ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

วัสดุเพาะเห็ด...กับการจัดการทรัพยากร


ในการเพาะเห็ดนั้น ผู้เพาะต้องเข้าใจคำว่าเห็ด และต้องหาวัสดุเพาะที่เป็นอาหารอย่างเหมาะสม

ครั้นโรงเรือนเห็ดกำลังจะเสร็จ  จึงเกิดคำถามตามมามากมาย หลังจากที่ทีมนักศึกษาพัฒนบูรณาการศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับชุมชน และมหาชีวาลัยอีสาน ได้สร้างโรงเรือนเพาะเห็ดสำหรับการเรียนรู้เรื่องเห็ดครบวงจร แล้วก็พบว่ามีคำถามตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น

1. เราจะเพาะเห็ดอะไรกันดี

2. เพาะอย่างไรบ้าง

3. ใช้วัสดุอะไรในการเพาะ

4. เพาะแล้วจะจัดการกับผลผลิตอย่างไร

ฯลฯ

นี่เป็นเพียงคำถามเบื้องต้นที่เราขบคิดกันอยู่นาน ....จึงมีความเห็นสอดพ้องกันว่า แล้วเราจะเรียนรู้ และจัดการความรู้กันอย่างไร และแล้วจึงมีคำตอบที่ต้องรอการพิสูจน์ความจริงกันว่า เอาหละในประเด็นที่ 1 เราจะเพาะเห็ดอะไรนั้นเราต้องมามองในเรื่องของวัฒนธรรมการกินของคนในพื้นที่ก่อนครับว่าชาวบ้านเราชอบกินเห็ดอะไร ประเภทไหน ปริมาณเท่าไหร่ ตลอดทั้งมีสรรพคุณอย่างไร และแล้วก็ได้ข้อสรุปออกมาในเบื้องต้นว่า เอาหละคนแถวนี้ชอบกินเห็ด ขอนขาว เห็ดบด เห็ดหูหนู ตีนแรด แต่เห็ดที่ชอบมากอีกพวกหนึ่งแต่ไม่แน่ใจว่าจะเพาะได้หรือไม่คือ เห็ดปลวก (เห็ดโคน) เห็ดระโงก เห็ดผึ้ง และเห็ดเผาะ ก็เป็นอันว่าเมื่อเป็นเช่นนั้นเราต้องเพาะเห็ดต่างๆ ตามที่กล่าวมา

เพาะอย่างไรบ้าง? นี่ก็นับว่าเป็นคำถามที่ปราบเซียนมาแล้วนักต่อนัก เพราะว่าการที่จะบอกว่าเพาะอย่างไรนั้นเป็นหัวใจ และรายละเอียดปลีกย่อยที่มีบริบทที่แตกต่างกันค่อนข้างมากในแต่ละพื้นที่ คงไม่มีสูตรสำเร็จเหมือนการเปิดปลากระป๋องนะครับ จึงทำให้เกิดวัฎจักรการเวียนว่ายตายเกิดในอาชีพนักเพาะเห็ดให้เห็นร่องรอยไม่น้อยทีเดียว และจากแนวทางที่เห็นวิธีการเพาะที่พอที่จะนำมาเป็นประเด็นการเรียนรู้ในเบื้องต้นสามารถดำเนินการได้คือ

1. รูปแบบการเพาะเห็ดฟาง

2. การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

3. การเพาะเห็ดในขอนไม้

4. การเพาะเห็ดเลียนแบบธรรมชาติ

ใช้วัสดุอะไรในการเพาะ ครั้นเมื่อถึงประเด็นนี้จึงคิดกันค่อนข้างมากเพราะในพื้นที่บุรีรัมย์มีวัสดุอะไรบ้างที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเห็ด ทุกคนต่างขบคิด จึงมีความเห็นว่าฟางข้าวไง มีมากทีเดียวทั้งตอซัง และปลายฟาง อีกทั้งมีขี้เลื่อยไม้เบญพรรณอีกมากมายจากโรงเลื่อยที่มีอยู่ไป และมีค่อนข้างมาก

 

เอาหละซิ...เกิดปัญหาแล้วซิครับพอพูดถึงขี้เลื่อยที่ใช้ในการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกเราเคยได้ยินแต่เขาเอาขี้เลื่อยไม้ยางพารามาใช้ในการเพาะ แต่บ้านเรามีแต่ต้นยางนาและยางพารา ไม่มีขี้ (เลื่อย) แต่มีขี้เลื่อยไม้ชนิดอื่นๆ (ไม้รวม) ซึ่งก็ไม่เคยเอามาใช้ในการเพาะอย่างเป็นล่ำเป็นสัน จึงชักไม่แน่ใจว่าจะได้หรือไม่

ความท้าทายจึงเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นครั้นยังไม่มีใครทำเราต้องเรียนรู้วิธีการใช้ และทำ ทีมงานจึงได้ตัดสินอย่างไม่รอช้าไปเอาขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณที่มีอยู่ค่อนข้างมาก และได้มาฟรีๆ อีกต่างหาก แต่เราต้องไปขนเอาเอง เพื่อเตรียมความพร้อมการในการเพาะเห็ดต่อไป และสำหรับเห็ดในท่อนไม้ และเห็ดป่าเราก็คุยกันในเบื้องต้นแล้วว่าเราจะเพาะทั้งหมดทุกอย่างเพื่อให้เกิดชุดความรู้ในระบบการผลิตเห็ด ที่จะสอดแทรกเข้าไปในระบบเกษตรกรรมแบบประณีต ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องตามบริบทของแต่ละคนต่อไป

ขอบคุณครับ

อุทัย อันพิมพ์

14 มีนาคม 2550

โปรดติดตามตอนต่อไป....

หมายเลขบันทึก: 84117เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2007 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

กระบวนการเรียนเริ่มขึ้นแล้ว

บทที่1 เมื่อเซียนโดดปราบ

บทที่2 เซียนจะทำอย่างไร

บทที่3  เซียนสะอื้น เราจะเห็นน้ำตาเซียน หรือรอยยิ้มเซียน

บทที่4 คี่ หรือ คู่ เดี๋ยวก็รู้ ถ้าลงมือหา มันต้องเจอความรู้ สินะ

มีดที่ไม่เคยใช้งานจริง ย่อมไม่ทราบว่าด้ามไหนดีไม่ดี

ใช้วันแรก จะโยนทิ้งได้กว่าครึ่ง

วันที่ ๒ จะเหลือไม่กี่อัน

วันที่ ๓ จะเหลือแต่ของจริง

 

ทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ เหล็กดียิ่งตียิ่งแกร่ง

การเรียนรู้ที่ผ่านการทดลองปฏิบัติจริงอย่างนี้ มีชีวิตชีวา  น่าสนุกดีครับ

กระบวนการเรียนรู้จะบังเกิดผลได้ดีนั้น คนพูดหรือคนนำเสนอ จะต้องลงมือปฏิบัติกับของจริง  

ใช่ว่าไปอ่านของคนอื่นแล้วมาเขียน มาเล่า แล้วก็บอกว่าคนโน้น คนนี้ ทำไม่ดี ผมคิดว่าน่าเป็นแนวทางที่ไม่ค่อยเห็นด้วย และควรช่วยกันในการที่จะสร้างสรรค์ในการจัดการความรู้ที่สมานฉันท์ จะดีกว่า

การได้ลงมือทำเอง ศึกษาเอง มันส์ แล้วเขียนเอง มันอย่างสุดๆ ยิ่งกว่ากินหมูเลยที่เดียวครับ

เด็กเกษตรเทคโนเสร็น โกดกง 45

ข้า คือ ลูกชาวนาผู้อย่างใหญ่

ชาวนา ผู้เสียสละและอดทน ผู้ที่สังคมมองข้าม ผู้ที่ถูกกดขี่จากนายทุน

ผมเคยคิดที่จะเพาะเห็ดปลวก และต้องเพาะให้ได้

สมจินต์ ว่องวิชญกร

ถ้าจะใช้ ขี้เลื่อย ไม้ยางพารา หรือไม้เบญจพรรณ ชนิดต่าง ๆ ที่ได้ทำการ อบน้ำยา ฆ่าแมลงแล้ว นำมาใช้ปักชำกิ่งต้นกล้าไม้เถา

หรือทำเป็นเชื้อเพาะเห็ด ได้หรือไม่ ขอความอนุเคราะห์ช่วยกรุณาตอบกลับด้วยครับ จักเป็นพระคุณอย่างสูง

สนใจการเพาะเห็ด ตอนนี้กำลังหาข้อมูลอยู่ หากท่านใดมีขัอมูลดีๆจะเเนะนำเพื่อเป็นความรู้  ก็ช่วยกรุณาด้วยนะครับ   ที่ [email protected]

จำหน่ายชุดเพาะเห็ดคอนโด แบบรดน้ำอัตโนมัต ชุดละ3500 บาท

ประกอบด้วย

1

. โครงอลูมิเนียมปลอดสนิม 2.ตัวตั้งเวลาอัตโนมัต 3.ปั๊มน้ำ 4.ถังใส่น้ำ 5.ก้อนเชื้อเห็ดพร้อมเปิดดอก 30 ก้อน

6.ผ้าใบคลุมชุดเพาะ 7.ชั้นวางก้อนเห็ด

เป็นชุดเพาะเห็ดขนาดกระทัดรัด 40X60X120 เป็นชุดเพาะเห็ดขนาดครอบครัวสามารถเพาะได้แม้มีพื้นที่น้อย

ตั้งได้ทุกที่ในบริเวณบ้านหรือที่ ที่ไม่โดนแสงแดดเช่น ห้องนอน ห้องครัว ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น

สำหรับบริโภคในครัวเรือน เรียนรู้เพื่อขยายเป็นธุรกิจ

สนใจติดต่อ หมูผักอนามัย เลขที่ 128 ถ.วุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง บางขุนเทียน กทม

โทร 089-6809738

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท