ประเพณีกินผักกินเจ ประจำจังหวัดภูเก็ต


ประเพณีถือศีลกินผัก (เจียะฉ่าย) จังหวัดภูเก็ตนั้นเริ่มครั้งแรกที่อำเภอกะทู้ ในปี พ.ศ. 2368 พระยาถลาง (เจิม)

ประเพณีถือศีลกินผัก (เจียะฉ่าย) จังหวัดภูเก็ตนั้นเริ่มครั้งแรกที่อำเภอกะทู้ ในปี พ.ศ. 2368 พระยาถลาง (เจิม) ได้ย้ายเมืองถลาง มาตั้งที่บ้านเก็ตโฮ่ ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ดีบุก แต่บริเวณดังกล่าว เป็นป่าทึบมีไข้ป่าชุกชุม ดังนั้นเมื่อมีคณะงิ้วเร่ (ปั่วฮี่) จากเมืองจีนมาเปิดการแสดง และเกิดล้มเจ็บลง คณะงิ้ว จึงได้ประกอบพิธีกินผักขึ้น เพื่อบวงสรวงเทพเจ้า “ กิ๋วอ๋องไต่เต่ ” และ “ ยกอ๋องซ่งเต่ ” หลังจากนั้นปรากฏว่า โรคภัยไข้เจ็บ ได้หมดไปชาวกะทู้สอบถามได้ความ เช่นนั้นก็เกิดศรัทธา จึงประกอบพิธีกินผักขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 รวม 9 วัน 9 คืน เพื่อความ เป็นมงคลแก่ตนเอง และบ้านเมือง ต่อมามีผู้รู้รับอาสา ไปอัญเชิญเหี่ยวโห้ย หรือ เหี่ยวเอี้ยน (ควันธูป) และเลี่ยนตุ่ย (ป้ายชื่อ) พร้อมทั้งคัมภีร์ต่างๆ ที่ใช้ในพิธีกินผัก ที่มณฑลกังไส ประเทศจีน และได้เดินทางกลับมาถึงใน วันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 9 เมื่อชาวบ้านทราบข่าว จึงได้จัดขบวนไปรับ ที่บ้านบางเหนียว อันเป็นกำเนิดของพิธีรับพระนั่นเอง

ในพิธีกินผักนั้น ช่วงบ่ายก่อนวันพิธีหนึ่งวัน จะมีพิธียกเสาโกเต้ง ไว้หน้าศาลเจ้า เพื่อประกอบพิธีอัญเชิญเจ้า “ ยกอ๋องซ่งเต่ ” (พระอิศวร) และ “ กิ๋วอ๋องไต่เต่ ” (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า) มาเป็นประธานในพิธี และจะนำตะเกียง 9 ดวง ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ ของการเริ่มพิธี ไว้บนเสาโกเต้งเวลาเที่ยงคืน นอกจากนี้ตลอด 9 วันของพิธีกินผัก จะมีพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีอัญเชิญลำเต้า - ปักเต้า (เทวดาผู้กำหนดเวลา เกิด และ ตาย) พิธีอิ้วเก้ง (พิธีแห่พระ) พิธีอาบน้ำมัน ขึ้นบันไดมีด พิธีโก้ยโห้ย (ลุยไฟ) พิธีโก้ยห่าน (สะเดาะเคราะห์) ตลอดจนการทรงพระ ซึ่งเป็นการอัญเชิญเจ้า มาประทับในร่าง ของม้าทรง และแสดงอิทธิฤทธิ์ ด้วยการทรมานร่างกาย ในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อรับทุกข์ แทนผู้ถือศีลกินผัก และเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่บ้านเมืองกล่าวกันว่า ผู้ที่จะเป็นม้าทรงได้ มีอยู่ด้วยกัน 2 กรณี คือ

  1. ผู้ที่ชะตาขาดแต่ยังไม่ถึงฆาต ดังนั้นการเป็นม้าทรงจึงเปรียบเสมือนการต่ออายุขัย
  2. ผู้ที่พระเห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากประพฤติตัวอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม

ในระหว่างเทศกาล จะมีการประโคมด้วยกลองล่อโก๊ะ และจุดประทัด โดยเฉพาะในวันส่งพระ ซึ่งถือเป็นวันสิ้นสุดของ พิธีกินผัก ด้วยความเชื่อว่าเสียงดัง จะทำให้สิ่งชั่วร้ายหมดไป สำหรับผู้เข้าร่วมพิธีกินผักนั้น นอกจากจะได้รับผลบุญ และความเป็นสิริมงคล แก่ตนเองแล้ว ยังทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง จิตใจมีเมตตา ไม่ฆ่าสัตว์ ละเว้นอบายมุขทั้งปวง อันก่อให้เกิดความสะอาด สว่างสงบในจิตใจ

คำสำคัญ (Tags): #กินเจ
หมายเลขบันทึก: 90029เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2007 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

          วันนี้สวัสดีรอบที่เท่าไรก็ไม่รู้ ทำไมขยันเขียนบล๊อกจังค่ะเนี่ย  ราณีเคยไปงานเทศกาลกินเจที่ภูเก็ต ค่ะ เพราะบ้านพี่ชายอยู่ที่นั่น (ลูกพี่ลูกน้องกันค่ะ) เขาจัดได้ยิ่งใหญ่ มาก ๆๆ แต่ไปมานานแล้วค่ะสิบกว่าปีแล้ว ยังจำภาพได้ติดตาเลยค่ะเพราะไปดูขบวนแห่มาด้วย

สวัสดีเรื่อยๆครับ ผมจะเน้นนำเสนอเรื่องเทพเจ้ากับประเพณีท้องถิ่น ต้องการให้ทุกคนรู้ข้อมูลที่ถูกต้องจะได้ไม่ไปหลงผิดหรือเชื่องมงายครับ

มีโอกาสมาอีกซิครับ ดีมากเลยครับ ผมนะครับกินเจล่วงหน้าก่อนเทศกาลตั้ง 1 เดือน แต่มีอีกหลายคนที่กินเจตลอดชีวิต

ราณีกินมังสวิรัติ พอเทศกาลกินเจ สบายเลยค่ะ หากินง่ายมาก ๆ พี่ชายก็โทรมาชวนเรื่อยค่ะ ขนาดจะส่งตั๋วมาให้พ่อแม่และครอบครัวเลยนะค่ะ แต่ต้องทำงานค่ะไปบ่อย ๆ ไม่ได้หรอกค่ะ อยากไปแต่ไปไม่ได้ รอให้อะไรๆมันลงตัวกว่านี้ก่อนค่ะ
ดิฉันและครอบครัวชอบทานผัก โดยไม่ยึดพิธีกรรมหรือเทศกาล กินให้สุขภาพดีค่ะ
P
ดีครับ ทานผักเยอะ ๆ สุขภาพแข็งแรง 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท