ธรรมะกับชีวิต 4:บุคคลที่ข้าพเจ้าไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยว (ต่อ)


แล้วจะอยู่กับคนกลุ่มนี้อย่างไร

-          อยู่ด้วยอุเบกขา  คือการวางใจเป็นกลาง  มองด้วยความเป็นไปอย่างธรรมชาติ  ตามเหตุและปัจจัย

       (อิทับปัจยตา)  ใครสร้างเหตุปัจจัยไว้อย่างไรก็ได้ผลเช่นนั้น

-          มีปีติกับสิ่งที่เขาทำได้ดี  ด้วยใจจริง  ด้วยสติ   ตามเหตุผล เฝ้ามองการเติบโตภายในของเขา  เพื่อประเมินซ้ำว่าอยู่ในระดับที่สามารถ  เรียนรู้แบ่งปัน รับฟังอย่างลึกซึ้งแล้วหรือยัง

-          เรียนรู้จากความพร่อง  ความไม่ดี  ความไม่งามของคนเหล่านี้  เพื่อสะท้อนตนเอง  ต่อยอดเพื่อปรับปรุงตน  และมองหาหนทางที่ควรจะเป็นด้วยฐานของความรู้ที่เป็นสากล จารีต  บริบท  และพุทธวิถี

-          ระมัดระวังในการข้องเกี่ยว สัมพันธ์     โดยยึดหลักที่จะสัมพันธ์ตามธรรมชาติ  ตามจริงมากที่สุด  เท่าที่สติ ปัญญาในช่วงขณะนั้นๆจะเอื้ออำนวย

-          บางครั้งก็ใช้วิธีการหนี....  คือเลี่ยง  เปลี่ยน  ไปให้ห่าง ไม่ข้องแวะกับคนประเภทนี้(จากประสบการณ์ที่ผ่านมา)   เพราะว่าได้รับผลกระทบที่มากเกินไป  มากเกินที่จะเรียนรู้และปรับตัวได้ทัน( ปัญญามาไม่ทัน )

 

ประสบการณ์ชีวิตจริง

   -     อาจจะเป็นเพราะว่าการเรียนรู้จากการเป็นกัลยาณมิตรกับทุกคน  ไม่ได้คิดอะไร  เมื่อเกิดประเด็นความขัดแย้งขึ้นมาบ่อยๆ  ก็เริ่มเรียนรู้ได   ดักทางได้  ตั้งแต่เล็กจนโต  เพราะว่าประสบการณืจะช่วยสอนเรา(ส่วนมากไม่ใช่ทั้งหมด)  ว่าคนแบบนี้...  คนที่คิดตัดสินใจแบบนี้....  คนที่ประพฤติกระทำตัวเช่นนี้.  ถ้ามาแนวนี้รับรองได้ว่าเป็นคนละแนวแน่นอน  ต้องระมัดระวังตัวพอสมควร 

-          ส่วนมากแล้วคนที่เป็นกลุ่มนี้เขาก็จะเป็นอย่างนี้จริงๆ ไม่ค่อยเปลี่ยนไปมากเท่าได  ส่วนมากก็เป็นคนที่ไม่ได้เข้ามาสู่การเป็นพันธมิตรแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  มีบ้างเหมือนกันแต่น้อยที่จะเข้ามาเป็นมิตรกันภายหลัง

-          เพราะการคัดสรร  เพราะว่าชีวิตที่เรียบง่ายอยู่แล้ว  ส่วนมากก็จะได้เรียนรู้และสัมผัสกับกัลยาณมิตรที่ดีงามเสมอ  เมื่ออยู่กับคนที่ดีเราก็เริ่มรับรู้และเรียนรู้แต่สิ่งที่ดีๆมากขึ้นเป็นเงาตามตัว  ต่อยอดการเติบโตด้านในของตนเอง  แบบค่อยๆเป็นไป

 อนาคตจะยังคงคิดเช่นนี้หรือไม่    จะเป็นไปอย่างไร

-          อนาคตเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอ  ตามกาล  ตามเหตุปัจจัย  และสติปัญญาที่อาจจะสามารถงอกงาม เจริญขึ้นกว่าเดิม  ขอเพียงให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  เรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้  วิธีที่จะพัฒนา  วิถีเพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านในของจิตใจ

-          อาจจะมีจุดเปลี่ยนที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป  หรือปิ๊งแว็บเข้ามาทันทีก็ได้

-          แต่จะพยามไม่หลีกหนีต่อไป  เพราะการเลี่ยง หลีกห่าง  ไม่ได้ทำให้เราได้เรียนรู้ในสิ่งที่ควรจะเป็น(เหมือนการหนีการทำข้อสอบที่มีโจทย์ลักษณะเช่นนี้)  

 

 

หมายเลขบันทึก: 84201เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2007 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยครับ

หลีกเลี่ยง แต่ไม่ หลีกหนี 

อย่างไรก็ตาม การคบหาคนดี ก็จะช่วยชุบชูจิตใจของเรา มีน้ำหล่อเลี้ยงด้วย ไว้ได้มีแรงไป เรียนต่อ จากคนพวกนี้อีกสักตั้งครับ

 

เป็นการเติบโตขึ้นเรื่อยๆจากภายใน

.....

ผมขอเรียนรู้ด้วย

ตามมาอ่านต่อจากตอน 1 ครับ.. 

ดีครับ...มีธรรมะอยู่กับตัว

มอง คิด วิเคราะห์ โดยใช้ธรรมะ การดำเนินชีวิตจะได้ถูกต้อง เกิดความสุขใจครับ...

เสนอ แบบคุณ mr Direct ทั้ง ตอน 1 ตอน 2   ครับ

ไม่ทราบว่า.งคิดเหมือนกันมั๊ยคะว่า..ในพรหมวิหาร 4 เนี่ย ..การวางอุเบกขาเนี่ย ยากสุดๆ  จากการประเมินของตนเอง..การที่เราจะไม่ทุกข์ไปกับคนที่ทุกข์ ซึ่งเราไม่สามารถจะช่วยเหลือได้เนี่ย..มันรู้สึกแย่มากเลย และตัวเองก็พยายามที่จะผ่านขั้นนี้ไปให้ได้..ก็อาศัยว่าช่วยได้ก็พยายามช่วยอย่างที่สุด..แต่ถ้าเกินกำลังก็ต้องพยายามปลง อุเบกขา..ว่าเป็นกรรมของเขา...ซึ่งก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้างก็ยึดหลัก..ท่านพุทธทาส ว่า

ทุกข์มีไว้ดู..ไม่ได้มีไว้เป็น...ก็ช่วยให้ทุกข์น้อยลงนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท