กฏแห่งความสมดุล ตอนที่ 3


ประชาชาติสายกลางคือประชาชาติที่ยึดสายกลางระหว่างสิ่งสองสิ่งที่

ขัดแย้งกันทางสายกลางเป็นความสมดุลระหว่างสองสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

ความสมดุลของการชั่งวัดจะนำสู่(ตาชั่ง)ที่ได้ดุล "เมื่อเราเดินตามทางสายกลางไม่เอนเอียงไปทางซ้ายหรือขวา เราก็จะไปสู่ทางอันเที่ยงตรงหรือดังที่่ระบุในอัลกุรอานว่า "สิรอฏ็อลมุสตะกีม" มีความหมายว่า"ทางอันเที่ยงตรง"

ในการศึกษาเกี่ยวกับ "อุมมะตัน วะสะตัน" นี้ราวกับว่าเราได้ยินบทสนทนาระหว่างพระเจ้ากับบ่าวของพระองค์ดังนี้

  • เราได้สร้างพวกเจ้าเป็นประชาชาติที่เดินทางสายกลาง
  • ขอได้โปรดนำเราสู่ทางที่เที่ยงตรงอันทำให้เราเป็นประชาชาติที่เดินทางสายกลาง
  • ฉันได้ให้อัลกุรอานแก่สูเจ้าและฉันส่งรอซูลของฉันเพื่อให้พวกเจ้าเป็น "อุมมะตัน วะสะตัน" จนกว่าพวกเจ้าจะพบหนทางอันเที่ยงตรง หนทางอันเที่ยงตรงจะนำสู่เจ้าสู่ "เมืองแห่งสันติภาพ"  (อัสสลาม)
  • มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของพระองค์ ผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงชี้ทางนำแก่เรา
  • แต่สูเจ้ามิใช่เป็นบ่าวของฉันพวกเดียวที่ฉันรักและประทานความสันติให้ มนุษย์ทั้งมวลล้วนเป็นบ่าวของฉัน ในฐานะที่พวกเจ้าเป็น "อุมมะตันวะสะตัน" จงเป็นตัวอย่างแก่มวลมนุษยชาติเช่นที่บรรดารอซูลได้เป็นแบบอย่างแก่พวกเจ้า

    การดำเนินชีวิตในสังคมของประชาชาติที่อยู่ในทางสายกลาง 

 จะต้องมีการชั่งวัดเพื่อให้เกิดดุล หมายความว่า ในทุกสังคมจะต้องมี "กฏแห่งความสมดุล"

อ่านตอนที่ ๑ อ่านตอนที่ ๒ 

หมายเลขบันทึก: 85454เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2007 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท