แนวทางป้องกันไวรัสที่แพร่จากโครงข่ายที่ทำได้โดย ISP


จะดีไหม? ถ้า ISP นำเทคโนโลยีนี้มาใช้เพื่อกรองเวปที่เสี่ยงให้ผู้บริโภค

      ผลสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตปี พ.ศ.2548 ของหน่วยงาน NECTEC พบว่า กิจกรรมที่ผู้ใช้งานทำในอินเตอร์เน็ตนั้นได้แก่ การใช้อีเมล์ 22.8 เปอร์เซนต์ การหาข้อมูลผ่านเวปไซด์ 22.8 เปอร์เซนต์ และพบว่าจากผลสำรวจของ ปี 2548 นี้มีการสรุปข้อปัญหาที่พบสูงสุดคือ ไวรัสคอมพิวเตอร์ ถึง 66.3 เปอร์เซนต์ ซึ่งเมื่อดูผลสำรวจจะพบว่ามีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นถึง 20.6 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับปี 2546 ที่เป็นค่า 45.7 เปอร์เซนต์ โดยไวรัสคอมพิวเตอร์นี้ก็ยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้งานทั่วไปเป็นอย่างมาก

      ปัจจุบัน เรามีเทคโนโลยีที่ป้องกันไวรัสได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั้นการป้องกันไวรัสนั้นจะทำได้ 3 ช่องทางคือ

     1. การใช้ไฟล์วอล์ส่วนตัว เช่นที่มีในโปรมแกรม OS Window SP2 ซึ่งผู้ใช้จะต้องอัปเดท Path กับทาง SERVER เป็นประจำเสมอ

     2. การนำโปรมแกรมคอมพิวเตอร์มาป้องกัน/กำจัดไวรัส ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด เช่น นอร์ตั้น แมคอาฟี่ หรือ ไซด์แมนแทค เป็นต้น

     3. การนำไฟล์วอล์ชนิด แอปพลิเคชั่นมาใช้บริเวณ  Internet Gateway ชนิดที่เรียกว่า UTM ( Unified Threat Management) ซึ่งหลักการทำงานจะเป็นทั้ง Hardware และ Software ควบคู่กันไป หรืออาจนำ Proxy ที่มีการป้องกันไวรัสมาสแกนเวปบริเวณ Internet Gateway ได้เช่นกัน

จากแนวคิดในการป้องกันไวรัสจากโครงข่ายผมอาจมองหลายด้านที่จะมีแนวทางคือ

      1. รัฐออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพทางอินเตอร์เน็ตให้รับผิดชอบต่อความเสียหายจากการนำไวสไปเผยแพร่ (ทำได้ยาก และจะไม่ได้รับการยอมรับ ซึ่งเป็นการโยนภาระให้ผู้บริโภค)

      2. รัฐควบคุมการประกอบการของ Internet Cafe และ SME (เป็นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้ประกอบการ และควบคุมได้ยาก)

      3. รัฐเข้าแทรกแทรงการประกอบการด้านความปลอดภัยของ Internet Cafe และ SME (ทำได้ยากมาก)

      4. ผลักดันการประกอบการของ ISP ด้วยวิธีดังนี้                   

               4.1 บังคับให้นำเทคโนโลยีการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาใช้ที่บริเวณ Internet Gateway ของ ISP เพื่อให้ลุกค้า (ประชาชนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต) มีทางเลือกโดยมีการจัดเก็บค่าบริการจากส่วนที่เพิ่มเติมนั้น ตามต้นทุนที่แท้จริง โดยมิหวังผลกำไรมากเกินไป (ภาระจะอยู่กับผู้บริโภค แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้)                   

               4.2 ส่งเสริมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งอาจส่งเสริมโดยการที่ให้ส่วนลดจากค่าใบอนุญาตประกอบการกิจการของ ISP (จากกทช.) หรือมาตรการอื่นๆตามเหมาะสมที่ ISP จะเห็นชอบด้วยกับสิทธิที่จะได้รับนั้น เช่น ด้านภาษี (จากรัฐบาล) เป็นต้น (วิธีนี้น่าสนใจ)

        ผมคิดว่าเร็วๆนี้เราอาจเห็นปรากฎการที่ ISP จะช่วยรับผิดชอบสังคมจากภัยมัลแวร์ หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ นี้ ซึ่งหากมีค่าบริการเพิ่มขึ้นมานิดหน่อยซึ่งไม่แพงมากเกินไป ประชาชนก็จะปลอดภัยกับการกรองเวปไซด์ที่ไม่ปลอดภัยจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้นะครับ แล้วชาว GOTOKNOW คิดอย่างไร ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้นะครับ

หมายเลขบันทึก: 83205เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2007 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พอใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน ก็จะไม่ค่อย กล้า update

พอไม่กล้า update  malware ก็เล่นงานเอา

 

จะบังคับอะไรได้ขนาด พรบ. ลิขสิทธิมีอยู่แล้ว มีใครซื้อ Windows มั่ง? 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท