อยู่กระเสือกกระสน ตายกระวนกระวาย


ความทุกข์ นั้นมีหลายมิติ และแต่ละมิตินั้นมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (interconnectedness)

อยู่กระเสือกกระสน ตายกระวนกระวาย

เมือเราตั้งนิยามของความสำเร็จ เราได้พลอยตั้งนิยามของความล้มเหลวไว้ด้วยเสมอ ดังนั้นเมื่อมีตายดี ตายมีศักดิศรี ก็จะมีสิ่งที่ตรงกันข้าม ในทางปฏิบัติ ถ้าเราสามารถ ป้องกัน หลีกเลี่ยง ลดความเสียงของเรื่องไม่ดี ผนวกกับ ส่งเสริม เข้าหา เพิ่มโอกาสให้เรื่องดี ทั้งสองน่าจะเป็นการเสริมซึ่งกันและกันได้ดีที่สุด

ความทุกข์ นั้นมีหลายมิติ และแต่ละมิตินั้นมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (interconnectedness)

องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุว่า มิติแห่งสุขภาพอันเป็นองค์รวมนั้นต้องประกอบกันทั้ง 4 มิติ ได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ (Physical Psychosocial and Spiritual domains) และทุกมิติมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง แปรเปลี่ยนไปตามบริบทสิ่งแวดล้อมอย่างซับซ้อน และสำคัญอย่างยิ่งที่การดูแลสุขภาพ ไม่อาจจะละเลยมิติใดมิติหนึ่งไป Albert Einstein กล่าวว่า "Faith without science is blind, and Science without faith is lame" เป็นคำกล่าวที่เชื่อมโยงโลกของ Freudian กับ Jungian เข้าด้วยกัน (มั้ง) และสนับสนุนการเดินใน "ทางสายกลาง"

ผมคิดว่าการเดินทางสายกลางไม่ได้แปลว่าเดิน "ตรงกลาง" ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่งเลย นั่นออกจะเป้นการ "แปล literally" ไปนิดนึง ผมคิดว่า "กลาง" ในที่นี้น่าจะเป็น "ไม่ extreme, ไม่ตึง" มากกว่า คือบางทีเราก็เอียงไปข้าง (เช่น ตอนพิมพ์คอมพิวเตอร์) บางทีเราก็เอียงย้อนมาอีกข้าง (ตอนวิเคราะห์จิตวิญญาณ) แต่การมี awareness หรือ สติ จะช่วยให้เรา "หมายรู้" ตำแหน่งแห่งที่และว่าเรากำลัง ทำ เป็น อะไรอยู่

อะไรที่จะทำให้ทุกข์ทรมานตอนตายได้บ้าง?

Physical: ความเจ็บปวดทรมาน ความเหนื่อย แน่นท้อง หายใจไม่ออก ภาวะสับสน สติสัมปชัญญะขาดหาย

Psychological: อารมณ์ต่างๆ ได้แก่ ความกลัว ความหิว ความทุกข์ กังวล ตื่นเต้น หวาดเสียว ความอยาก

Social: ครอบครัว ญาติสนิทมิตรสหาย หน้าที่ การงาน ฐานะทางสังคม เศรษฐานะ

Spiritual: อะไรก็ตามที่ลึกซึ้งละเอียดอ่อน แต่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทำให้ชีวิตมีค่า มีความหมาย ที่จะคงอยู่ ที่จะมีชีวิตต่อไป

 
 

พอจะกล่าวได้เป็นเรื่องสมเหตุสมผล ถ้าเรจะดูแลทั้งสี่มิติให้พ้นจากด้านลบให้มากเท่าไร เราก็จะเพิ่มโอกาสที่จะตายดีได้มากเท่านั้น

ตอนที่ไปเข้า workshop การเผชิญความตายอย่างสงบนั้น มีอยู่ตอนหนึ่งที่หลวงพี่ไพศาล และคุณปรีดา ให้พวกเราเขียนว่าสภาพการตายดีนั้นเป็นอย่างไร ที่มีคนเขียนตรงกันมากที่สุดประการหนึ่งก็คือ ตายโดยไม่เจ็บปวดทรมาน ตรงนี้แพทย์พยาบาลจะมีบทบาทค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรก และสำคัญอย่างยิ่งที่จะเป็นปัจจัยที่ทำให้คนไข้สามารถเข้าสู่ระยะต่อไป และใช้ประโยชน์จากมิติอื่นๆของสุขภาพของเขา/เธอ ได้ดีทีสุด ศาสตร์และเทคโนโลยีทีทันสมัยสามารถ "ช่วย" ให้คนไข้ "พอทน" อาการและอาการแสดงต่างๆจนถึงระดับที่เขาจะเข้าสู่สภาวะต่อไปได้

บ่อยครั้งที่เราละเลยปัจจัยอื่นๆที่ทำให้คนเจ็บปวดทรมาน แต่ไม่ใช่จากร่างกาย จนกระทั่งเราได้เข้าใจว่าจิตใจและร่างกายนั้นเกี่ยวเนื่องกัน ตอนเราสุขภาพดีๆ เราก็สามารถทุกข์ได้ ทรมานได้ เพียงแค่การทำงานของจิตใจที่ผิดหรือเสียสมดุลอย่างเดียว เช่น ภาวะกังวล ภาวะเครียด ภาวะตื่นเต้น ภาวะเศร้าซึม เมื่อไหร่ก็ตามที่เราพบว่าอาการาทงกายไม่สามารถควบคุมได้ทั้งที่น่าจะคุมได้ สาเหตอาจจะมาจากปัจจัยภายนอกร่างกายที่ยังไมได้รับการดูแล อาจจะเป็นปัจจัยภาย "ใน" แต่ไม่ใช่กาย เป็น "ใจ" ที่ยังไม่ได้รับการดูแล

ภาวะทางสังคมยิ่งดุเหมือนห่างไกลออกไปจากการแพทย์ การพยาบาลมากย่งขึ้น แต่ในบางกรณีกลับกลายเป็นอุปสรรคหรือสาเหตุสำคัญของความทุกข์ได้ไม่แพ้อาการทางกาย

กระเสือกกระสน เป็นอาการที่คนดิ้นรนด้วยความยากลำบาก ต่อสู้อย่างติดขัด ก้าวหน้าอย่างช้ากว่าที่อยากได้ คิดไม่ค่อยออก เหน็ดเหนื่อยกว่าธรรมดา ทำให้ท้อแท้ได้ถ้าขาดกำลังใจหรือพลังบวกส่งเสริม เป็น ความทุกข์ ที่สุดอย่างหนึ่ง

การกระเสือกกระสนนั้น ไม่ได้เป็นอาการทางกายอย่างเดียว แต่เป็นผสมๆกัน บางคนโดยไม่รู้ตัว ได้ใช้ชีวิตอย่างกระเสือกกระสนมาตลอดทั้งชีวิต และบางทีโดยไม่มีความจำเป็นเลย น่าสงสัยหรือน่าศึกษา น่าคิดว่า แรงผลักดันเหล่านี้มาจากไหน?

 ผมขอตั้ง "สมมติฐาน" ให้เหตุผลไว้ประการหนึ่ง ประการเดียวก่อน นั้นคือ ความไม่พอ

บางทีเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ เราได้ gain status อะไรบางอย่างมา คิดว่าดี คิดว่าเหมาะสมแล้ว และด้วยความพยายามเป็นเวลานาน ด้วยความมานะพยายาม บากบั่นเป็นเวลาเป็นปี จนกระทั่งเรามาค้นพบว่า การมาถึงจุดนั้น ไม่ได้มีความง่ายเลยนั้น การรักษา status กลับยากยิ่งกว่า

ถึงตอนนี้เป็นตอนที่ต้องตัดสินใจว่า จะลงจากหลังเสือได้หรือยัง และลงอย่างไร

  • ภาวะกระเสือกกระสน จะตามมาด้วยความกระวาย

กระเสือกกระสน ทำให้เราไปถึงเป้าหมายช้า ยาก และทรมานกว่าที่เราได้ anticipate ไว้ก่อน อย่าว่าแต่ถ้าหาก "เป้าหมาย" นั้นได้มาถึงแล้ว แต่เป็นการกระเสือกกระสนเพื่อทีจะยึดเหนี่ยว รักษาตำแหน่งของการมาถึงเป้า แต่ทว่ายืนอยู่บนลานแคบๆที่ลื่นไหล ที่ลมแรง ที่ร้อนผ่าว บางครั้งก็หนาวเย็นเยียบ

สภาวะจิตอันกระเสือกกระสนนั้น เป็นอุปรรคสำคัญด้วยในการที่จิตจะเข้าถึงสิ่งที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตใจ กล่าวได้ว่า จิตกระเสอืกกระสน ที่อาจจะมาจากการผสมกันระหว่างข้อจำกัดทางกาย ความทุกข์ในใจ ในการรักษาสถานะทางสังคม ทางการเงิน ก็จะพลอยเป็นขวกหนามของการหลุดพ้นทางจิตวิญญาณได้ด้วย

แพทย์พยาบาล มีหน้าที่ที่จะสืบค้นปัจจัยต่างๆเหล่านี้ มาใช้ประกอบการรักษาพยาบาลด้วย มิฉะนั้นเราจะแปลกใจได้ตลอดเวลาว่าทำไม รักษาเท่าไรๆก็ไม่เห็นว่าคนไข้จะคลายทุกข์ไปได้เลย บางทีก้ไม่ร่วมมือ จะขอกลับบ้าน จะขอต่อรอง ขอไปรักษาที่อื่น ที่สุดก็ถูกหมอพยาบาล dubbed เป็น difficult patient (หรืออีกนัยหนึ่ง This patient is too difficult for me to understand)

ความกระเสือกระสนนั้นเป็นปัจจัยทั้งภายในภายนอก และต้องได้รับการเยียวยาไปทั้งสองทางพร้อมๆกัน ถ้า social problems ยังไม่ resolved ก้อาจจะเป็นความยากที่จะ "ทำใจ" ถึงแม้ว่าสำหรับบางคน "ทำใจ" สามารถช่วย heal อาการต่างๆได้หลายมิติมากก็ตาม

 ดังนั้น ถ้าอยากตายไม่กระวนกระวาย ก็ลองอยู่อยากไม่กระเสือกกระสนดู

หมายเลขบันทึก: 87661เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2007 01:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท