ทำไมชาวบ้านจึงอยากเลี้ยงวัวงาม


ทำไมวัวงามถึงเป็นที่หมายปองและต้องตาคนเลี้ยงวัวมากมายเหลือเกินในระยะ 20 ปีมานี้ ทั้ง ๆ ที่รัฐก็ไม่ค่อยให้การสนับสนุน แต่วงการวัวงามก็ยังได้รับความนิยม ชาวบ้านแห่กันเลี้ยง บางรายก็ขาดทุนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว ซึ่งมีข่าวคราวให้เห็นกันบ่อย

           ในวันที่อบรมเกษตรกรจากตำบลเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม แล้วมีเกษตรท่านหนึ่งตั้งคำถามที่สะดุดใจเป็นพิเศษว่า "ผมอยากเลี้ยงวัวงามพันธุ์หูยาว  แต่เวลาไปอบรมกับหน่วยงานของรัฐทำไมไม่ค่อยส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ชาวบ้านเลี้ยงกันเยอะ ๆ วัวก็สวยงาม ราคาก็ดี มีประกวดตั้งมากมาย  ผมจะเลี้ยงจะผิดไหมครับ"

        ยอมรับค่ะ ว่าเป็นคำถามที่หาคำตอบให้ถูกใจคนถามยากสักนิด

        ก็พยายามตอบแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ขุ่นกับชาวโคบาลหลายๆท่านที่ชอบต่างกันว่า

        "เลี้ยงวัวพันธุ์อะไรก็ได้ที่ใจชอบและเหมาะกับตัวเอง เหมาะกับทุน เหมาะกับทรัพยากรที่มี  เพราะวัวแต่ละพันธุ์มีความยากง่ายในการเลี้ยงดูแตกต่างกัน รวมทั้งมีวัตถุประสงค์ในการเลี้ยงแตกต่างกันด้วย  บางท่านมีทุนเยอะก็เลี้ยงไว้ดูเล่นก็ไม่เสียหาย  แต่ถ้าคนเลี้ยงมีทุนน้อยก็ยังไม่เหมาะเพราะอาจจะหมดตัวได้ถ้าจัดการไม่ดี"

        จากคำถามดังกล่าว  ทำให้คิดได้ว่า จริงแล้วชาวบ้านชอบเลี้ยงวัวตามกระแส แต่ไม่มีความรู้ที่แท้จริง เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้

       ซึ่งจริง ๆ แล้ว  หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งสริมการเลี้ยงโคที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักกันก็คือ กรมปศุสัตว์นั้นก็ไม่ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงวัวงามกันมากนักเนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงสูง  แต่ก็ไม่ห้ามสำหรับคนมีกะตังค์มาก ๆ  เพราะกรมปศุสัตว์จะมีนโยบายส่งเสริมให้เลี้ยงพันธุ์พื้นเมืองที่เลี้ยง่ายขายคล่องและพันธุ์ลูกผสมที่ให้เปอร์เซ็นต์ซากสูง ๆ เช่น ลูกผสมบราห์มัน ลูกผสมชาโรเลล์  พันธุ์กำแพงแสน พันธุ์ตาก มากกว่า อีกทั้งวังงามหูยาวพันธุ์ฮินดูบราซิลนั้นโครงสร้างใหญ่อัตราแลกเนื้อน้อย  เวลาขายเป็นโคเนื้อจะไม่คุ้มทุน   

         แล้วทำไมวัวงามถึงเป็นที่หมายปองและต้องตาคนเลี้ยงวัวมากมายเหลือเกินในระยะ 20 ปีมานี้ ทั้ง ๆ ที่รัฐก็ไม่ค่อยให้การสนับสนุน  แต่วงการวัวงามก็ยังได้รับความนิยม ชาวบ้านแห่กันเลี้ยง บางรายก็ขาดทุนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว ซึ่งมีข่าวคราวให้เห็นกันบ่อย

        เกษตรกรบางรายผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงโคมามากมาย  แต่เหตุใดเกษตรกรเจ็บแล้วไม่จำ ไม่ว่าเชื่อการอบรม ไม่เชื่อการสอนทางวิชาการ ไม่เชื่อหน่วยงานของรัฐหรือกรมปศุสัตว์เอาเสียเลย

       เป็นไปได้หรือไม่ว่าหน่วยงานของรัฐ  ส่งเสริมไม่เต็มที่ เจ้าหน้าไม่เพียงพอ การติดตามประเมินผลไม่จริงจังและต่อเนื่องทั้งตัวบุคคลและงบประมาณ  หรือทำงานแค่ผ่านๆ หรือแต่ละกรมกองที่เกี่ยวข้อง ต่างคนต่างทำ ไม่เหลียวหลังแลหน้า ไม่เห็นเขาเห็นเรา เห็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์ในการให้ความรู้ความช่วยเหลือที่ถูกต้องแก่เกษตรกร

       ไปได้หรือไม่ว่า เกษตรกรหรือชาวบ้านไม่มีความรู้ ไม่มีโอกาสเข้าถึงความรู้ ไม่มีใครมาให้ความรู้ หรือให้ความรู้ผิด ๆ จึงถูกหลอกเอาง่าย ๆ

       แต่ที่แน่ ๆ และเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนในความนิยมและความคงอยู่ของวัวงามนั้นคือ 

       -    การโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่เป็นระบบ และประชิดตัวเกษตรกรด้วยการเดินสายจัดประกวด ปั่นราคายั่วกิเลสให้คนอยากเลี้ยง

       -    มีต้นทุนสูง ทั้งทุนที่เป็นทรัพยากรและที่เป็นตัวเงิน (รวย)

       -    ทุนทางสังคม (คนเด่น คนดัง นักการเมือง) ทำให้ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือ

      ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับวิธีการส่งเสริมหรือโปรโมตของหน่วยงานรัฐที่ติดอยู่กับระบบระเบียบมากมายก่ายกอง จะทำอะไรก็ติดขัดด้วยกำลังคน กำลังงบประมาณและกำลังใจที่ไม่ค่อยเต็มร้อย  ส่งผลให้ชาวบ้านไม่เชื่อถือและไม่ทำตาม การส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อตามนโยบายของรัฐจึงกลายเป็นเรื่องยากไปทันที

หมายเลขบันทึก: 90858เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2007 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เจ็บนี้อีกนาน.........เจ็บแล้วไม่จำ........ เจ็บแล้วขี้ลืม..?  ฮ่า  ฮ่า  ฮ่า

ก็คนมันรัก   ทำยังไงก็รัก   คนมันไม่รัก   ยะจาใดก็บ่ฮักเน้อ    ฮือ  ฮื๋อ  ฮือ

ผมอ่านข้อความคุณมาหลายปี ผมอยากบอกคุณว่าคุณคิดผิด ถ้าจะลงหน้าจะไปศึกษาวัวฮินดูให้ดีกว่านี้ดีกว่าจะมาพูดมั่วๆ

 

ไม่รู้จะยังอยู่มั้ย กระแสเก่าแต่เอามาทำใหม่ บรามั่นเลือดร้อยมาแล้วสวยงามตามท้องเรื่องไปแล้ว บรามั่นแดงเลือดร้อยมาแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท