kUnG
นาย ศรีเกียรติ เอียดขลิก

การประยุกต์ xDSL มาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า


ก่อนอื่น ขอสรุปจากบทความที่แล้วก่อน ถึง xDSL แต่ละประเภท จุดดีจุดเด่น และข้อจำกัดของแต่ละประเภท

xDSL 

ความเร็วสูงสุด 

ระยะทาง
สูงสุด 

จุดเด่น 

ข้อจำกัด 

 ADSL

DL 8Mbps
UL 1Mbps

5 Km. 

อัตราความเร็วในการ DL สูง

อัตราความเร็วในการ Upload น้อย 

 G.SHDSL

DL 2.3Mbps
UL 2.3Mbps 

 9Km.

 อัตราความเร็วในการ UL
สูงกว่า ADSL

 ความเร็วสูงสุด 2.3Mbps

 VDSL

DL 15Mbps
UL 15Mbps

 1.2Km

 ความเร็ว UL และ DL ได้สูง

 ระยะสูงสุดได้แค่ 1.2Km

 HPNA

DL 1Mbps
UL 1Mbps 

 300M

 ราคาถูก

 ระยะสูงสุดได้แค่ 300M

 

จากจุดเด่นดังกล่าว เราจะต้องนำสิ่งเหล่านี้มาประกอบกัน ให้เป็นระบบ ให้เหมาะสมกับความต้องการ แต่ต้องไม่ลืมว่า เทคโนโลยี xDSL มีพื้นฐานโครงข่ายเป็นสายทองแดง ระยะทาง และความเร็วที่แสดง จะบอกที่สูงสุด แต่ในทางปฏิบัติจริง ความเร็วที่ได้ จะแปรผกผันกับระยะทาง นั่นหมายความว่า ยิ่งระยะทางไกลขึ้น ความเร็วที่จะได้ ก็จะลดลงด้วยตามลำดับ ซึ่ง ADSL ไม่ได้หมายความว่า ที่ระยะทางที่ 5Km จะได้ความเร็วที่ 8Mbps/1Mbps

เช่น ต้องการความเร็ว ADSL ที่ 8Mbps/1Mbps จะต้องมีระยะห่างไม่เกิน 1.8 กิโลเมตร จากชุมสาย หรือ ถ้าต้องการความเร็ว ADSL ที่ 4Mbps/1Mbps จะต้องมีระยะห่างจากชุมสายไม่เกิน 3 กิโลเมตร ดังนั้นที่ระยะ 5Km อาจจะได้ความเร็ว ADSL แค่ 256Kbps/128Kbps เป็นต้น

ต่อไปจะกล่าวถึงอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ งบประมาณ แล้วก็รูปแบบการนำ xDSL ไปประยุกต์ใช้

ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)

Cisco 827 ADSL
Cisco 827 ADSL Router

ในการเชื่อมต่อ ADSL จะประกอบด้วยอุปกรณ์ 2 ฝั่ง เอาเป็นว่าฝั่งต้นทางและฝั่งปลายทาง ฝั่งต้นทางของ ADSL จะเป็น DSLAM (Digital Subscriber Line Access Multiplexer) พูดง่ายๆก็คือ ตัวรับโมเด็ม ADSL นั่นเอง ส่วนฝั่งปลายทางก็จะเป็นอุปกรณ์ ADSL Modem หรืออาจจะเป็น ADSL Router/Modem ซึ่งจะมีความแตกต่างกันนิดหน่อย

DSLAM ก็จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขนาด จำนวนของ Port ซึ่งก็มีตั้งแต่ 8/16/24/48 Port หรือหลายร้อย Port ในตัวเดียว ในแต่ละ Port ก็สามารถกำหนดความเร็วในการรับส่ง แยกอิสระต่อกัน

ADSL Modem หรือ ADSL Modem/Router ปัจจุบันราคาของ Modem ADSL จะใกล้เคียงกับ ADSL Modem/Router ดังนั้นจะเห็นว่าในท้องตลาดจะมีขายแต่ ADSL Modem/Router กันหมด ซึ่งสามารถรองรับทั้ง ADSL/ADSL2 และ ADSL2+ ในราคาไม่กี่พันบาท บางรุ่นก็จะมี feature ของ Wi-Fi ติดมาด้วย เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน

การประยุกต์นำไปใช้งาน คุณสมบัติพิเศษของ ADSL ก็คือเน้นอัตราการ Download เป็นหลัก ซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานอินเตอร์เน็ต หรือการทำ Broadcast Multimedia ต่าง ๆ พวก VDO Streming, Radio Broadcast  แต่หลักๆที่ใช้กันมากก็คือ นำมาให้บริการอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น ISP นำมาใช้ให้บริการแก่ลูกค้า หรือหอพักอพาร์ตเม้นท์ ติดตั้งให้ลูกค้าสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตในห้องพักได้ ซึ่งจะนำมาใช้ร่วมกับโครงข่ายโทรศัพท์เดิมที่มีอยู่แล้ว และยังสามารถใช้งานโทรศัพท์พร้อมกับรับส่งข้อมูลไปพร้อมๆกันได้

งบประมาณในการติดตั้งการใช้งาน ADSL

ปัจจุบันราคาอุปกรณ์ ADSL ได้ลดลงจากเมื่อก่อนมา ราคา DSLAM ขณะนี้ 24 Port ตกประมาณ 5 หมื่นกว่าบาท ถ้าเฉลี่ยต่อ Port ก็จะอยู่ที่ราคาประมาณ 1500-2500 บาทต่อ Port ส่วนอุปกรณ์ปลายทาง จะตกประมาณ 1000-2000 บาท ดังนั้นถ้าหากโรงแรม อพาร์ตเม้นท์ หรือคอนโดต้องการที่จะติดตั้งระบบ ADSL ให้บริการลูกค้า เริ่มต้นที่ 24 Port ก็จะใช้เงินลงทุนอุปกรณ์ประมาณ 60000 บาท ส่วนอุปกรณ์ปลายทางอาจจะให้ลูกค้าเป็นคนหาซื้อเอง ก็จะลดต้นทุนไปได้ ค่าติดตั้งและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ก็น่าจะไม่เกิน 1 หมื่นบาท ก็สามารถได้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงรองรับ 24 ห้องพัก และยังสามารถควบคุมความเร็วของแต่ละห้องได้อีกด้วย ก็เป็นทางเลือกนึงแทนการเดินสาย LAN ทุกห้องที่ไม่สามารถควบคุมได้ และเสียค่าใช้จ่ายที่สูง

แต่ถ้าหากคุณเป็นผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต แล้วจะเลือกใช้บริการอินเตอร์เน็ต ADSL ว่าแต่ละประเภทแต่ละแบบเป็นอย่างไร ทำไมมีตั้งแต่ราคา 500 กว่าบาท จนกระทั่งหลายพันบาท อันนี้ผมขออธิบายในหัวข้อต่อไปแล้วกันครับ หัวข้อนี้ของพูดถึงระบบโครงข่ายก่อน

G.SHDSL

ด้วยข้อจำกัดเรื่องความเร็วในการ Upload ของ ADSL จึงได้มีการนำเทคโนโลยี G.SHDSL มาใช้งาน ในระบบเครือข่ายที่ต้องการ Upload สูง หรือให้บริการข้อมูลกับผู้อื่นเป็นหลัก ด้วยคุณสมบัติความเร็วในการ Upload และ Download ที่เท่ากัน และจุดเด่นอีกอย่างนึงก็คือ ระยะทางที่ได้ไกลขึ้น ยกตัวอย่างเช่น G.SHDSL ที่ความเร็ว 2.3Mbps/2.3Mbps จะไปได้ไกลสูงถึง 3-4 กิโลเมตร และสามารถเพิ่มเป็น 4.6Mbps/4.6Mbps โดยทำงานในโหมด 4-Wire ซึ่งเด่นกว่า ADSL อย่างเห็นได้ชัด

ดังนั้น G.SHDSL จึงได้นำไปใช้ในองค์การที่มีการติดตั้ง Web Server, Mail Server, Game Server, VPN, หรือแม้กระทั่งใช้งานร่วมกับ CCTV หรือ IP-Camera โดยสามารถเปิดให้บริการแก่บุคคลอื่นเข้ามาใช้งานได้

อุปกรณ์สำหรับการใช้งาน G.SHDSL

ก็คล้ายกับ ADSL แต่จะแตกต่างกันนิดหน่อย เนื่องจาก G.SHDSL เป็น DSL ที่มีลักษณะเป็น Symmetric คือความเร็วในการรับและส่งข้อมูลเท่ากัน ดังนั้นอุปกรณ์ฝั่งต้นทาง และฝั่งปลายทาง สามารถใช้ตัวเดียวกันได้ ซึ่งก็จะมีจำหน่ายอยู่ ราคาตกประมาณตัวละ 5000 บาท โดยสามารถกำหนดให้เป็นต้นทาง หรือ ปลายทางได้

Zyxel G.SHDSL Router
Zyxel 791 G.SHDSL Router

ซึ่งก็มีทั้งแบบ V.35 Interface ต่อจาก Router ไปยัง Router อีกฝั่งนึง หรือจะเป็นแบบ Ethernet Interface สามารถต่อจาก Switch ฝั่งนึงไปยัง Switch อีกฝั่งนึงได้ทันที ในรูปแบบ Route Mode หรือ Bridge Mode (อาจจะงงนิดหน่อย แต่เอาเป็นว่ามันมีหลายแบบขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่เราจะนำมาต่อพ่วงด้วย)

จะเห็นว่าการใช้งาน G.SHDSL จะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าอุปกรณ์สูงกว่า ADSL และการใช้งาน G.SHDSL ก็ไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ไปพร้อมกันได้ เนื่องจากความถี่ในการใช้โทรศัพท์จะนำมาเพิ่มความเร็วในการ Upload ข้อมูล

VDSL

 การนำ VDSL มาใช้งาน ส่วนมากจะเป็นการใช้งานแบบจุดต่อจุุด โดยมีสายโทรศัพท์เดิมอยู่แล้ว ในระยะที่เกินกว่าสาย LAN จะใช้งานได้ ยกตัวอย่างเช่น ภายในอาคารเดียวกัน หรือข้ามอาคารที่ห่างกันไม่มากนัก ระหว่างตึก แทนการใช้ Fiber Optic วิธีการติดตั้ง VDSL ก็ไม่ยาก ซึ่ง VDSL จะมีลักษณะคล้ายกับ Converter แปลงจากสายโทรศัพท์เป็นสาย LAN เพื่อต่อเข้า Switch

 

AT-MC602
AT-MC602 VDSL Converter

 

 โดย VDSL แต่ละยี่ห้อ จะมีการ config ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งต้องศึกษาเพิ่มเติมเอาจากคู่มือ แต่ก็ไม่ยาก แค่ปรับความเร็วที่เหมาะสมกับสาย แค่นี้ก็สามารถใช้งานได้แล้วครับ

ราคาอุปกรณ์ VDSL ตกอยู่ประมาณตัวละ 3500-5000 บาท ซึ่งจะแยกออกเป็นตัว Master และ Slave ก็คือตัวต้นทางและตัวปลายทางนั่นเอง เวลาสั่งซื้อต้องดูให้ดีนะครับ เนื่องจากมันเป็นคนละตัวกัน ตัวต้นทางจะเป็นตัวปรับความเร็ว ส่วนตัวปลายทางจะเป็นแค่ตัวรับอย่างเดียว ไม่สามารถปรับความเร็วได้

HPNA (Home Phone Network Association)

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น home phone network มันก็คือเอาโครงข่ายโทรศัพท์ภายในบ้านมาต่อกันเป็น network นั่นก็หมายถึง หมายเลขโทรศัพท์ภายในองค์กร นำมาใช้รับส่งข้อมูล จุดเด่นของ HPNA ก็คือราคาที่ค่อนข้างถูกและง่ายในการติดตั้ง

แต่ข้อจำกัดของ HPNA ก็คือความเร็วที่ 1Mbps และระยะทางไม่เกิน 300M

8 Port HPNA Switch

8 Port HPNA Switch 

ราคาอุปกรณ์ HPNA Version 1.0 ในขณะนี้ ถ้าเป็น Switch 8 Port HPNA ก็ตกประมาณ 8000 บาท อุปกรณ์ โมเด็มสำหรับปลายทาง ตกประมาณ 1500 บาท ราคายังถือว่าแพง เนื่องจากไม่ค่อยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเท่าที่ควร แต่ก็เหมาะสำหรับหอพัก หรือแมนชั่น โรงแรม ขนาดเล็กไม่กี่ห้องพัก เฉลี่ยแล้วหากต้องการติดตั้ง HPNA จำนวนเริ่มต้นที่ 8 ห้องพัก จะต้องใช้ Switch HPNA 8 Port 1 ตัวราคา 8000 บาท และก็ Modem HPNA จำนวน 8 ตัว ตัวละ 1500 บาท ค่าอุปกรณ์รวมก็ประมาณ 20000 บาท อาจจะมีค่าแรงค่าติดตั้ง ก็ไม่น่าจะเกิน 25000 บาท สำหรับติดตั้ง HPNA 8 ห้องพัก

สรุปส่งท้าย

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี xDSL จะนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสายทองแดงเดิมที่ีมีอยู่ แทนที่จะทำการเดินสาย LAN หรือเดินระบบ Fiber Optic ซึ่งจะนำมาประยุกต์กับระบบโทรศัพท์เดิมที่มีอยู่ หรือตู้สาขา ระบบโทรศัพท์ภายใน ซึ่งสามารถเลือกให้เหมาะสมกับงบประมาณ ความเร็วที่ต้องการ และระยะทาง รวมถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ของแต่ละแบบ 

ขอบคุณครับ

kUnG 

คำสำคัญ (Tags): #adsl#networking#xdsl
หมายเลขบันทึก: 83824เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท