ควันหลงจากดูงาน KM ที่กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย (ตอน 1)


คนของเขามีความเป็นชาตินิยมสูง ไม่แตกแยกความคิดกันเหมือนคนบ้านเรา ผู้นำก็เป็นคนเก่ง และเป็นคนดี มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

          15-17 มีนาคมไปดูงาน KM ที่กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย กับทีม KM จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีสำนักงานที่ดินจังหวัดและสาขา เป็นเจ้าของเรื่อง นำโดยท่านรองฯผู้ว่า วิเชียร(CKO) และ อ.สุรเชษฐ์ วิทยากรที่ปรึกษา KM จากสถาบันเพิ่มผลผลิตฯ ซึ่งถือเป็นโบนัสจากการทำ KM ปี 2549 รวม 32 คน
           ก่อนเข้าเรื่อง KM ขอเล่าถึง
สภาพบ้านเมืองของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ตามสายตาที่ตนเองพอเก็บเกี่ยวได้ในเรื่องต่างๆที่ถือเป็นเรื่องที่ดี กล่าวคือ
         เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาที่สลับซับซ้อนกัน อยู่ในเขตร้อนชื้นจะเห็นต้นไม้เขียวชะอุ่มเต็มไปหมด มีตึกสูงๆอันทันสมัยไม่แพ้ยุโรป อเมริกา แต่จะมีต้นไม้นานาพันธุ์ทั้งขนาดใหญ่เป็นร้อยปีและขนาดลดหลั่นกันลงมาขึ้น เขียวคลื้มปกคลุมไปหมดทำให้เกิดความชุ่มชื่นสบายตา หายใจโล่งปอด ทั้งๆที่อยู่ในเมืองหลวง
       ที่น่าทึ่งมากคือการสร้างเมืองหลวงแห่งอนาคตใหม่
ปุตราจาย่า” ที่มีการวางผังที่ดี นำศูนย์ราชการและหน่วยงานสำคัญๆต่างๆมาไว้ที่นี่ทั้งหมด และจัดผังเมืองที่เป็นสัดส่วน สวยงาม ทันสมัย และยิ่งใหญ่มาก ที่เชื่อมต่อจากกรุงกัวลาลัมเปอร์
          การพัฒนาบ้านเมืองของเขาแสดงให้เห็นถึง
วิสัยทัศน์ของผู้นำแต่ละคนที่กว้างไกล มองการณ์ไกล และทำเพื่อบ้านเพื่อเมือง ถนนหนทางสิ่งก่อสร้างแต่ละแห่งมีความมั่นคงแข็งแรง ยังไม่เห็นถนนสายใดที่เป็นหลุมเป็นบ่อ อาคารสถานที่ก็สะอาด เป็นสัดส่วน มุ่งประโยชน์การใช้สอยเป็นสำคัญ เช่นสนามบิน เป็นต้น (ไม่ต้องใหญ่โตเพื่อสร้างภาพแต่กลวงเหมือนสุวรรณภูมิของเรา) ถนนจะมีเลนให้รถมอเตอร์ไซต์วิ่งโดยเฉพาะ รถยนต์ก็ผลิตเองใช้เองเป็นส่วนใหญ่ และเขานิยมใช้รถคันเล็กๆประหยัดน้ำมัน ทั้งๆที่ประเทศเขามีน้ำมันใช้เอง (ก็มีเหมือนกันที่ยังใช้รถนอก แต่น้อย) นายกรัฐมนตรีเวลาใช้รถราชการยังต้อใช้รถที่ผลิตในประเทศ
        ที่น่าชื่นชมอีกเรื่องหนึ่งคือ
ระบบชลประทาน ที่เมืองเขาอยู่บนเนินเขาสลับซับซ้อนกัน และมีฝนตกตลอดปี น่าจะมีการพังทะลาย น้ำท่วมเมืองเหมือนบ้านเรา แต่ที่นั่นไม่มี เขาจะทำรางระบายน้ำรองรับกันเป็นเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ไม่มีใบไม้หรือพลาส ปี ติกในร่องระบายน้ำให้เห็นเลย ร่องระบายน้ำจะทำเป็นขั้นบันได เพื่อไม่ให้น้ำไหลเร็วเกินไป และเขาทำทะเลสาบ(คล้ายแก้มลิงของในหลวงเรา) รองรับน้ำเป็นจุดๆ และทะเลสาบที่ใหญ่มากคือที่เมืองใหม่ “ปุตราจาย่า” เราจึงไม่เห็นน้ำท่วมขังเวลาฝนตกหนักเลย(ตอนที่ไปฝนก็ตกหนักตลอด) บริเวณเนินเขาหรือที่ลาดชัน เขาก็ปลูกต้นไม้ให้รากยึดพื้นดิน มีพืชปกคลุมตลอด จึงไม่เห็นการพังทะลายของพื้นดินเลย แต่กลับเป็นการตกแต่งพื้นที่ให้ดูสวยงามด้วย
        ทำไมเขาทำได้ ? เราคุยกันในรถ ก็เห็นพ้องกันว่า เพราะคนของเขามีความเป็นชาตินิยมสูง ไม่แตกแยกความคิดกันเหมือนคนบ้านเรา ผู้นำก็เป็นคนเก่ง และเป็นคนดี มีวิสัยทัศน์กว้างไกลกันทุกคน

หมายเลขบันทึก: 84888เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2007 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ..ศน.ธเนศ

  • กลับมาแล้วหรือคะ...กลับมาก็ได้อ่านบันทึกกันเลยค่ะ  ...ดีจัง
  • ชาตินิยม..ผู้นำมีศักยภาพ..มีวิสัยทัศน์...
  • ที่สำคัญที่สุด....ไม่แตกแยกกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ...ครูอ้อยจะตามไปอ่านอีกนะคะ

สวัสดีค่ะครูธเนศ

            ตามมาอ่านค่ะ  Internetที่มหาวิทยาลัยเสียค่ะช่วงนี้ เห็นขึ้นชื่อเรื่องเข้าไปดูค่ะพอตอบ Internet เสียพอดีเลยกลับมาตอบที่บ้าน จริง ๆ คนเก่ง ๆ ในเมืองไทยก็เยอะ  แต่ประเทศเราแตกแยกทางความคิดกันเยอะเหมือนที่ครูธเนศบอกนั่นแหละค่ะ น่าเสียดายนะค่ะ  แต่ก็อยากเห็นประเทศไทยอยู่อย่างสงบสุขเสียทีค่ะ อย่างน้อยก็เห็นใน g2k นี่แหละค่ะที่น่ารักกันทุกคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท