ดวงแก้ว 3 กวง


รวมพลคนกรุงเก่า
เรื่องของพระท่าน ๑. พระรัตนตรัย  พระรัตนตรัย หมายถึง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรือแก้วสามดวง ซึ่งมีความหมายดังนี้(1) พระพุทธ หมายถึง องค์พระพุทธเจ้าผู้ให้กำเนิดศาสนาพุทธอันเป็นศาสนาที่มีความนับถือมากที่สุดในโลก (ทั้งลัทธิหินยานและมหายาน) วันสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ได้แก่ วันเกิด วันตรัสรู้ วันปรินิพพาน (ตาย) วันนี้เรียกว่า วันวิสาขบูชา มีมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่(2) พระธรรม หมายถึง คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า พระธรรมบัญญัติ และพระวินัยบัญญัติ หรือ เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นพื้นฐานสำคัญของคำสั่งสอน วันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนสาม เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเทศนาสั่งสอนสาวกที่มาประชุมโดยไม่นัดแนะกัน 1,250 รูปรวมกับที่เฝ้าอยู่กับพระพุทธเจ้าอีก 141 รูป คำสอนนั้น คือ หัวใจของพระธรรม คำสอนทั้งหมด เรียนว่าพระไตรปฏิโมกข์ วันนี้ เรียกว่า มาฆะบูชา มีมาแต่พุทธกาล(3) พระสงฆ์ พระสงฆ์ คือ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรม พระวินัย แล้วนำไปสั่งสอนผู้อื่นพระสงฆ์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติดีประพฤติชอบถือเอาวันที่มีสาวกเกิดวันแรกคือ พระอัญญาโกณธัญญะ ตรงกับวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนแปด เรียกว่า                   วันอาสาฬหบูชา  ประกาศให้ถือเป็นวันสำคัญในรัฐบาลของจอมพลสฤษธนะรัช ข้อสังเกต            1. วันเกิดพุทธสาสนา เมื่อก่อน 80 ปี แห่งพุทธกาล            2. วันเกิดพระธรรมเมื่อสิบห้าค่ำเดือนหก หลังพุทธกาลเป็นเวลาเก้าเดือน            3. วันมีพระสงฆ์ เมื่อขึ้นสิบห้าค่ำเดือนแปด หลังพุทธกาลเป็นเวลาสองเดือน            ดังนั้นเราจึงใช้ธูป เทียน ดอกไม้ ไปบูชาพระเมื่อไปทำบุญที่วัดหรือบูชาพระที่บ้า มีความหมายดังนี้                        (1) ธูป 3 ดอก หมายถึง นำไปบูชาพระคุณพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระปัญญาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระกรุณาธิคุณ                        (2) เทียน 2 เล่ม หมายถึง หมายถึง นำไปบูชาคุณพระธรรมคุณ            เทียนเล่มที่ 1 นำไปบูชา พระธรรมอันเป็นคำสอนที่ง่ายไม่ลึกซึ้ง ขั้นธรรมดาเรียกว่า โลกกิยธรรม            เทียนเล่มที่ 2 นำไปบูชาพระธรรมอันเป็นคำสอนชั้นสูงขั้นปรมัตถ์ เรียกว่า โลกุตยธรรม                        (3) ดอกไม้ หมายถึง การบูชาพระสงฆ์ ผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบอยู่ในอริยาวัตรอันงดงาม เรียบร้อย ดุจได้ดั่งดอกไม้ที่จัดไว้และนำมาถวายด้วยความเป็นระเบียบสวยงาม            ๒. ลุมพินีสถาน                        ลุมพินีสถาน คือ สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในสี่แห่ง ของสังเวชนียสถาน อันเป็นปูชนียสถานที่ควรนมัสการ อยู่ที่ประเทศเนปาล ประเทศที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย มีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศ มิใช่สวนลุมพินี ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อน เป็นปอดเมืองของกรุงเทพมหานครหนึ่งในอีกหลาย ๆ แห่งที่มีอยู่ในกรุงเทพมหานคร                        ลุมพินีสถาน เป็นสถานที่ประสูติของพระสิตธัตถกุมาร(พระพุทธเจ้า)อยู่ในนครกบิลพัสด์เดิม ปัจจุบันเรียกว่าแคว้นทาไร ห่างจากกรุงกาฐมัณฑุ นครหลวงของราชอาณาจักรเนปาล ประมาณ 150 กิโลเมตร อยู่บนที่ราบสูงประมาณ 800 เมตร วัดระดับจากน้ำทะเลอยู่ทางทิศตะวันตก จดประเทศสาธารณรัฐอินเดีย ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดียประมาณ 10 กิโลเมตร พระเจ้าอโศกมหาราชได้เป็นผู้ไปกำหนดจุดประสูติไว้ภายหลัง เมื่อพุทธกาลล่วงไปแล้วประมาณ 300 ปี เศษ โดยทำเป็นหลักศิลา หรือหลักหินศิลาปักไว้ ดังปรากฏอยู่ขณะนี้                        ประเทศเนปาลมีการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ เป็นประเทศที่กำลังพัฒนาคมนาคมไม่ค่อยสะดวก แต่มีดีอยู่ก็คือยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกคือ ยอดเจาเอฟเวอร์เรสฎ ทางราชการเนปาลได้จัดเครื่องบินให้สำหรับนักท่องเที่ยวขึ้นชมทัศนียภาพ ของยอดเขาต่าง ๆ ในเทือกเขาหิมาลัยนี้                        ลุมพินีสถาน อันเป็นดินแดนแห่งความศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา รัฐบาลประเทศเนปาล ได้แบ่งออก 3 โซน(ส่วน) ในเนื้อที่ 2,500 ไร่                        ส่วนที่ 1 เป็นเขตแห่งดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาต่าง ๆ โดยเฉพาะพุทธศาสนามีอาณาบริเวณให้ปรากฏ สำหรับเคารพนมัสการของชาวพุทธ คือ หลักศิลา หรือหลักหิน กำหนดที่ประสูติไว้ชัดเจน มีศาสนสถานของพระเจ้าสิตธัตถกุมาร และพลับเพลา(ศาลา) ประทับสำหรับพระนางศิริมหามายาเทวี อยู่ห่างจากนครกบิลพัสต์    ประมาณ 10 กิโลเมตร (หินศิลาที่ปักจุดประสูตินี้ไม่แน่ใจว่าปักตรงจุดที่ประสูติหรือไม่เพราะผู้สั่งให้ปักไว้มิใช่คนรุ่นเดียวกับนครกบิลพัศต์ หากแต่ไม่ปักไว้เมื่อพุทธกาลล่วงไปแล้ว 300 ปีเศษ แต่อย่างไรแม้ไม่ตรงจุดนักก็ถือว่าใกล้เคียงที่สุด เพราะตามที่ผู้ไปมากับอ่านในหนังสือตามรอยพระบาทพระศาสดาได้กันบริเวณไว้พอสมควรก็คือเอาบริเวณทั้งหมดคือจุดประสูติก็สบายใจได้ว่าต้องเป็นที่ประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่ ผู้เขียน)                        (2) อาณาเขตบริเวณ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ปรากฏอยู่ถึงศิลปวัฒนธรรมความเป็นมาของชาติ ควรสงวนไว้ หรืออนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้พบเห็นและศึกษาค้นคว้า ถึงศิลปวัฒนธรรม และแสดงถึงความรุ่งเรืองในอดีต ไว้ให้เป็นสมบัติของชาติต่อไป                                                  (3) บริเวณที่ว่างเปล่า เปิดให้เช่าปลูกสร้างอาคารที่พักสำหรับผู้มาเที่ยวได้พักสำหรับแต่ละศาสนาและตามศิลปะของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่นับถือพุทธศาสนา มีประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยศรีลังกา สาธารณรัฐสังคมนิยมเมียนม่าร์(พม่า) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ราชอาณาจักรญี่ปุ่น ราชอาณาจักรกัมพูชา ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ประเทศสาธารณรัฐไต้หวัน ธิเบต และฮ่องกง เวียดนาม อินโดนีเชีย สิงคโปร์ มาเลเชีย (3 ประเทศโดยประชาชนที่นับถือ พุทธศาสนา) มาสร้างอาคารไว้ตามศิลปะของประเทศตน สำหรับราชอาณาจักรไทยได้เช่าที่ส่วนหนึ่งเป็นวัดมีทั้งพุทธาวาส และสังฆวาส คือมีทั้งอุโบสถ์ และกุฏิที่พักอาศัยของพระภิกษุ และโรงธรรม(ศาล) สำหรับปกติพระใช้ประกอบกิจทางศาสนา และส่วนหนึ่งเป็นที่พักสำหรับคนไทย เพราะขณะเขียนนี้ประเทศเนปาลไม่มีโรงแรมจัดไว้ ถึงมีก็อยู่ที่นครกาฐมัณฑุห่างไกล 150 กิโลเมตร ถนนหนทางยังไม่สะดวกในการใช้กับรถยนต์             ๓. สมณศักดิ์สำหรับพระภิกษุ                        สมณศักดิ์สำหรับพระภิกษุขอทำความเข้าใจกับผู้อ่านว่าเป็นสมณศักดิ์สำหรับพระภิกษุไทย ที่เขียนนี้เป็นการเขียนฉบับชาวบ้านที่ควรจะได้ทราบพอเข้าใจและโดยสังเขป ไม่ใช่รายละเอียดและลึกซึ้ง ถ้าอยากทราบราบละเอียดโปรดค้นคว้าศึกษาด้วยตนเอง ขอขอบคุณ สมณศักดิ์สำหรับพระภิกษุแบ่ง 2 ประเภท คือ                        1. ประเภทชั้นประทวน คือสมณศักดิ์ที่ได้รับแต่งตั้งจากพระราชาคณะที่ท่านได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นพระราชาคณะ และในใบแต่งตั้งจะบอกว่าท่านสามารถแต่งตั้งพระครูได้กี่องค์ เช่น แต่งตั้งพระครูใบฎีกา พระครูสมุห์ พระปลัด หรือพระครูอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้                         2. ประเภทสัญญาบัตร ประเภทนี้ต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้ง แยกได้ดังนี้                        2.1. พระครูสัญญาบัตร มี 4 ชั้น                                    2.1.1. พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี                                    2.1.2. พระครูสัญญาบัตรชั้นโท                                    2.1.3. พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก                                    2.1.4. พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ                        2.2. พระราชาคณะมี 4 ชั้น                                    2.2.1. พระราชาคณะชั้นสามัญ                                    2.2.2. พระราชาคณะชั้นราช                                    2.2.3. พระราชาคณะชั้นเทพ                                    2.2.4พระราชาคณะชั้นธรรม

           

             2.3.พระราชาคณะชั้นสมเด็จมี 3 ชั้น                                    2.3.1. พระราชาคณะชั้นรองสมเด็จ พระราชาคณะ                                    2.3.2. พระราชาคณะชั้นสมเด็จ                                    2.3.3. สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก            3. พระราชาคณะชั้นสมเด็จ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ                        3.1. พระราชาคณะชั้นสมเด็จ ที่เป็นตำแหน่งประจำ จำต้องมีกล่าวคือพระสมเด็จรูปใดได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้งแล้วมรณภาพตำแหน่งพระสมเด็จนี้คงอยู่ไม่หมดไปตามการมรณภาพของพระสมเด็จนั้น แบ่งออกได้คือ                                     3.1.1. สมเด็จพุฒาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ฝ่ายมหานิกาย                                    3.1.2. สมเด็จพระวันรัตน์ สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ ฝ่ายธรรมยุตินิกาย                        3.2. พระราชาคณะชั้นสมเด็จ ไม่มีประจำหรือไม่ใช่ตำแหน่งประจำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งพระราชาคณะรูปใดเป็นพระราชาคณะสมเด็จก็ได้ตามพระราชอัธยาศัย และเมื่อพระราชาคณะรูปนั้นมรณภาพจะโปรดเกล้าแต่งตั้งหรือไม่ก็เป็นตำแหน่งได้เป็นตำแหน่งเฉพาะตัว เช่น แต่งตั้งสมเด็จพระมหารัชมงคลาจารย์ ในโอกาสพิธีรัชมงคลาพิเศษ เป็นต้น                  4. การแต่งตั้งพระภิกษุ ให้รับสมณศักดิ์ นั้นมี 2 นาย                        4.1. แต่งตั้งโดยทางขึ้น ก็คือมีการเสนอชื่อตามลำดับจากเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาพ ไปถึงคณะกรรมการมหาเถรสมาคม โดยสมเด็จพระสังฆราชให้ความเห็นชอบ                        4.2. แต่งตั้งโดยทางลง เป็นการแต่งตั้งโดยพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยตรงตามพระราชอัธยาศัย เช่น โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระพะยอมเป็นพระพิศาลธรรมวาที หรือโปรดเกล้า แต่งตั้งหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธเป็นพระราชวิทยาคม เป็นต้น            5. พระราชคณะสมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งสูงสุด เป็นอธิบดีสงฆ์ กล่าวคือเป็นใหญ่กว่าพระภิกษุทุกองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระราชาคณะชั้นสมเด็จที่มีคุณสมบัติครบ เหมาะสม การแต่งตั้งสมเด็จนั้น เมื่อรับพระราชทานโปรดเกล้า แล้วเรียกชื่อต่อท้ายไว้                        5.1. ถ้าเป็นพระภิกษุมี่มีฐานันดรศักดิ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป ได้รับพระราชทานโปรดเกล้า สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนะมีคำว่าเจ้า ต่อท้าย เช่น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นต้น                        5.2. ถ้าเป็นพระสมเด็จที่ไม่มีฐานันดรศักดิ์ ก็จะเรียกสมเด็จพระสังฆราชไม่มีคำต่อว่าเจ้า เช่น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เป็นต้น    6. ความเป็นมาของพระสมเด็จพระสังฆราช มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เริ่มด้วยแผ่นดินของพอขุนศรีอินทราทิตย์กล่าวคือในการกำจัดขอมออกจากกรุงสุโขทัยนั้น เป็นการรวมกำลังระหว่างขุนบางกลางหาว (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์)กับขุนยาเมือง เมื่อขับไล่ขอมออกไปได้ ขุนยาเมืองสละสิทธิ์ในการเป็นพระมหากษัตริย์ และขอลาออกบวช พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงรับเป็นโยมอุปฐาก คือปวารณาตนเป็นผู้ให้การอุปการะการจัดการ การอุปสมบทให้ทั้งหมอ เป็นนาคหลวง เมื่ออุปสมบทแล้วจึงมีพระบรมราชโองการประกาศให้ พระภิกษุขุนยาเมืองดำรงสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จ พระสังฆราช เป็นประมุขฝ่ายพุทธจักร นับแต่นั้นมาได้ถือเป็นวัฒนธรรมประเพณีมาจนทุกวันนี้ข้อสังเกต                        ในการที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ รับเป็นโยมอุปฐากจัดการอุปสมบท ตลอดจนประกาศแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ถือเป็นวัฒนธรรมประเพณีแต่พิจารณาในด้านจิตวิทยา นับว่าพระองค์มีหลักจิตวิทยาสูงสามารถรักษาน้ำใจของพ่อขุนยาเมืองตลอดจนพรรคพวกของพ่อขุนยาเมืองให้จงรักภักดีได้ในขณะที่กำลังฟื้นฟูบ้านเมือง กับเป็นการจะได้มิให้พ่อขุนยาเมืองไปห่างตัวให้อยู่ใกล้ชิดจะได้ดูพฤติกรรมทางการเมืองว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไรหรือไม่ ถ้าผิดปกติก็จะได้จัดระงับเหตุได้ทันท่วงที อีกอย่างหนึ่งก็แสดงน้ำใจในการเอื้ออารีต่อเพื่อนซึ่งเคยร่วมมือกันกู้บ้านเมือองให้อยู่อย่างสบายตามอัตภาพเรียกว่า กระทำแบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น ยิงนกครั้งเดียวได้นกสองตัว -ผู้เขียน            ๔. กฎหมายที่เกี่ยวกับพระ                        พระในพุทธศาสนาลัทธิหินยานอย่างพระภิกษุในประเทศไทยนี้ นอกจากต้องปฏิบัติตามพุทธวินัยบัญญัติ 227 ข้อ และมีอนิยศอีก 2 ข้อแล้วยังต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และกฎ  ของคณะกรรมการมหาเถรสมาคม และกฎหมายของบ้านเมืองเยี่ยงบุคคลธรรมดาโดยทั่วไปอีกด้วย นับว่าหนักทีเดียว จึงเห็นควรนำเสอดไว้พอเป็นแนวทางที่ควรรู้ไว้ ดังนี้                        4.1. ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2505 เพิ่มเติม พุทธศักราช 2535 ที่ควรทราบคือ                                        4.1.1. เจ้าอาวาสที่รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากทางฝ่ายปกครองคณะสงฆ์แล้ว เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญารวมทั้งไวยาวัจกรที่รับการแต่งตังจากเจ้าอาวาสแล้ว                                    4.1.2. อำนาจของเจ้าอาวาสมีอำนาจในการสั่งการให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของวัด (ถ้ามี) มีอำนาจในการให้กระทำหรืองอเว้นการกระทำของบุคคลใดในวัด อันชอบด้วยกฎหมาย                                    4.1.3. เมื่อมีอำนาจก็ต้องมีหน้าที่ กล่าวคือดูแลความสงบเรียบร้อยในวัด จัดการบำรุงรักษาทรัพย์สินของวัดทั้งหมด ตักเตือนว่ากล่าว บรรพชิต และคฤหัสถ์ให้อยู่ในระเบียบวินัยของวัด และจัดทำบัญชีจำนวนพระภิกษุ สามเณร และเด็กวัดตลอดจนบัญชีทรัพย์สินของวัดให้ถูกต้อง ผู้ใดขัดคำสั่งเจ้าอาวาส ผู้นั้นขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน อย่างไรก็ตามวัดจะอยู่ได้ด้วยฆราวาส และฆราวาสย่อมอาศัยวัด ต่างต้องพึ่งกันและกัน ดังคำว่า น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า จึงนำคำที่ท่านผู้รู้ได้กล่าวไว้และขออนุญาตนำมาเขียนไว้ วัดจะดีมีหลักฐาน เพราะบ้านช่วยบ้านจะสวยเพราะมีวัดดัดนิสัย    บ้านกับวัดผลัดกันช่วยยิ่งอวยชัยถ้าบ้านวัดบัดกันบรรลัยทั้งสองทาง                     4.2. ทรัพย์สินของพระ พระก็มีสิทธิ์ที่จะมีทรัพย์สินเป็นส่วนตนได้ละย่อมเกี่ยวข้องกับบุคคล และนิติบุคคล ฉะนั้นควรรู้เรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ดังนี้                                    4.2.1. พระภิกษุรับมรดกได้หรือไม่ คำถามนี้ก็ต้องยกเอาข้อกฎหมายขึ้นมาเป็นคำตอบ คือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีบัญญัติไว้พระไม่ได้สิทธิ์พิเศษในการที่ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้นคำตอบนี้ก็จะได้แก่ ข้อกฎหมายที่ว่า                        พระภิกษุนั้นจะเรียกเอาทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมไม่ได้เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศ มาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความ ตามมาตร 1754                        แต่พระภิกษุจะเป็นผู้รับพินัยกรรมได้ หมายความว่า                        1. พระภิกษุจะเรียกร้องเอามรดกซึ่งถ้าตนเป็นฆราวาสแล้วมีสิทธิได้รับมรดกนี้ไม่ได้                        2. การเรียกร้องจะเรียกเอาในฐานะทายาทโดยธรรมไม่ได้ ทายาทโดยธรรมมีสิทธิตามกฏหมายแบ่งไว้ 6 ลำดับแตะละลำดับต้องรับด่อนหลังตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตาม   มาตรา 1629                                     (1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดา มารดา(3) พี่น้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือบิดาเดียวกัน(5 ) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อา                        3. ถ้าสืบจากสมณเพศมาขอรับกฎหมายไม่ห้ามแต่ต้องอยู่ภายในอายุความเรียกร้องมรดกท่านมิให้เรียกร้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่ที่ผู้มีสิทธิรับมรดกรู้ถึงการตายหรือควรรู้ถึงการตายของเจ้ามรดก                         4. กฎหมายอนุญาตให้พระภิกษุรับมรดกได้ 2 กรณี                                    (1)โดยเป็นผู้รับพินัยกรรม(2)โดยทายาทด้วยกันแบ่งให้4.2.2. พระภิกษุถึงแก่มรณภาพ ทรัพย์สินของพระภิกษุตกเป็นสมบัติของวัด เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดไว้ทรัพย์สินของพระภิกษุ ที่ได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นได้จำหน่ายไประหว่างมีชีวิตอยู่หรือโดยพินัยกรรมจากกฎหมายนี้1. ต้องเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากญาติโยมถวายไว้ด้วยศรัทธาในระหว่างที่ยังเป็นพระภิกษุอยู่2. เมื่อมรณภาพขณะเป็นพระภิกษุอยู่เท่านั้น3. เข้าตาม 1-2 แล้วทรัพย์สินนั้นตกเป็นสมบัติของวัด4. วัดตามกฎหมายว่าต้องเป็นวัดที่เป็นภูมิลำเนา ข้อนี้ต้องอยู่ที่สถานภาพของพระภิกษุนั้น อยู่วัดใดเป็นวัดสุดท้ายก่อนมรณภาพ โดยถือตามหลักฐานใบสุทธิ มิใช่ถือหลักฐานจากข้อเท็จจริง กล่าวคือ พระภิกษุมีชื่ออยู่ตามใบสุทธิวัดประชาราษฎร แต่บังเอิญออกพรรษาแล้ว ได้ไปอาศัยอยู่อีกวัดหนึ่งซึ่งเป็นญาติอยู่ได้ประมาณ 3 เดือนเศษ เกิดอาพาธเจ็บและตายกรณีเช่นนี้วัดที่มีชื่อคือ ประชาราษฎรเป็นวัดที่ได้รับมรดกของพระภิกษุผู้มรณภาพตามกฎหมาย   5. ตกเป็นสมบัติของวัดตามพจนานุกรม แปลคำว่าสมบัติ คือ เงินทองของมีค่าแต่กรณีพระภ
หมายเลขบันทึก: 89936เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2007 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท