ปัญหานักศึกษา... มหาวิทยาลัยควรมีบทบาทยังไง


ใครควรจะดูแลพวกเขา ... หรือว่าไม่ต้องดูแล? ทุกคนโตแล้ว ดูแลตัวเองได้??

วันนี้เป็นอีกวันที่ต้องสัมภาษณ์ทุนขาดแคลน ของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งก็ยิ่งตอกย้ำความสลดหดหู่ใจหลังจากการสัมภาษณ์ทุนขาดแคลนของมหาวิทยาลัยเมื่อประมาณเดือนก่อน

นักศึกษาบางคนมีชีวิตเหมือนละครน้ำเน่าไม่มีผิด ... บางคนมีปัญหาครอบครัวแตกแยก หรือยังรับไม่ได้กับสภาพครอบครัวที่เปลี่ยนไป มีความอบอุ่นน้อยลง รายได้ลดลงอย่างกระทันหัน ต้องปรับตัวไปหางานพิเศษทำจากที่ไม่เคยทำมาก่อน

บางบ้านมีรายได้ต่อไปไม่ถึง 120,000 บาท ...

ยิ่งนักศึกษาคนไหนเจอประสบการณืเรื่องเหล่านี้ในวัยที่โตแล้ว จะยิ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เหล่านี้มากขึ้น อัดอั้น เก็บมันไว้ข้างใน กระทบการเรียน และกระทบชีวิตในสังคมนักศึกษาของเขา ซึ่งความอัดอั้นเหล่านี้จะนำชีวิตพวกเขาไปสู่อะไรก็ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้

สิ่งที่คิดก็คือว่า เราจะช่วยเขาอย่างไรได้บ้าง ขอบเขตการช่วยเหลือเรื่องนี้ของ "อาจารย์"อยู่ที่ไหน เพราะก็ต้องไม่ลืมว่า "อาจารย์มหาวิทยาลัย" ก็มีขอบเขตงานของตัวเองเหมือนกัน ในขณะที่งานบางส่วนอาจจะไปอยู่ที่กองกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ซึ่งก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรเลย

แล้วใครควรจะดูแลพวกเขา ... หรือว่าไม่ต้องดูแล? ทุกคนโตแล้ว ดูแลตัวเองได้??

ผมว่าไม่นะ เด็กสมัยนี้ แม้จะโตเร็วแก่แดดในเรื่องแฟชั่น ความรัก หรือเรื่องคะนองต่างๆ แต่หลายครั้งด้วยประสบการณ์ชีวิตที่ไม่มากทำให้พวกเขาขาดวุฒิภาวะในบางเรื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการคนชี้แนะในบางเรื่อง

หนทางไหนจะเป็นวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ระบบสนับสนุนของมหาวิทยาลัยแบบไหนจะรองรับนักศึกษาที่ประสบปัญหาเหล่านี้ได้? ?? มีใครเคยทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้แล้ว Work บ้างไหม??

...ได้แต่คิดอยู่ในใจ....

หมายเลขบันทึก: 83452เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์ค่ะ

ดิฉันเคยเห็นได้ทำงานในหน่วยงานของมหาวิทยาลัยค่ะ  ซึ่งเป็นการเปิดโอกา่สให้นักศึกษาทำงานในหน่วยงานของมหาิวิทยาลัยและรับเงินเป็นรายชั่วโมงค่ะ ซึ่งตรงนี้อาจเป็นมุมหนึ่งที่จะช่วยนักศึกษาได้  เพราะสามารถทำงานในเวลาว่างจากการเรียน

ลักษณะนี้คงมีอยู่เกือบทุกสถาบันการศึกษาค่ะ

นอกจากนี้ ที่พอจะคิดได้คงต้องสนับสนุนให้นักศึกษาสร้างรายได้ด้วยตนเอง ในทางที่สุจริต ต้องบอกว่าแต่ละคนก็มีภาระที่แตกต่างกันไปตามพื้นฐานของครอบครัว หากมีน้อยก็คงต้องทำงานหนัก เพื่อให้มีรายได้ ใช้้จ่ายในชีวิตประจำวันค่ะ 

คนจนยากยังมีอีกมากในสังคมไทยครับ....ผมก็เคยผ่ายจุดนั้นมาเหมือนกันครับอาจารย์

  • รัฐควรฉีดวัคซีนให้กับคนทุกครอบครัว และทุกองค์กร
  • ครอบครัวควรฉีดวัคซีนให้กับลูกๆ
  • โรงเรียนควรฉีดวัคซีนให้ นักเรียน นักศึกษา
  • คนควรฉีดวัคซีนให้กับสิ่งแวดล้อม
  • เมื่อวัคซีนที่ดีที่ฉีดเข้าไปให้กับทุกๆ คน ประเทศชาติหรือทุกคนจะอยู่ได้เองครับ
  • มีภูมิต้านทานให้อยู่ดีมีสุข อยู่ที่ว่าเราพร้อมแล้วหรือยังที่จะให้คนอื่นฉีดวัคซีนให้เรา หรือหากเราพร้อมและมีวัคซีนนั้นเพียงพอแล้ว เราจะฉีดวัคซีนนั้นให้กับผู้อื่นแล้วหรือยัง
  • สำหรับคำว่าวัคซีนคืออะไร ต้องค้นหากันเองนะครับ
  • ผมว่ามันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมครับ เราต้องพยายามค้นหาสาเหตุให้เจอครับว่ามาจากไหน แล้วแก้ที่จุดนั้น
  • ก็เหมือนกับต้นไม้ครับ ถ้าเห็นว่าใบมันเฉา ต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเพราะอะไร มันเป็นโรคหรือไม่ หรือมันขาดน้ำ ถ้ามันเป็นโรค ให้เรารดน้ำขนาดไหนก็รอดยากครับ
  • ปัญญาน้อยๆ ของผมคิดได้แค่ว่า ควรแก้ที่หน่วยย่อยของสังคมก่อนเป็นอันดับแรก คือครอบครัว แล้วก็โรงเรียน และใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
  • แต่ผมขอสรุปว่าเป็นปัญหาของการศึกษาครับ ถ้าเรามัวแต่ฝากความสุขของเราเองไว้กับสิ่งนอกตัว มันก็ไม่มีวันเป็นสุขหรอกครับ
  • ในระดับคนที่โตแล้ว หรือพวกนักศึกษาก็แก้กันไปตามอาการก่อนครับ เพราะเป็นไม้แก่แล้ว ควรเริ่มต้นที่เยาวชนก่อนครับ
  • พวกโจรก่อการร้ายก็เริ่มที่เยาวชนก่อนนี่แหละครับ

           เมื่อตอนที่ใช้ชีวิตทางการศึกษาอยู่ที่ มธ. ศูนย์รังสิต  ปี 1  เพื่อนฝูงที่เห็นหน้ากัน ก็ยังคงเป็นสิ่งแวดล้อมให้เห็นกันจนครบ 1 ปี ณ จังหวัดปทุมธานี มาโดยตลอดค่ะ

          แต่พอย้ายไปประจำการที่ ท่าพระจันทร์แล้ว มีเหตุที่ทำให้ต้องสะดุดใจอย่างหนึ่ง คือ  เพื่อนคนหนึ่งหายหน้าไป   ติดตามสอบถามกับเพื่อนที่รู้จักเขาดี  จึงทราบว่า   เขาลาออกไปแล้ว  ด้วยเหตุผลว่า  ทางบ้านไม่มีเงินให้เรียนต่อค่ะ......... เพื่อนๆที่เพิ่งทราบข่าว นอกจากจะสลดแล้ว ยังงงๆว่า ทำไม เขาไม่ต้องการคำปรึกษาจากใครบ้างเลยเขียวหรือ..........เพราะทางเลือกของชีวิต ไม่น่าจะมีแค่หนทางเดียวที่เขาจะสามารถเลือกได้ ....... เหมือนกับการเดินทางมาที่ท่าพระจันทร์ .....มันไม่ได้มีแค่การนั่งรถมาอย่างเดียว  เรานั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาได้ค่ะ.... 

          ภาพตัดกลับมาที่  ครั้งหนึ่ง.... เพื่อนอีกคนหนึ่ง ชวนให้ไปเป็นเพื่อน  เพื่อเลือกซื้อชุดสำหรับใส่ในงานวันเกิด   SHE เลือกไปซ็อปฯ ที่ห้างหรูแห่งหนึ่ง  และเลือกได้ 1 ชุด ราคาชุดมีมูลค่าใกล้เคียงกับอัตราเงินเดือนมาตรฐานของ บริษัทเอกชน ที่จ่ายให้กับพนักงาน 1 - 2 คน สามารถใช้ได้เพียงพอไปได้ตลอด 30 วัน  หรือพูดง่ายๆ ก็คือ  เพียงพอที่จะจ่ายให้เพื่อนคนนั้น.....คนที่จากเราไปแล้ว..... สามารถลงทะเบียนเรียนได้หลายปีเลยค่ะ .........

          ขอย้ำว่า ชุดๆนี้ ใส่แค่สวยเริ่ดเชิดหรูในคืนวันเกิดเพียงคืนเดียว. ณ ตอนนั้น  SHE ก็ยังดำรงสถานภาพนักศึกษา  (ซึ่งไม่มีรายได้).  และอันที่จริงแล้ว   ก็อยากจะแสดงโอวาทสั่งสอนเพื่อนคนนี้ให้ปรากฏค่ะ  แต่ด้วยวัยที่ใกล้เคียงกัน  ทำไป มันก็ไม่ WORK  แต่ขอ ท็อปสปิน โฟร์แฮนด์หน้าเน็ต ยัน  (แปลว่า ยืนยัน ค่ะ  คือจะใช้มุก "ตีลังกายัน" มันก็เก่าไปแล้ว)  ว่า ชาติหน้า ถ้ามีจริง  แล้วได้ไปเกิดเป็นญาติผู้ใหญ่ของเพื่อนคนนี้   ................ก็คง จับมาอรรถาธิบายไปแล้ว  ว่ามันไม่ผิดหรอกนะ  ที่บ้าน SHE รวย..สามารถเป็นสาวกกระเป๋าหลุยส์ได้ทุกเวอร์ชั่น   .แต่ เรื่องการใช้เงิน...มองดูแล้ว  มันไม่สมควร   ยังไงก็ไม่สมควร     เข้าใจมะ..E หนู "  จากนั้น คงพาไปตะลอนทัวร์  ตามสถานที่ต่างๆ  เป็นกลุ่มคนอีกด้านหนึ่ง  ที่ยังรอความช่วยเหลือของสังคมค่ะ .. 

       แล้วถ้าชาตินี้ล่ะ  ก็คงต้องหวังพึ่งพิง พระเจ้าจอร์ช สถานเดียวค่ะ  หรืออาจารย์ท่านใด พอจะฝากความหวังให้พึ่งพิงได้บ้างค่ะ.......

          ภาพตัดกันฉึบฉับอย่างนี้     ทำให้เกิดคำถามในใจว่า  ทำยังไงให้ฝนตกได้ทั่วฟ้า....ปรึกษาใครดีคะ......นักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์รายวัน อย่าง เบอร์นาร์ด - แขกขายถั่ว ประจำสถาบัน     หรือว่าอภิมหาเศรษฐีอย่างคุณบิลล์  เกตต์  (จริงๆแล้ว คุณบิลล์  ก็น่าจะมาร่วมฟังปัญหานี้ด้วย  เพราะนักศึกษา และบัณฑิตของสถาบันเรา ล้วนแต่อุดหนุดผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟท์ ของเขาอยู่ค่ะ)   

         ถ้าทฤษฎี "ฝนตกไม่ทั่วฟ้า" ยังคงมีอยู่ในสังคม  ขอเรียนอาจารย์ชลตรงๆเลยนะคะ    การดูแลนักศึกษาทุกคน(ไม่ใช่แต่เฉพาะที่ขอทุน)   เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นยิ่งค่ะ......เพราะอย่างน้อย ก็เป็นการช่วยชี้นำขีวิต   ให้มันได้เรื่องได้ราว  ถ้ามันเกินความพอเพียง   ให้เพลาๆ ลงมาบ้าง         เปรียบประดุจเป็น หนังสือ HOW TO  ให้น้องๆได้พลิกอ่านค่ะ           

        "ยากไปแล้ว...เจ๊......กับการที่บรรดาอาจารย์จะต้องดูแลนักศึกษาทุกคน.!!!!....."   เอ๊ะ.....เสียงใครบ่นก็ไม่ทราบ   ได้ยินชัดเจนเลยค่ะ

         เอ้า.....ถ้างั้น พูดแบบง่ายๆก็ได้ค่ะ  คือ ขอบอกว่า  คงต้องรบกวนอาจารย์ชล  ช่วยอ่านงานเขียนของรุ่นพี่เราบางคน      คือ "ครูเตร"    เล่มที่ชื่อ "เมาธ์แตก...ลูกศิษย์เวร" ค่ะ  แม้ไม่ใช่หนังสือ ประเภท HOW TO  แต่หนังสือนี้ น่าจะมีคำตอบดีๆให้ทุกคนที่เป็นอาจารย์ค่ะ ....สวัสดีค่ะ

 

     

        

ดิฉันกำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ค่ะ เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ การแยกทางกันของครอบครัวส่งผลต่อหลายส่วนแต่ที่กระทบมากที่สุดคือลูก ถ้าหากใคร ท่านใดมีคำแนะนำช่วยบอกด้วยนะค่ะ

มีเนื้อหาของปัญหาที่เกี่ยวกับนักศึกษาชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในประเทศไทยบ้างไหมคะ โพสให้ที หายากเหลือเกิน

พอดีทำวิจัยเรื่องนี้อยู่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท