เว่ยหลาง.."พระสังฆปรินายกองค์ที่ 6 "


"ลัทธิพุทธศาสนาที่อยู่นอกประไตรปิฎก"

 

 

วันนี้ได้ตอบคำถามพี่เม้ง "เรื่องสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางกาย". เลยคิดได้ว่าจะต้องมาเขียนถึงเรื่องนี้ซักหน่อย พอให้ได้เป็นความรู้ สำหรับคนที่ไม่รู้ และเป็นการย้ำเตือนสำหรับคนที่รู้อยู่แล้ว เรื่องก็มีว่าอย่างนี้.....

วันหนึ่งพระสังฆปริยายกองค์ที่ 5 ได้เรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด แล้วกล่าวกับศิษย์ผู้ใดเข้าใจถึง "จิตเดิมแท้" ให้เขียนโศลกมา ๑ โศลก ผู้ใดเข้าใจได้ถูกต้อง ว่าจิตเดิมแท้นั้นเป็นอย่างไร ผู้นั้นจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัตร์ (อันเป็นเครื่องหมายพระสังฆปรินายก)

ชินเชา ผู้เป็นศิษย์เอกก็ได้เขียนไว้ที่ฝาผนังกำแพงว่า  

"กายของเราคือต้นโพธิ์ ใจของเราคือกระจกอันเงาใส

เราเช็ดมันทุกๆ ชั่วโมงและไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ"   

เมื่อชินเชาเขียได้อย่างนี้ศิษย์คนอื่นก็ไม่กล้าเขียนอีกเลย แล้วก็มีศิษย์มามุงดูกันเต็มไปหมด มีศิษย์อยู่คนนึงอ่านหนังสือไม่ออก ทำหน้าที่ตำข้าว ได้ให้เสมียนประจำตำบลคนหนึ่งซึ่งมาอยู่อ่านอยู่ด้วยอ่านให้ฟัง แล้วศิษย์คนนั้นได้บอกว่า เขาก็ได้แต่งไว้ประโยคหนึ่งเหมือนกัน ให้เสมียนช่วยเขียนให้ โศลกมีว่า:-

"ไม่มีต้นโพธิ์ ทั้งไม่มีกระจกอันใสสะอาด

เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว ฝุ่นจะลงจับได้อย่างไร"

หนังสือเล่มนี้น่าสนใจจะเป็นประวัติของพระสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ฮุ้ยเน้ง ที่ท่านพุธทาส แปลไว้ตั้งแต่ปี 2496 ใครสนใจลองหาดู ของผมนี่ที่มีไม่แน่ใจว่าพิมพ์ครั้งที่เท่าใดแต่ปี 2521  เรื่องราวเกี่ยวกับคำสอนนี้ยังมีปรากฏแฝงไว้ในหนังสือที่โกวเล้งได้แต่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ฤทธิ์มีดสั้น ดาบจอมภพ เหยี่ยวเดือนเก้า จอบดาบหิมะแดง ผ่านตัวละครสามตัว ลี้คิมฮวง เอี๊ยบไค และ โป้วอั้งเสาะ

คำสำคัญ (Tags): #เว่ยหลาง
หมายเลขบันทึก: 90851เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2007 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"กายของเราคือต้นโพธิ์ ใจของเราคือกระจกอันเงาใส

เราเช็ดมันทุกๆ ชั่วโมงและไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ"

"ไม่มีต้นโพธิ์ ทั้งไม่มีกระจกอันใสสะอาด

เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว ฝุ่นจะลงจับได้อย่างไร"

  • มันช่างงามกระไรเยี่ยงนี้
  • นับถือ ๆ
  • ขอบคุณน้องวิลเลี่ยมมากครับ

Dream Farm and Sir. Paul McCartney

แวะเข้ามาเยี่ยมอย่างเป็นทางการ... อันที่จริงก็เคยผ่านมาบ้างแล้ว...

เว่ยหลาง ฉบับแปลของท่านพุทธทาสเคยอ่านนานแล้ว อีกเล่มก็คือ ฮวงโป ... ก็คงจะเกือบๆ ๒๐ ปีก่อนโน้นแหละ...

แนวคิดกลุ่มนี้อยู่ใน ปรัชญาโยคาจาร (เรียกอีกอย่างว่า วิชญาณวาท) และ ปรัชญามาธยามิกะ (เรียกอีกอย่างว่า ศูนยตาวาท) ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้เป็นแนวคิดหนึ่งของพุทธปรัชญาฝ่ายมหายาน...

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท