Rin
นางสาว วัชรินทร์ แพงศรี

สังเกตการณ์ค่าย"เรียนรู้การทำงาน สานวัฒนธรรม"


โครงการ "เรียนรู้การทำงาน สานวัฒนธรรม" จัดโดยนิสิตชมรมรักษ์ทางไทย สังกัดองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 16- 18 มีนาคม 2550 ที่โรงเรียนดงบังวิทยา อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

มีนิสิตเข้าร่วมประมาณ 40 คน และนักเรียน ป.5-ม.2 ประมาณ 100 คน นอกจากนี้ยังมีอาจารย์ของทางโรงเรียนมาร่วมชมกิจกรรมและดูแลลูกศิษย์ให้อยู่ในความเรียบร้อยด้วย

วันแรก (16 มี.ค.) กลุ่ม KM ก็ได้ไปร่วมสังเกตการณ์ด้วย มี 3 คน คือ พี่กล้วย กองแผนงาน พี่สวัสดิ์ กองทะเบียนและประมวลผล และดิฉัน ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ แต่เราไปไม่ทันเปิดงาน

 

แต่เราทันในช่วงที่วิทยากรบรรยาย มี 3 ท่าน คือช่วงแรกจะเป็น(ขออนุญาติเรียกชื่อเล่นนะคะ เพราะเห็นเรียกแต่ชื่อเล่นเลยลืมถามชื่อจริง) อ.ท๊อป จากราชภัฎกาฬสินธุ์ กับ อ.ตุ๊กตา จากโรงเรียสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กล่าวให้โอวาทแก่นิสิตและนักเรียนโดยจะพูดเกี่ยวกับเรื่องกิจกรรมและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ท้องถิ่น

 

จากนั้นก็จะเป็นท่านอาจารย์โสภี อุ่นทะยา อาจารย์ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันอก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บรรยายพิเศษในหัวข้อ "บทบาทและความสำคัญของการประยุกต์เรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น" ซึ่งจะเป็นลักษณะการให้นักเรียนมีส่วนร่วม โดยการออกมาตอบคำถาม(ส่วนมากนักเรียนก็ยังไม่กล้าที่จะตอบสักเท่าไหร่ อาจจะด้วยความไม่คุ้นเคยหรืออาย)

บรรยายเสร็จก็ได้แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่มๆละประมาณ 25 คน เพื่อทำกิจกรรมในช่วงบ่าย โดยแบ่งเป็นกลุ่มสีฟ้า เขียว เหลือง แดง และมีพี่นิสิตประจำแต่ละกลุ่ม

สำหรับช่วงพักเที่ยงเราทั้ง 3 คน ก็ได้ร่วมรับประทานอาหารกับอาจารย์ของโรงเรียนดงบังวิทยา และโรงเรียนสาธิต มมส.(ขอขอบคุณอาหารกลางวัน ฝีมือน้องๆนิสิต อร่อยมากๆค่ะ)

พอช่วงบ่ายน้องๆก็เข้าประจำกลุ่มที่จัดไว้เป็นห้อง โดยแต่ละกลุ่มจะต้องทำภารกิจของตัวเอง เพื่อนำเสนอให้กลุ่มอื่นๆดู ใน่ช่วงต่อไป โดยภารกิจที่ว่าก็จะเป็นไปตามหัวข้อ

1. ศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน

2. วรรณกรรมและนิทานพื้นบ้านอีสาน

3. ผญา ภาษิตโบราณอีสาน

4. เพลงกล่อมเด็ก สรภัญญะ

น่าเสียดายที่ไม่ได้อยู่ดูถึงช่วงนำเสนอ...แต่การไปสังเกตการณ์ครั้งนี้ แม้จะไม่ได้อะไรกลับมามากนัก แต่ก็ได้เห็นถึงความพยายามของนักกิจกรรม มมส. ของเรา ว่าได้ตั้งใจที่จะให้เกิดกิจกรรมนี้จริงๆ (แม้ว่าน้องๆนักเรียนจะดื้อไปหน่อย ก็คิดว่าไม่เป็นอุปสรรคมากนัก หากทำให้พวกเขาได้มีส่วนร่วม)

 

 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน QA_KM
หมายเลขบันทึก: 84951เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2007 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากครับ

พี่เองก็ย้ำกับนิสิตว่านี่คือ "ครั้งแรก" ของกิจกรรมในลักษณะเช่นนี้  ขอให้ตั้งใจและพยายามทำให้ดีที่สุด

และให้พยายามจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม  รวมถึงการจัดเก็บสรุปบทเรียน  เพื่อนำมาใช้ "ต่อยอด"  ในครั้งต่อไป  ซึ่งคิดว่าไปเกินความสามารถที่จะทำให้ดีได้ยิ่งกว่าเดิม

เป็นกำลังใจให้ทีม อนุกรรมการ KM มมส, และทีมชมรมรักษ์ทางไทย ครับ...

  • ลำดับเหตุการณ์ได้สมบูรณ์ตามกำหนดการครับ
  • ขอบคุณรินทร์อีกครั้ง แต่กระบวนการนี้อย่าลืมนะครับว่าการบ้านเรายังไม่จบนะ
  • ขอบคุณทั้ง 2 ท่านค่ะ
  • ที่เหลือก็คือ AAR ของน้องๆ ต้องนำมาสรุปค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท