เหล้าเก่า... ขวดใหม่


วิธีการส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์
เหล้าเก่า...  ขวดใหม่

           คำว่า  "เหล้าเก่า"ในที่ไม่ได้หมายถึงเหล้าที่ใช้ดื่มกันอย่างทุกวันนี้    แต่ดิฉันหมายถึงเรื่องราวในอดีตที่ดิฉันเองอยากเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้  ดิฉันเคยรับราชการอยู่ที่โรงเรียน ชุมแสงสงครามฯ  สมัยนั้นจำได้ว่าทางราชการเขาริเริ่มทำโครงการอาชีพอิสระให้กับโรงเรียนในสังกัด จำได้ว่างบประมาณขณะนั้นอยู่ในวงเงินประมาณ  70,000  บาท/โรงเรียน   ทางโรงเรียนก็เลยให้ครูช่วยดำเนินการส่งเสริมรายได้ให้กับนักเรียนตามความสนใจทั้งของครูและนักเรียน สำหรับ ดิฉันเอง  ตั้งกลุ่ม เลี้ยงปลาดุรัสเซีย ท สมัยนั้นนิยมมากค่ะ  ขอบอกนักเรียนสนใจจะเลี้ยงปลาดุ รวมพล ได้ประมาณ  20- คน โดยแต่ละคนจะต้องลงหุ้น ๆละ  30  บาท( ไม่ตค่อยแน่ใจ) เมื่อมีกำไรจะแบ่งตามส่วนของธุรกิจ นักเรียนสนใจกันมากแต่ละคนก็ไม่เคยทำแต่อยากทำ  ส่วนเงินก็ใช้การยืมเงินจากโครงการทางโรงเรียน 

             ทางโรงเรียนสนับสนุนมีการขุดบ่อความกว้างประมาณ  20  เมตร  ความยาวคงกว่าเพราะจำได้ว่า  ล็อกหนึ่งของแปลงนา    คงสงสัยว่า... ทำไมโรงเรียนจึงมีแปลงนา  โรงเรียนมีการทำนาด้วยนะคะพอถึงปีหนึ่งหน้าทำนาก็มีการระดมพลนักเรียนครูทำนา  เป็นที่สนุกสนานมากเพราะดิฉันเองก็ไม่เคยทำนายังลงไปดำนากับเขาเลย( ไม่บังคับครูแต่อยากลงเอง)   อ้าวไปเรื่องทำนาได้อย่างไร  โครงการการเลี้ยงปลาดุเป็นไปด้วยดีนักเรียนก็ชอบจัดเวรกันอย่างดี  ถึงเวลาขาย  ทางโรง เรียนนำพ่อค้าจากตัวเมืองมาจับเขา ใช้ตาข่ายกว้างเท่า บ่อปลา แล้วก็ลากมานักเรียนก็ช่วยกันจับปลาส่วนที่ไม่หมดก็ให้นักเรียนนำกับบ้านไป  เมื่อขายเสร็จแล้วผลปรากฏขาดทุนค่ะ  แจ้งให้นักเรียนปัญหาการขาดทุนเกิดจากอะไรบ้าง หน้ามุ่ยไปตาม  ๆกัน ดิฉันก็ เลยคิดว่าเงินหุ้นจะคืนให้นักเรียนโดยดิฉันยอมจ่าย  แล้วก็รายงานให้อาจารย์ใหญ่(ขณะนั้น)และก็บอกกับท่านว่า  เสียใจที่ขาดทุน  สิ่งที่ท่านตอบมาก็คือ  ไม่มีคำว่าขาดทุน สำหรับผมถือว่าได้กำไรเพราะการที่นักเรียนได้ประสบการณ์ถือว่าเป็นกำไรหาจะซื้อไม่ได้   ดิฉันฟังแล้วอึ้งเลยค่ะ  ที่เล่ามาไม่ใช่จะ สดุดีท่านนะคะแต่นึกถึงเพื่อนครูที่โรงเรียนที่ดิฉันอยู่ปัจจุบัน คือครูเมธี(ขอเอ่ยนาม)  เขาได้เล่าให้เพื่อนสมาชิกฟังเมื่อตอน มีการประชุมวิชาการหัวข้อ การจัดการความรู้ วันที่ 19  มีนาคม ที่ผ่านมานี่เอง  เผอิญอยู่กลุ่มเดียวกัน คือหัวข้อ  วิธีการส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์โดยเล่าว่าใช้วิธีสอนโดยการให้นักเรียนศึกษาจากแหล่งเรียนรู้  ในท้องถิ่น(ครูเมธีสอนม. 1)โดยการจัดทัศนศึกษาเพื่อให้นัก เรียนมีประสบการณ์จริงเห็นสถานที่จริง ระหว่างการศึกษาก็มีใบกิจกรรมให้นักเรียนได้ทำ  เมื่อกลับมาก็ให้นักเรียนนำ เสนองานที่ได้ ไป ศึกษามาโดยไม่จำกัดรูปแบบว่าจะออกมาอย่างไรในรูปแบบใดก็ได้ แต่มีเป้าหมายคือมีเนื้อหาที่ได้ศึกษามา  ปรากฏออกว่าชิ้นงานออกมาได้หลากหลายมากทั้งเป็นพับและอื่น  ๆอีก หลากหลายสวยงาม  (ขอโทษครูเมธีที่แอบนำเรื่องเล่าของครูมาเปิดเผย เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องสอดคล้องกันพอดี แต่ถ้าเล่าผิดครูเมธีจะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง/จะเสนอเพิ่มเติมก็ได้นะคะ )  จะเห็นว่าขุมความรู้ที่ได้จากครูเมธี ก็คือ 1.  ให้ความรู้  2.  มีเป้าหมายของงาน  และ มีชิ้นงาน  เห็นหรือยังคะว่า

เหล้าเก่า  .....ขวดใหม่   มาใส่ได้ลงตัวพอดี  กลายเป็นเหล้าชั้นดีได้เหมือนกัน  (คิดเอง)  สำหรับเรื่องนี้ยินดีให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นนะคะ  ด้วยความจริงใจค่ะ  จริงแล้วยังมีเรื่องเล่าของคุณอำนวย(  ครูนพคุณ  ) ท่านได้เล่าไว้อย่างสนุกสนาน  ไว้โอกาสหน้าก็แล้วกันนะคะ

        
คำสำคัญ (Tags): #แลกเปลี่ยน
หมายเลขบันทึก: 86373เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2007 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
สวยงามครับ รออ่านเรื่องเล่าของครูนพคุณ ครับ
เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยนะครับ  ถ้ายังไงแล้วมีอะไรใหม่ๆช่วยนำมาเล่าให้ฟังอีกนะครับ

สนุกมากๆเลยค่ะ อยากให้เล่าให้ฟังอีกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท