การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัย


วัตถุประสงต์ของหลักสูตร คือ เสริมสร้างพัฒนา ทัศนะ ความเข้าใจ ความรู้ ทักษะความสามารถในการบริหาร สถาบันอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

          ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม  -  11  เมษายน 2550  ดิฉันตั้งใจว่า จะต้องมีบันทึกเรื่องเล่าเกี่ยวกับการบริหารอุดมศึกษาไม่เว้นแต่ละวัน  เพราะดิฉันมีโอกาส เข้ารับการอบรม หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 17  ของ สกอ. ที่ กทม. แม้ว่าระบบย่อยอาหารความรู้ของดิฉันจะช้ามาก  เพราะพกภารกิจประจำมาทำด้วยมากมาย  แต่ก็จะพยายามไม่ให้เสียความตั้งใจ

          วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม 2550  เวลา 09.00 -12.00 น. ศ.ดร.ชาติชาย  ณ เชียงใหม่  ผู้อำนวยการหลักสูตร  เกริ่นนำ : หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน  นับตั้งแต่ความเป็นมาของหลักสูตร นบม. ว่า  เริ่มราว ปี พ.ศ. 2543 – 2544  โดย ศ.นพ.เกษม  วัฒนชัย รัฐมนตรี  และปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ในสมัยนั้น ริเริ่ม  และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ร่วมสนับสนุน  เพื่อให้การพัฒนาผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการอย่างเป็นระบบ เกิดเครือข่ายเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา

 

          วัตถุประสงต์ของหลักสูตร คือ  เสริมสร้างพัฒนา ทัศนะ ความเข้าใจ ความรู้ ทักษะความสามารถในการบริหาร สถาบันอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ  และมีความมุ่งหวังให้ผู้บริหารที่เข้ารับการอบรม มี

  • มโนภาพ ทัศนะกว้างไกล ทันการณ์ 
  • ความสามารถในการวิเคราะห์  แก้ปัญหา
  • การตัดสินใจบริหารงานเป็นระบบ มีเหตุและผล
  • การระดมประสานทรัพยากรการบริหาร
  • การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันใน ประเทศและนานาชาติ
  • การประยุกต์ความรู้/แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างผู้เข้าสัมมนา

กลุ่มวิชา มี 5 กลุ่ม  ใหญ่ๆ


กลุ่มวิชาที่ 1 บริบทและยุทธศาสตร์ในการบริหารสถาบันอุดมศึกษา  ประกอบด้วยหัวข้อวิชาที่เน้นการบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ   อภิปราย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ดังนี้
• นโยบายการบริหารอุดมศึกษา
• พลังกดดันและโอกาสของการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา
• อนาคตประเทศไทย
• ทิศทางอุดมศึกษาไทยในกระแสการปฏิรูปการศึกษา
• จุดเด่นและข้อจำกัดของสถาบันอุดมศึกษา
• การบริหารอุดมศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 
• ประสบการณ์การบริหารมหาวิทยาลัย
• อุดมศึกษากับการค้าระหว่างประเทศตามข้อตกลงทวิภาคี
• วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐ
• บทบาทของรัฐในการกำกับการบริหารมหาวิทยาลัย
• การศึกษาดูงานการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

กลุ่มวิชาที่ 2 การพัฒนาการบริหารสถาบันอุดมศึกษา  ประกอบด้วยหัวข้อวิชา บรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  กรณีศึกษา อภิปราย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ดังนี้
• การบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์
• การบริหารการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ
• การบริหารวิชาการและการเรียนการสอน
• การบริหารเครือข่ายความร่วมมืออุดมศึกษา
• การระดมการสนับสนุนของศิษย์เก่า
• การประกันคุณภาพอุดมศึกษา
• การจัดการความรู้เพื่อการบริหารอุดมศึกษา
• การบริหารความขัดแย้ง
• อุดมศึกษากับการเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขของชุมชน

กลุ่มวิชาที่ 3 หลักการ  ประสบการณ์ และกรณีตัวอย่างจากต่างประเทศ เป็นการบรรยายและศึกษาดูงานการบริหารของมหาวิทยาลัยในประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี  ณ
• Johann Wolfgang Goethe University
• University of Cologne
• German Academic Exchange Service
• University of Heidelberg
• University of Karlsruhe
• University of Munich
ในเรื่อง
• Strategic and Performance Management
• Financial Management
• Quality Assurance
• Research Management
• Talent Management and Development
• Management of Change
• German Higher Education Management


กลุ่มวิชาที่ 4 การพัฒนาทักษะการบริหาร  ประกอบด้วยหัวข้อวิชา บรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  กรณีศึกษา อภิปราย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ในหัวข้อดังนี้
• ทักษะการสื่อสาร
•  ทักษะการพัฒนาตนเอง
• จิตวิทยาในการบริหาร
• การบริหารการเงินและการระดมทุน
• คุณธรรมและจริยธรรมในการบริหาร
• ภาวะผู้นำและวิธีคิดของผู้บริหารการศึกษา

กลุ่มวิชาที่ 5  การสรุปประสบการณ์และเตรียมการประยุกต์  เพื่อให้ผู้รับการอบรม ได้ประมวลและเผยแพร่ ถ่ายทอดประสบการณ์ทางการบริหารที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าฝึกอบรมด้วยกันและบุคคลทั่วไป รวมทั้งร่วมกันพิจารณาปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการบริหารที่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ กำลังประสบอยู่  และเสนอแนะแนวทางแก้ไขให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา และผู้บริหารทบวงมหาวิทยาลัยรับทราบเพื่อดำเนินการต่อไป  กลุ่มเสริมประสบการณ์นี้ประกอบด้วย

  1. การเสริมประสบการณ์และการประยุกต์  ได้แก่  การศึกษาดูงานสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพ  และ เยอรมนี
  2. การจัดทำรายงานบุคคล/กลุ่ม
    1. รายงานบุคคล  บทความ กรณีศึกษา ประสบการณ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษา 1 เรื่องความยาว 10 -15 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์ด้วยอักษร Eucrosia UPC 18 pt  กำหนดส่งภายในสัปดาห์ที่หนึ่งของเดือนเมษายน 2550  จัดพิมพ์ รวมเล่ม ส่งให้ผู้สัมมนาและผู้สนใจ
    2. รายงานกลุ่ม
      • สรุปประเด็นการบรรยายของแต่ละวิชาและ แต่ละกลุ่มวิชา
      • รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ
      • สรุปประเด็นการเรียนรู้จากการไปศึกษาดูงาน แต่ละครั้ง
  3. การประชุมเชิงปฏิบัติการ กลยุทธ์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา
    1. ระดมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ พิจารณาทำความเข้าใจประเด็นสำคัญ
    2. จัดทำข้อเสนอแนะระดับนโยบาย และปฏิบัติ
  4. การเสวนาแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารสกอ. และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาการบริหารอุดมศึกษา
    1. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์การพัฒนาอุดมศึกษา
    2. ประสิทธิผล/ประสิทธิภาพการเรียนรู้ ของผู้สัมมนา
    3. การร่วมคิด ร่วมทำเพื่อให้เกิดผล


          เป็นการอบรมที่เข้มข้นมากค่ะ  การบ้านก็เยอะมาก กลับเป็นนักศึกษาอีกครั้ง ทำให้เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ในฐานะผู้เรียนมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 84745เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2007 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 08:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยกับโครงการฝึกอบรมผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพราะเชื่อว่า สามารถสร้างสรรความคิดด้านการพัฒนาคนและแนวทางการเพิ่มพูนศักยภาพในการปฏิบัติงานแก่คณาจารย์และบุคลากรฝ่ายสนับสนุนได้เป็นอย่างดี 

ควรมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาผลงาน ได้แก่ สื่อการสอน งานวิจัย และเอกสารหรือตำราอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

สำคัญที่สุด สกอ. โปรดพิจารณาจัดโครงการอบรมและการระดมสมองแก่ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งแสดงถึงการเปิดโอกาสให้บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางวิชาการและคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ขอบพระคุณค่ะ

อ.สุดถนอม ตันเจริญ

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ หนองแขม กทม.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท