ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

คันนาเงินหมื่น...แนวทางสู่ความมีอยู่มีกิน


เป็นแนวทางแห่งการวางแผนการใช้ที่ดินที่มีประสิทธิภาพ

คันนาเงินหมื่น....เป็นแนวคิดของพ่อทอง ศรีธรรมมา แห่งหมู่บ้านแก้จน ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้มักน้อย จ่ายน้อย ชอบสันโดษ และที่สำคัญเป็นคนขยัน และมีความเป็นกัลยาณมิตร

พ่อทอง...ได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นเกษตรกรโดยสายเลือด และทำเกษตรผสมผสานมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กจนกระทั่งถึงปัจจุบัน จากการดำเนินกิจกรรมในการเกษตรจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการพัฒนารูปแบบการทำเพื่อปรับสภาพให้เข้ากับการเปลี่ยนของของโลกแห่งเทคโนโลยีตลอดเวลา

ทำไม ? ต้องเป็นคันนาเงินหมื่น เดิมทีเดียวนาของพ่อทองเป็นที่ลุ่ม ทำนาได้อย่างเดียว ครั้นจะปลูกพืชชนิดอื่นๆ ก็จะปลูกในฤดูฝนไม่ค่อยได้ เพราะน้ำจะท่วมผลผลิตเสียหาย หรืออาจจะพอปลูกได้บ้างตามที่จอมปลวก หรือคันนาที่เล็กๆ แต่เนื่องจากว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวมีจำกัดจึงไม่พอในการที่จะปลูกพืชชนิดอื่นๆ เช่น พืชผัก และไม้ผล ไว้ใช้ในการบริโภค และสร้างรายได้

แนวคิดจึงกระฉูด จากปัญหาไม่มีที่ปลูกเพื่ออยู่เพื่อกินได้อย่างเพียงพอ พ่อทองจึงตัดสินใจในการปรับพื้นที่นาใหม่ เพื่อให้เรียบสม่ำเสมอ และดันคันนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมีขนาดความกว้าง 5-6 เมตร และยาวตามพื้นที่ (ประมาณ 50-60 เมตร)

จากนั้นจึงปลูกไม้ผล เช่น ฝรั่ง มะม่วง มะพร้าว มะกอกน้ำ กล้วย และพืชผักชนิดต่างๆ เช่น ถั่วฝักยาว แตง เป็นต้น โดยยึดหลักให้พืชเจริญเติบโตแบบเกื้อกูลกัน โดยไม่บังแสงแดดซึ่งกันและกัน ใช้อาหารร่วมกัน เป็นต้น

เมื่อปีที่แล้ว พ่อทองเล่าว่าบนคันนาทุกคันนั้น ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่เพราะหลายๆ คันนา ได้ปลูกไม้ผลเต็มหมดแล้ว และอีกบางส่วนจะปลูกกล้วยน้ำหว้าริมขอบคันนา แล้วตรงกลางคันนาปลูกถั่วฝักยาว 1 รุ่น และแตงกวาสลับหมุนเวียนกัน 2 รุ่น พบว่าบนพื้นที่คันนาที่มีความยาว 60 เมตร สามารถสร้างรายได้ถึง 12,000 กว่าบาท

จากแนวทางดังกล่าวจึงนับได้ว่า การพัฒนาองค์ความรู้จากภูมิปัญญา สามารถที่จะสร้างชุดความรู้ขึ้นมาได้ใหม่ ซึ่งเราเรียกว่าการจัดการความรู้แบบธรรมชาติ เป็นการจัดการรูปแบบใหม่ของการวางแผนการใช้ที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งรายได้ และประสิทธิภาพของการใช้แรงงาน

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

21 มีนคม 2550

หมายเลขบันทึก: 85474เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2007 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • อาจารย์อุทัยคะ วันนี้เหนื่อยมั๊ยคะ   อยากเข้าไปสวนป่าพ่อครูบาอีกจังเลย 
  • เชิญคลิกที่นี่ ค่ะ

ขอบคุณมากครับอาจารย์หนิง ที่เป็นห่วง

วันนี้วางแผนการใช้ที่ดิน สำหรับการทำเกษตรกรรมแบบประณีต อีกทั้งเดินรังวัดพื้นที่ทั้งวัน

สุดยอดของความเหนื่อยเลยครับ

แต่สู้...ครับ

  • สวัสดีครับ อ.อุทัย
  • ขอเป็นกำลังใจเสมอครับ ไม่ว่าจะ ป.เอก หรือการงานครับ
  • สู้ๆ ต่อไป เพื่อไทยและสังคมครับ
  • ขอบคุณครับ มีความสุขในการทำงานครับ
  • เห็นความมุ่งมั่นเพื่อการสร้างชีวิตที่อยู่ดีมีสุข  ภายใต้บริบทที่แห้งแล้งและยากจนของคนบุรีรัมย์ แล้วชื่นใจจังครับ
  • ขออนุญาตเชียร์คนบ้านเดียวกันหน่อยนะครับ  อ.อุทัย

นี่เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง

แต่ในระดับเราต้องมองเชิงระบบทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการจัดการในทุกระดับ

  • แปลงย่อย
  • แปลงรวม
  • ครอบครัว
  • ชุมชน

จึงจะได้ข้อมูลที่นำไปสูการทำวิทยานิพนธ์ได้

ที่เสนอมายังไม่เห็นข้อมูลที่จำเป็นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท