มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

การนำเสนอผลงานวิจัยเชิงคุณภาพท่ามกลางนักวิจัยเชิงปริมาณ


ในวงการนักวิจัยสาขาสุขภาพช่องปาก หรือ ทันตกรรม นั้น งานวิจัยเชิงคุณภาพยังถือว่าใหม่มากและเป็นส่วนน้อยจ้อยจิดริดจริงๆค่ะ

งานส่วนมากเป็นงานทดลองวัสดุใหม่ ยา เครื่องมือ งานทดลองระดับโมเลกุลเพื่อสร้างความรู้พื้นฐาน หรือ ไม่ก็งานระบาดวิทยาเชิงปริมาณ

กลุ่มสาขาย่อยที่เห็นมีงานวิจัยเชิงคุณภาพมานำเสนอก็มีทาง ศึกษาศาสตร์ งานระบบบริการ (health service) แล้วก็งานทางชุมชนต่างๆ

ผู้เขียนไม่มีตัวเลขทางสถิติแต่เท่าที่เดินดู ฟัง และอ่านเอกสารที่ทางงานประชุมจัดมา งานวิจัยเชิงคุณภาพมีไม่ถึง 1% ของงานที่มานำเสนอทั้งหมดค่ะ

ก็ยากเอาการเวลานำเสนอ แต่ยากแบบเดาได้ค่ะ นักวิจัยสาขาอื่นๆเค้าผ่านกันมาหมดแล้ว สายพยาบาล สายศึกษาศาสตร์ทั่วไป หรือแม้กระทั้งสาย สายจิตวิทยา สายสังคมศาสตร์อื่นๆ คงคุ้นเคยกับคำถามเช่น

  • แล้วเลือก subject อย่างไร 
  • คิด sample size อย่างไร
  • แล้ว validate ผลอย่างไร
  • แล้วมีคนช่วยวิเคราะห์ผลกี่คน ฯลฯ

มาบันทึกเรื่องนี้เพื่อเป็นกำลังใจคนที่เจอเหตุการณ์เหมือนๆกันให้ไม่ท้อ แล้วก็ไม่หลบหนี ไปนำเสนองานแต่เฉพาะในกลุ่มผู้ฟังที่เราสบายใจเมื่อได้คุยด้วย

  • ถ้าคุณเชื่อว่างานของคุณเหมาะกับปัญหาและวัตถุประสงค์ของงานวิจัยแนวนั้น
  • ถ้าคุณเชื่อว่างานประเมินด้วยการทดลองหรือแบบสอบถามไม่เหมาะกับการแก้ปัญหานั้นๆ
  • ถ้าคุณเชื่อว่าความรู้ควรมาจากการมีส่วนร่วมของชุมชน

ขอให้ขยันและเตรียมตัวตอบคำถามให้ดี ถ้าคุณตอบดี นักวิจัยเชิงปริมาณที่จริงๆเค้าก็สงสัยในความเหมาะสมของงานของเค้าอยู่แล้ว อาจจะหันมาสนใจงานเชิงคุณภาพและงานแบบชุมชนมีส่วนร่วมก็ได้

อันนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวค่ะ เวลาไป present ที่งานของ public health assoc. หรือ ของ คณะ social work ใครๆก็เออออกับเรา คำถามก็น่าสนใจ แต่เวลาไป present ที่งานทันตะ ไปครั้งแรกห่อเหี่ยวมากค่ะ คำถามที่ได้รับก็เดิมๆ ไม่น่าสนใจ แต่ดูอ.ที่ปรึกษาเป็นตัวอย่าง ท่านก็ยังไปงานประชุมวิชาการของทันตะทุกปี  ไปพูดจนทำให้ตอนนี้มีนักวิจัยหันมาสนใจงานเชิงคุณภาพมากขึ้น : )

ก่อนไปขอออกตัวก่อนว่า ไม่ได้ต้องการให้ทุกคนเปลี่ยนมาทำงานวิจัยเชิงคุณภาพนะคะ แต่ให้คิดให้ดีๆก่อน ให้รู้ว่า research question ของเรามันเหมาะกับวิธีหาคำตอบแบบไหนกันแน่

งานวิจัยเชิงปริมาณก็ดีและมีค่าของมัน แต่ต้องใช้ให้ถูกเท่านั้นเองค่ะ 

แล้วคนที่ทำงานวิจัยเชิงคุณภาพก็ควรรู้ philosopical assumptions ของตัวเอง ควรเรียบเรียงคำพูดไว้ให้แม่นๆเลยด้วยเวลามีคนมาถาม ว่าทำไมถึงเลือกทำงานวิจัยวิธีนี้

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 87511เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2007 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

<<ไปพูดจนทำให้ตอนนี้มีนักวิจัยหันมาสนใจงานเชิงคุณภาพมากขึ้น : )>>

แข็งแกร่งมากครับ :-)

ผมเคยไป present งานนึงในประเทศ (ไม่บอกชื่อแล้วกัน) ไม่มี chair ฟังครับ คนอื่นหนีกลับบ้านหมดเลย chair ก็เหมือนถามตามหน้าที่ 

เป็นประโยชน์มากเลยครับอาจารย์ คงได้ข้ามประเทศไปทักทายอาจารย์แน่ๆๆๆ ขอบคุณครับ

สวัสดีครับอาจารย์หมอ

อาจารย์ครับผมเดาว่าที่คนสนใจงาน qualitative น้อยกว่า quantitative นั้น เพราะว่าสาขาทันตะ นั้นมันเป็น science หรือเปล่าครับ ทำให้คนนั้นต้องการวัดกันด้วยตัวเลข หรือสถิติ เหมือนมันจับต้องได้มากกว่านะครับ

อีกอย่างครับ อันนี้สงสัยครับ qualitative work ทางทันตะกับ quantitative work ต่างกันยังไงครับ (นึกภาพไม่ออกจริงๆครับ) 

ขอบคุณมากครับ :D

ยกตัวอย่างของตัวเองนะคะ

งานประเมินผล (evaluation) ของโครงการ หรือ งานบริการทางทันตกรรมผู้สูงอายุนั้นวัดกันด้วยสถิติยากค่ะ

ตัววัดความสำเร็จของโครงการคืออะไร ไม่มีใครพูดได้เต็มปากว่า "ก็นับว่าฟันเหลือเยอะสิ" มันไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะ ฟันที่เหลืออาจจะไม่ดี ผุหรือโยก

วัดรูฟันที่ผุ หรือ จำนวนฟันที่โยกก็ไม่ง่าย เพราะในผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวมากมาย การถอนฟันไม่สามารถทำได้ทุกราย หรือถ้าผุแบบไม่รุนแรงเป็นแบบนิ่งๆแล้วไม่ลามต่อ บางทีก็ไม่ต้องอุด

ถ้าไม่มีหนอง ไม่มีการติดเชื้อ ไม่เจ็บ บางทีก็แค่เฝ้า่ดูอาการอย่างสม่ำเสมอค่ะ

การวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวมากๆจะซับซ้อนแบบนี้เอง นี่ไม่นับในกรณีที่ผู้สูงอายุเองอยากทำฟัน แต่ลูกเป็นคนคุมเรื่องการเงินแล้วไม่เห็นความสำคัญ ไม่ให้ทำ เพราะเห็นว่าแก่แล้ว แบบนี้ก็มีค่ะ

 ------------------------------------------------------

งานประเมินโครงการทางทันตะ ที่ผ่านมามักใช้แบบ pretest-posttest ค่ะ คือดู baseline ก่อน

  1. ว่าก่อนจัดโครงการ กลุ่มประชากรมีฟันกี่ซี่ ผุกี่ซี่ อักเสบเท่าไหร่ มีคราบจุลินทรีย์มากเท่าไหร่ โยกไม๊ มีแผลในช่องปากไม๊ อะไรก็ว่าไป หรือไม่ก็วัดความรู้ วัดทักษะ
  2. แล้วก็จักโครงการ ทำเหมือนการทดลอง
  3. แล้วพอครบเวลาก็วัดผล (เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับบริการ)

วัดออกมาผลก็งงๆอย่างที่เกริ่นไว้ตอนแรกค่ะ ดูแล้วเหมือนโครงการไม่สำเร็จ

แถมที่ร้ายกว่านั้นคือ การประเมินแบบ pretest posttest ไม่ทำให้เรารู้เลยว่า แล้วกระบวนการที่จัดทำโครงการไปหน่ะ ทำถูกรึเปล่า ทำครบรึเปล่า แล้วมีปัญหาอะไรตอนจัดบริการบ้าง เพราะมัวแต่ไปวัด outcome ไม่วัด process แถมไม่ดูไม่บันทึกบริบทของแต่ละโครงการด้วย

เลยไม่รู้เลยว่าทำสุดความสามารถแล้วแต่ตัววัดผลมันไม่เหมาะสมเอง ทำให้แปลผลไม่ได้ จริงๆมัน work แต่แสดงออกทางสถิติแบบมีนัยสำคัญไม่ได้

หรือ เป็นเพราะจริงๆก็ไม่ได้ทำตามที่วางแผนไว้ เช่นบอกว่าจะสอนพยาบาลแปรงฟันให้คนไข้ที่นอนป่วยระยะยาว
ที่รพ. แต่ไม่ทันดูหรือบันทึกไว้ว่าพยาบาลที่เข้าอบรมหน่ะมีกี่คน นั่งฟังกันเต็มชม.รึเปล่าหรือลุกเข้าๆออกๆห้องบรรยายเพราะต้องไปดูคนไข้ เนื่องจากมาจัดบรรยายเอาวันที่มีพยาบาลลาป่วยคนเลยขาดรึเปล่า

อีกอย่างคือการวัดผลแบบการทดลองนี้ ตามหลักการแล้วโครงการต้องทำไปตามแผนทุกอย่างเป๊ะๆ ซึ่งในความจริงอะไรๆก็เปลี่ยนตลอดเวลา ไม่ว่าจะเปลี่ยนให้ดีขึ้น หรือมีปัจจัยภายนอกมาเปลี่ยนให้ทำอย่างที่วางแผนไว้ไม่ได้เลยแย่ลง

 ------------------------------------------------------

กลับมาเรื่องตัววัดความสำเร็จของโครงการค่ะ
ี้สิ่งที่เป็นตัววัดสูงสุดที่ทุกคนยอมรับคือ คุณภาพชีวิตค่ะ คือสุขภาพช่องปากอาจไม่สมบูรณ์ตามมุมมองของหมอแต่ ต้องดีพอที่จะไม่ไปรบกวนคุณภาพชีวิตของแต่ละท่าน 

เช่นกัน คุณภาพชีวิตนี่ก็วัดยากค่ะ  แล้วที่ผ่านมาก็มีแต่หมอนั่นแหละค่ะ คิดกันเองว่าแล้วตัววัดคุณภาพชีวิตด้านต่างๆคืออะไร ทั้งๆที่ใครจะไปรู้ดีกว่าตัวคนไข้

งานวิจัยเชิงคุณภาพมีประโยชน์ตรงนี้ค่ะ

เราหาความรู้โดยตรงจากเจ้าตัว ไปคุย ไปสังเกตการณ์ในสถานที่จริง ไปถามคำถามแบบเปิด ไม่ไปจำกัดว่าเค้าต้องตอบอะไรบ้างตามแบบสอบถาม ไปบันทึกบริบทของงานเพื่อนำมาช่วยแปลผลการประเมินได้อย่างมีความหมาย ไปทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมองค์กร ไปทำความเข้าใจว่า ความหมายของคุณภาพบริการคืออะไร คุณภาพชีวิตคืออะไร จากมุมมองของทั้งคนทำงานและคนไข้ 

 ------------------------------------------------------

ตอบซะยาวเลย แฮะๆ

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท