัญ ชีวิตของเราอยู่กับเวลา การหายใจเข้าหายใจออกของเราในแต่ละครั้งนั้นแสดงให้เห็นว่าเวลาของเราไปลดลงไปเรื่อยๆ ท่านนบีได้กล่าว ว่า

 اغتنم خمسا قبل خمس: شبابك قبل هرمك، وصحتك قبل سقمك، وغناك قبل فقرك،
 وفراغك قبل شغلك، وحياتك قبل موتك

ความว่า : “เจ้าจงแย่งชิง 5 อย่างก่อนที่อีก 5 อย่างจะมาถึง คือ ความหนุ่มของเจ้าก่อนความแก่ชราจะมาถึง การมีสุขภาพของเจ้าก่อนที่การเจ็บป่วยจะมาถึง ความร่ำรวยของเจ้าก่อนที่ความยากจนจะมาถึง เวลาอันว่างเปล่าของเจ้าก่อนที่เจ้าจะไม่มี และการมีชีวิตของเจ้าก่อนเจ้าตาย” (รายงานโดยอัลฮากิม จากอิบนุอับบาส)อิบนุอุมัรกล่าวว่า :

 إذا أمسيت فلا تنتظر الصباح ، وإذا أصبحت فلا تنظر المساء
وخذ من صحتك لمرضك ومن حياتك لموتك

ความว่า : เมื่อเจ้าเจอเวลาเย็น เจ้าอย่ารอตอนเช้า และเมื่อเจ้าถึงเวลาเวลาเช้าเจ้าอย่ารอตอนเย็น เจ้าจงแย่งชิงการมีสุขภาพของเจ้าเพื่อการเจ็บป่วยและชีวิตของเจ้าเพื่อความตายของเจ้า

  إِنَّ الْإِنسَانَ لَفِي خُسْرٍ       "แท้จริงมนุษย์นั้นอยู่ในการขาดทุน" 

   เว้นแต่...( إلاَّ )

1.        الَّذِينَ آمَنُوا(ผู้ศรัทธา)

1)      ศรัทธาในอัลลอฮฺ
2)      ศรัทธาในบรรดามะลาอิกะฮฺของพระองค์
3)      ศรัทธาในคัมภีร์ของพระองค์
4)      ศรัทธาในศาสนฑูต(รอซูล)ของพระองค์
5)      ศรัทธาในวันกิยามัต(วันสิ้นโลก)
6)      ศรัทธาในกฎสภาวะของพระองค์

          นับเป็นสิ่งแรกและสิ่งหลักที่จะกำหนดแนวทางการปฏิบัติของบุคคล ดังที่อัลลอฮฺได้กล่าวในอายัตหนึ่งว่า

 إِنَّ اللّهَ لاَ يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُواْ مَا بأنفسهم [الرعد : 11]

           ความว่า :  แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่เปลี่ยนแปลงวาสนาของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนอกจากพวกเขาได้เปลี่ยนแปลงภายใน(จิต)ของพวกเขาเอง (สูเราะห์ อัร-รออฺดุ อายัตที่ 11)

           วิลเลียม พิลเลย์ ได้กล่าวว่า “จงเปลี่ยนความคิดของคุณแล้วโลกของคุณก็จะเปลี่ยนแปลง”หรือเราอาจกล่าวในอีกนัยหนึ่ง คือการเปลี่ยนเจตคติ(Attitude) พฤติกรรมของมนุษย์ที่จะแสดงออกหรือไม่แสดงอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเจตตคติของเขาที่มีต่อสิ่งนั้น

2.       وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ (และผู้ที่ทำความดี)

1)      ปฏิบัติตามหลักศาสนบัญญัติครบสมบูรณ์ เช่น ละหมาด ถือศีลอด ทำฮัจญ์ เป็นต้น
2)      ทำความดีตามที่สังคมได้กำหนด
3)      ทำความดีตามที่กฎหมายบ้านเมืองได้บัญญัติทั้งนี้และทั้งนั้นทั้งที่เป็นความดีที่สังคมกำหนด ต้องไม่ขัดกับกรอบที่ศาสนาวางไว้นักการศึกษาหรือครู หรือผู้ปกครอง จะเป็นพ่อ แม่ หรือเกี่ยวข้องกับเด็กจะในลักษณะใดก็ตาม ที่มีหน้าที่ต้องสังสอนเด็กนั้น สิ่งแรกที่เขาจะต้องทำ คือ เขาต้องปฎิบัติก่อน ต้องเป็นแบบอย่าง(Mode) ที่ดี อัลลลอฮฺได้กล่าวในสูเราะห์ อัศ-ศอฟ อายัตที่ 2 และ 3 ว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا لِمَ تَقُولُونَ مَا لَا تَفْعَلُونَ [الصف : 2]
         ความว่า : โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ทำไมเจ้าพูดในสิ่งที่เจ้าไม่ทำ (อัศ-ศอฟ : 2)
كَبُرَ مَقْتاً عِندَ اللَّهِ أَن تَقُولُوا مَا لَا تَفْعَلُونَ [الصف : 3]
ความว่า : บาปใหญ่ ณ ที่ของอัลลอฮฺนั้น คือ การที่พวกเจ้าพูดในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ทำ

 3.       وَتَوَاصَوْا بِالْحَقِّ และผู้ตักเตือนกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม

          บางครั้งเราจะให้คำนิยามของมนุษย์ คือ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จริงๆแล้วมนุษย์ไม่ใช่สัตว์ แต่มีพฤติกรรมอบางอย่างเหมือนสัตว์หรือคล้ายสัตว์ และใช้ชีวิตแบบต้องพึงพาสังคม และการที่จะให้อยู่ในสังคมอย่างสันติสุขนั้น จำเป็นจะต้องมีข้อตกลงกัน และข้อตกลงนี้ บางทีเราเรียกว่า ขนบธรรมเนียมประเพณี บางครั้งเราเรียกว่ากฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบที่ใช้บังคับกันในหมู่ของสังคมนั้นๆ ซึ่งข้อตกลงนี้เกิดขึ้นด้วยประสบการณ์ของมนุษย์เองแล้วมาขีดเขียนเป็นข้อตกลงกัน บางครั้งทำให้จำเป็นที่จะต้องฉีกแล้วทำไม เพราะความสมบูรณ์ในตัวมันไม่มี อันเนื่องมาจากความอ่อนแอของมนุษย์
وَخُلِقَ الْإِنْسَانُ ضَعِيفًا
ความว่า : และมนุษย์นั้นถูกบังเกิดขึ้นในสภาพที่อ่อนแอ
(สูเราะห์ อัน-นิซาอฺ อายัตที่ 27)

<p align="left">       หรือแม้จะเรียนหนังสือถึงขั้นสูงเพียงใดก็ไม่สามารถเป็นผู้รอบรู้ทุกอย่างได้</p><p align="center">وَمَا أُوتِيتُمْ مِنَ الْعِلْمِ إِلَّا قَلِيلاً
ความว่า : และพวกท่าน(มนุษย์)จะไม่ได้รับความรู้ใดๆ เว้นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น (สูเราะห์ อัล-อิสรออฺ อายัตที่ 85)
               แต่สำหรับมุสลิมหรือผู้ศรัทธาแล้ว ข้อตกลงต่างๆในลักษณะนี้ มีไว้ให้เรียบร้อยแล้ว และมีอย่างสมบูรณ์</p><p align="center"> الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا
ความว่า : วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว
(สูเราะห์ อัล-มาอิดะฮฺ อายัตที่ 3)
</p><p align="left">             ศาสนาในที่นี้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจเท่านั้น แต่เป็นวิถีชีวิต ฉะนั้นในการที่จะให้สังคมอยู่เย็นอย่างสันติสุขนั้น นอกจากจะต้องนำบทบัญญัติศาสนามาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้ว ทุกคนก็จะต้องบอกต่อๆ เพื่อให้ทุกคนได้ปฎิบัติการดี وتواصوا بالحق  (บอกต่อๆในสิ่งที่เป็นสัจธรรม) ครู หรือนักการศึกษา (รวมถึงพ่อแม่) มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้อง บอกต่อๆ หรือตักเตือน หรือสอนลูกหลานหรือผู้ที่มีตัวเองจะต้องดูแล ในการทำดีและความรู้ที่เป็นความจริง จึงจะไม่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ขาดทุน</p><p align="center">   4. وَتَوَاصَوْا بِالصَّبْر (และตักเตือนกันและกันให้มีความอดทน)</p><p align="center">               ในการตักเตือนหรือการบอกต่อๆกันให้กระทำความดี หรือเผยแพร่สัจธรรมนั้น จะไม่ประสบความสำเร็จทุกครั้ง บางครั้งอาจจะต้องพบกับการต่อต้านด้วยวิธีการต่างๆ นานา</p><p align="center"> أَحَسِبَ النَّاسُ أَنْ يُتْرَكُوا أَنْ يَقُولُوا آمَنَّا وَهُمْ لَا يُفْتَنُون وَلَقَدْ فَتَنَّا الَّذِينَ مِنْ قَبْلِهِمْ فَلَيَعْلَمَنَّ
 اللَّهُ الَّذِينَ صَدَقُوا وَلَيَعْلَمَنَّ الْكَاذِبِينََ
ความว่า : มนุษย์คิดหรือว่า พวกเขาจะถูกทอดทิ้งเพียงแต่พวกเขากล่าวว่าเราศรัทธา และพวกเขาจะไม่ถูกทดสอบ กระนั้นหรือ ? และโดยแน่นอน เราได้ทดสอบบรรดาก่อนหน้าพวกเขาแล้ว ดังนั้นอัลลอฮ์จะทรงจำแนกให้รู้แจ้งถึงบรรดาผู้สัตว์จริงและจะทรงจำแนกให้รู้แจ้งถึงบรรดาผู้กล่าวเท็จ
(สูเราะห์ อัล-อันกะบูต อายัตที่ 2-3)</p><p align="center">           ครูหรือนักการศึกษา(المربي) ในชีวติการเป็นครูจะต้องประสบกับการทดสอบต่างๆ นานา บางครั้งไม่ใช่ขาดการสนับสนุนเท่านั้น อาจจะเจอการต่อต้านจากผู้ไม่รู้ไม่ให้ครูดำเนินตามอุดมการณ์ที่ได้วางไว้ นอกจากนั้น ในการเรียนการสอนครูจะต้องใช้ความอดทน อดกลั้นพอสมควร ครูจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อให้สามารถนำศาสน์ที่ตัวเองมีสู่ถึงแก่ผู้เรียนให้ได้ ครูจะต้องอดทนศึกษาอย่างต่อเนื่องทั้งในวิชาการที่ตัวเองสอนอยู่ และในเรื่องจิตวิทยาการเรียนการสอน ในตรงกันข้ามถ้าครูไม่อดทน อ่อนไหวง่าย ท้อแท้ อุดมการณ์ของครูก็ไม่สามารถบรรลุสู่จุดสำเร็จได้ ศาสน์ที่ครูมีอยู่ก็ไม่สามารถเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้ สุดท้ายสัจธรรมหรือความจริงก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ ครูก็จะเป็นผู้แพ้และผู้ขาดทุนอย่างที่อัลลอฮฺกล่าวถึง</p><p align="center"> وَقَالَ الَّذِينَ أُوتُوا الْعِلْمَ وَيْلَكُمْ ثَوَابُ اللَّهِ خَيْرٌ لِمَنْ آمَنَ وَعَمِلَ صَالِحًا وَلَا يُلَقَّاهَا إِلَّا الصَّابِرُونَ </p><p align="left">         ความว่า : และบรรดาผู้ได้รับความรู้(*1) กล่าวว่า ความวิบัติแด่พวกท่าน ! ผลบุญแห่งอัลลอฮ์นั้นดีกว่าแก่ผู้ศรัทธาและกระทำความดีและไม่มีผู้ใดได้รับมันนอกจากบรรดาผู้อดทนเท่านั้น” (2*) </p><blockquote><p align="left">(1)  คือผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ความเข้าใจ และยึดมั่นในแนวทางที่ถูกต้องและเที่ยงธรรม
(2)  คือตำแหน่งนี้หรือการตอบแทนนี้ จะไม่มีใครได้รับปรโลก นอกจากบรรดาผู้อดทนปฏิบัติตามพระบัญชาของอัลลอฮ์</p></blockquote>

หมายเลขบันทึก: 91115เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2007 07:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ดีแล้วช่วยกันบอกสังคมจะมีสุข ขอให้อัลลอฮฺตอบแทนด้วยเถิด

ขอพระองค์อัลลอฮ์ทรงเมตตาพี่น้องมุสลิมที่เผยแพร่ความรู้ด้านศาสนา

ขอพระองค์อัลลอฮ์ทรงเมตตาพี่น้องมุสลิมที่เผยแพร่ความรู้ด้านศาสนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท