NP การดูแลต่อเนื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด


"ท่าน...มีวิธีการจัดการอย่างไรเมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจอยู่ในชุมชน"

ได้มีโอกาสเป็นวิทยากรเรื่อง ก้าวท้นบทบาทการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโณคหัวใจและหลอดเลือด จึงได้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาล่าสู่กันฟัง

ตอนนี้วิทยากรการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดก้าวไกลมาก มีการคิดค้นหาวิธีการรักาษอย่างมากมาย แต่ที่แน่ๆแม้กระทั่งพยาธิสภาพของโรคก็ยังเปลี่ยนแปลงไป ความรู้ใหม่ๆถูกหักล้างในความเชื่อเก่าๆ ทำให้การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดย่อมปรับเปลี่ยนเช่นกัน

และแล้วเมื่อคนในชุมชนของท่านเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ต้องรับการรักษา พยาบาล NP อย่างเราๆท่านๆ ทำอย่างไรดี ท่าน .... จะมีวิธีการจัดการอย่างไรเมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจอยู่ในชุมชน"

  1. พยาธิสภาพค่ะ คงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า พยาธิสภาพของโรคหัวใจที่ผู้ป่วยในชุมชนของท่านป่วยเป็นอย่างไร ต้องเข้าใจให้ถูกต้องก่อน โดยการค้นคว้าหาความรู้ที่ทันสมัย คงต้องเป็นวิจัยหรืองานศึกษาต่างๆ
  2. การดูแลเรื่องยาค่ะ ยากับผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นของค่กัน การดูแลต่อเนื่องในชุมชน NP ต้องทราบปฏิกิริยาการออกฤทธิ์ของยา ฤทธิ์ข้างเคียงต่างๆ พร้อมทั้งการดูแลที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ป่วย จากเรื่องเล่าบอกว่า ยาโรคหัวใจบางตัวต้องการให้กินว่า 1/4 เม็ด แล้วเวลาที่ผู้ป่วยต้องหักยาในชีวิตประจำวันหักอย่างไรให้มันพอดีย่อมเป็นเรื่องยากลำบาก
  3. การดูแลเป็นพิเศษกับสิ่งพิเศษที่ติดตัวผู้ป่วยมา NP ก็ต้องรู้ว่า ถ้าเครื่องแบตตารีหมดต้องทำอย่างไร ถ้าใส่เครื่อง

ที่นี้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนคงต้องหาแนวคิดมาสนับสนุนว่า จะดูแลอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น case management, participation, or partnership or holistic care  แล้วพูดให้เป็นรูปธรรมละ ต้องดูแลอย่างไร ง่ายๆก็คือ NP คงต้องเข้าใจ พยาธิสภาพ ยา การสอดใส่สิ่งตรวจพิเศษต่างๆ แล้วก็ตามไปดูวิถีชีวิตของผู้ป่วยในชุมชนท่าน จากนั้นจัดบริการเน้นให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว จากนั้นเสริมพลังให้ชุมชนเข้ามาร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมการดูแลในชุมชน เท่านี้ ท่านก็คงจะจัดการได้

แต่การสร้างภูมิคุ้มกันโรคหัวใจและหลอดเลือดต่างๆหากที่เป็นภาระอันยิ่งใหญ่ของ NPที่นับวันทุกคนในชุมชนต่างเสี่ยงต่อปัจจัยการเกิดโรคไม่ว่า การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วนในเด็ก ภาวะโภชนาการเกินในผู้ใหญ่ การรับประทานอาหารเกินไป พฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบ AAA  ฯลฯ ดังนั้นการสร้างความตระหนักให้ทุกคนเห็นพิษภัย การปรับวิถีและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในปัจจัยที่ก่อให้เกิด แต่ก็นับว่าเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า สามเหลี่ยมเขยือนภูเขาซะอีก แต่ก็คงไม่เกินความสามารถถ้าปัญหานี้มันสำคัญสำหรับชุมชน และ NP เองอยากที่จะเห็นคนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีเช่นกัน

คำสำคัญ (Tags): #apn
หมายเลขบันทึก: 85267เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2007 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
NP เป็น APN ค่ะ หรืออาจเรียกว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ซึ่งจะเป็นบทบาทหนึ่งของพยาบาลผู้ชำนาญการ ซึ่งถ้าเป็น CNS ส่วนใหญ่อยู่ในโรงพยายาล มีความชำนาญการทางด้านคลินิกมากกว่า ส่วน NP จะเป็นพยาบาลผู้ชำนาญการในชุมชนค่ะ
ขณะนี้เรามี APN กี่สาขาค่ะ

อาจารย์ครับ ดูว่ากระผมไม่ค่อยเข้าใจศัพท์เฉพาะของอาจารย์เลยละครับ

แต่กระผมก็คิดว่าตัวเองน่าได้รับข้อแนะนำง่ายๆ ที่จะนำไปสนทนากับคนในชุมชนชนบท(บ้านผมเอง ชัยภูมิคร๊าบ) อย่างเหมาะสมและป็นประโยชน์กว่านี้สักหน่อย

เป็นไปได้ไหมครับที่จะย่อยความรู้ ให้เข้าใจง่ายกว่านี้อีกนิด เพราะน้ำย่อยของผมมันอ๊อนอ่อนครับผม

ฝันดีครับ

แนวคิดของ case management, participation หรืออื่นในการดูแลผู้ป่วยแต่ละกลุ่มโรคแบบนี้ อาจารย์มีวิธีแนะนำเรื่องการเชื่อมต่อระหว่างโรงพยาบาล และชุมชนอย่างไรดีคะ ถ้าเรายังไม่มีทั้ง CNS และ NP (ตอนนี้เราทำได้แค่การจัดการในward เท่านั้น)

พี่อยู่ที่ไหนค่ะ ตอนนี้กำลังเรียน APN ที่ม.บูรพา อยากสัมภาษณ์พี่ค่ะ ในวิชา Role ANP ค่ะ หรือช่วยติดต่อหนูทางเมล์ก็ได้ค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

ถึง คุณ won

ไม่ทราบว่า มีประเด็นในการสัมภาณ์อย่างไรค่ะ เพราะเป็นอาจารย์สอน

ไม่ใช่ APN ติดต่อได้ทางเมล์ค่ะ [email protected]

ถ้าช่วยได้ ยินดีค่ะ

อยากทราบว่า interventionที่พบในการดำเนินงานโรคหัวใจเป็นอย่างไรคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท