ใจมา เวลามี เวทีมา พื้นฐานการทำงานแบบ KM


การสร้างความรู้สึกให้คนเปิดใจรับรู้สิ่งใดๆจึงคือภารกิจประการแรกที่ท่านผู้ว่าฯคำนึงถึงในการทำงานแบบจัดการความรู้และต้องทำอย่างนี้อยู่เสมอๆเพื่อสร้างทีมเรียนรู้ที่ดี

บันทึกที่แล้ว ผมเขียนถึงวันเปิดตัวยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข และโครงการพัฒนาหมู่บ้านตาม แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลิ้งค์อ่าน

ปรากฏว่าในงานดังกล่าวประสบการณ์การจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ได้รับการบรรจุเข้าไว้ในโปรแกรมการพูดคุย เป็นหัวข้อหนึ่งด้วย จึงทำให้การ Kick off ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขและโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษกิจ พอเพียงที่จัดขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชนับว่า มีนัยยะกับจังหวัดนครศรีธรรมราชอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านวิชม ทองสงค์ ก็ได้นำเสนอโมเดลการพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราชสู่ชุมชนอินทรีย์ ที่เรียกว่า "หยดน้ำเพชรโมเดล" รายรายละเอียดแนวคิดแนวทางโมเดลนี้อ่านรายละเอียดได้จากบันทึกนี้ และ บันทึกนี้

ช่วงตอนหนึ่งที่ท่านผู้ว่าฯพูดถึงแนวคิดแนวทางการทำชุมชนการเรียนรู้หรือชุมชนอินทรีย์ ์คือการที่จะต้องทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเปิดใจและมีใจที่จะเรียนรู้เรื่องราวของตนเองและ ชุมชนรอบตัว ว่าทั้งคุณกิจครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ  ทีมคุณอำนวย หรือคุณเอื้อก็ตามจะต้องใจมาก่อน โดยท่านกล่าวว่าทำอย่างไรจึงจะให้ใจทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาเสียก่อน เพราะถ้าใจมาแล้ว เวลาก็จะมีมาเอง ในที่สุดเวทีเรียนรู้เรื่องราวหรือประเด็นต่างๆก็จะตามมา กล่าวอย่างสั้นๆก็จะได้ว่า "ใจมา เวลามี เวทีมา"

การสร้างความรู้สึกให้คนเปิดใจรับรู้สิ่งใดๆจึงคือภารกิจประการแรกที่ท่านผู้ว่าฯคำนึงถึงในการทำงานแบบจัดการความรู้และต้องทำอย่างนี้อยู่เสมอๆเพื่อสร้างทีมเรียนรู้ที่ดี

ผมเห็นว่านี่คือเกร็ดความรู้อีกเรื่องหนึ่งที่น่าศึกษา จึงนำมาฝากครับ

มีภาพต่อไปนี้มาฝากด้วยครับ

 

 ท่านทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร(ขวามือ) ก็มางานนี้ ให้เกียรติถ่ายรูปกับผมด้วยครับ

 

 น้องศิริวรรณ หวังดี KM ทีมกรมส่งเสริมการเกษตร ขวามือสุด (จัดให้ผมถ่ายรูปคู่กับอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร) ถ่ายรูปร่วมกับทีมจังหวัดนครศรีธรรมราช น้องพัชนี พนิตอังกูร จาก พอช. และผู้ใหญ่โกเมศวร์ ทองบุญชู ประธานเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนภาคใต้

 

 คุณสำราญ สาราบรรณพ์ KM ทีมกรมส่งเสริมการเกษตรซ้ายมือ กับคุณเกรียงไกร สนง.เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชถ่ายกับโมเดลจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่เรียกว่า "หยดน้ำเพชรโมเดล"

 

จากซ้าย อ.ภีม ภคเมธาวี จาก มวล. ผอ.วิมล วัฒนา ผอ.กศน.จังหวัดนครศรีฯ และคณะจาก กศน.จังหวัดนครศรีฯ

 

 น้องศิริวรรณ หวังดี KM ทีมจากกรมส่งเสริมการเกษตรขอให้ผมช่วยเล่างานที่ทำสั้นๆในวีดีโอ

 

วิทยุแห่งประเทศไทยถ่ายทอดเสียงการประชุม

 

หมายเลขบันทึก: 86842เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ่านแล้วสุขใจครับ

คุณธวัช ครับ

         ไม่ได้พูดคุยกันนานพอควรไม่ทราบสบายดีหรือเปล่า...ผมรู้สึกดีใจด้วยที่บันทึกนี้ทำให้คุณธวัชอ่านแล้วมีความสุข

  • ขอบพระคุณมากครับที่นำบรรยากาศของงานมาเล่าสู่กันฟัง
  • สำหรับครูนงนั้นเป็นขวัญใจของชาวกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมอนามัยอยู่แล้ว...อิอิ

น้องสิงห์ป่าสัก

            เขิน ๆ ๆ ครับ

คุณชัยพร หนุ่มเมืองร้อยเกาะ ครับ

         คุณชัยพรสบายยดีไหมครับ กลับนครฯววันไหนก็บอกมั่งนะครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท