Mentor กับ Coach (1)


            อยากรู้ความแตกต่างระหว่าง Mentor กับ Coach  เลยไปค้นหา แล้วก็ได้มาดังนี้ค่ะ

            คุณเกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะสัย  ไปบรรยายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด 39 ท่าน  ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น  Mentor  หรือครูสำหรับนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 (นปร.)  ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาข้าราชการพันธ์ใหม่ของ  ก.พ.ร.

             โดยให้นิยามของคำเป็นการปูพื้นก่อน  ซึ่งทั้งสองคำนี้ มักใช้ในความหมายคล้าย ๆ กันได้ ว่า 

              Coach  คือครูพิเศษ  ครูส่วนตัว  ครูฝึก 

              Mentor  คือที่ปรึกษาที่ชาญฉลาดหรือไว้ใจได้  

              ในเรื่อง Coaching  ยกตัวอย่าง นักกีฬาที่สร้างชื่อเสียงให้บ้านเราในห้าหกปีที่ผ่านมา  คือคุณภราดร  เบื้องหลังความสำเร็จนั้นคือ คุณชนะชัย  ศรีชาพันธ์  คุณพ่อของเขา ผู้บอกว่า "บางคนเป็นได้แค่พ่อ  บางคนเป็นได้แค่โค๊ช  สำหรับผมเป็นความภูมิใจที่สุดในชีวิต  ที่เป็นได้ทั้งพ่อและโค๊ช"

              จุดเริ่มต้นของการโค้ชของคุณชนะชัยคือ
              *  การมีเป้าหมายที่ชัดเจน  และมึความมุ่งมั่น  มีการวางแผนที่ชัดเจน 
              *  ใช้ความรักเป็นพื้นฐานในการโค้ช  ประกอบกับความมีวินัย

              จุดเริ่มต้นของ "คุณกิจ" (คุณภราดร) คือ
              *  หาต้นแบบ  เช่น คุณภราดรชอบ  ไมเคิล  ชาง   คุณพ่อจะนำเสนอให้ลูกด้วยการชวนเขามานั่งชมรายการแข่งขันทางทีวีด้วยกัน  หรือซื้อหนังสือกีฬาเกี่ยวกับเทนนิสมาอ่าน  และเล่าให้ลูกฟังเกี่ยวกับความเก่งของคนคนนี้  เด็ก ๆ จะสนใจมาก  ทำให้เกิดต้นแบบ
              *  ใช้การจูงใจ  ว่าหากเป็นนักเทนนิส  จะได้เดินทาง  ไปเที่ยว  และเก่งแบบวีรบุรุษของตน  และมีโอกาสได้เงิน
              *  จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน  การจัดบ้านที่เอื้อและสนับสนุนการออกกำลังและการเล่นกีฬา  มีห้องออกกำลังกายขนาดย่อม  ที่สำคัญคือเปิดวีดีโอเทนนิสไว้ทั้งวัน
              *  สร้างบรรยากาศด้วยคำขวัญต่าง ๆ ในบ้าน  มีพื้นที่ให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์   ใช้วิดีโอจูงใจ  ทำให้เด็กอยากเห็นตัวเองในโทรทัศน์  ใช้วิดีโอบันทึกการเล่นของภราดร  และคู่แข่ง  แล้วเปิดให้ดูเป็นการโค้ชจากของจริง
                  ก่อนลงแข่ง ก็พูดให้กำลังใจแบบกลาง ๆ  โดยไม่แสดงความคาดหวังว่าจะต้องชนะเสมอ  เล่นให้ดีที่สุดนะลูก  หรือ  พอไหวนะ  ลองดู  แพ้ชนะไม่เป็นไร

              หรือตัวอย่างของบริษัทเอกชนที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย  อย่าง ปูนซิเมนต์ไทย  

              องค์กรไหนก็ตาม ความหวังใหญ่ก็คือรุ่นต่อไปต้องเก่งกว่า มีความสามารถกว่ารุ่นก่อน ไม่งั้นโลกเราจะเจริญได้อย่างไร ถ้าเผื่อรุ่นถัดไปแย่กว่าทุกรุ่น ต่อไปมันก็ถอยหลังเข้าคลองหมด…  ฉะนั้น ถ้าสังเกตว่าใครที่ได้รับโอกาสมาก ๆ ก็อาจจะเป็นตัวอย่างได้

             จริงๆ แล้ว ก็ต้องบอกว่าการสร้างคนรุ่นต่อไป มารับช่วงต่อไป แล้วรุ่นต่อไปจะเก่ง ก็ต่อเมื่อเราให้โอกาส ในปีสองปีแรก เมื่อเข้ามาแล้วจะเก่งเลย ยาก…   คุณชุมพล ณ. ลำเลียง  ได้บอกไว้ในนิตยสารผู้จัดการ  ธันวาคม  2546  ว่า

             " ที่นี่เขาใช้ระบบ Mentor เตรียมผู้จัดการใหญ่คนใหม่ โดยคุณชุมพล ณ. ลำเลียงประกบคู่  รองผู้จัดการใหญ่ คุณกานต์  ตระกูลฮุนเป็นเวลาร่วมปีก่อนที่นายกานต์  จะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 ม.ค. 49 ”
 
             มีตัวอย่างของต่างประเทศ ในตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 89933เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2007 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับคุณแกบ
  • เข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ
  • ดีมากครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณบางทราย

ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท