ปัจจัยที่ทำให้การสอนออนไลน์สัมฤทธิผล


การเรียนทางออนไลน์นั้นทำให้การเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าชั้นเรียนปกติแต่การมีส่วนร่วมกันเรียนของทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องมีการจัดประสานเรื่องเวลาให้ลงตัว และการโต้ตอบแบบกับผู้เรียนแบบรายบุคคล

สำหรับบทความแรกที่คัดเลือกมานี้นั้น ผมคิดว่าเป็นบทความที่ให้ทั้งความกว้างและความลึกในเรื่องของปัจจัยที่ทำให้การประเมินรายวิชาของการเรียนการสอนทางไกลเกิดผลสัมฤทธิ์ ในทางกว้างคือ บทความได้ให้มุมมองที่รอบด้านในเรื่องของปัจจัยต่างที่มีผลต่อการเรียนผ่านออนไลน์ของผู้เรียน และในด้านลึกนั้นบทความได้ให้ตัวอย่าง ความคิดเห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนออนไลน์ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ทางไกลของผู้เรียน

Website ของ Illinois Online Network ได้ระบุถึง ประเด็นที่สำคัญในการพิจารณาถึงการสอนแบบออนไลน์รวมทั้งหมด 8 ประเด็นดังนี้

1. การจัดรายวิชา (Course Organization)
Ion (Illinois Online Network) ได้ให้ความคิดเห็นไว้ว่าการสอนแบบ Face-to-Face ในชั้นเรียนนั้นคือการที่ผู้สอนมีความสามารถในการที่จะจัดการและควบคุมการเรียนรู้ได้ทั้งหมด (complete control) แต่การสอนแบบออนไลน์นั้น ผู้สอนนั้นเป็นเพียงศูนย์กลางการเรียนรู้ และการจัดการบริหารตัวรายวิชานั้นไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียวเหมือนในชั้นเรียนปกติ ผู้สอนต้องมีทักษะการบริหารด้านอื่นๆร่วมด้วยเช่น การประสานงานกับสถาบัน ทักษะของความเป็นมืออาชีพในการสอน หรือความสามารถด้านเทคโนโลยี

Key Learning: การควบคุมชั้นเรียนนั้นการเรียนออนไลน์มีความแตกต่างจากการเรียนในชั้นเรียนปกติคือในการเรียนออนไลน์ผู้สอนไม่ใช่แค่มีหน้าที่สอนแต่ต้องมีทักษะในการประสานงานร่วมกับสถานศึกษา หรือความรู้ด้านเทคดนโลยี เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนการสอนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. การเรียนลำดับการนำเสนอ (Lesson Presentation)การเรียนการสอนออนไลน์นั้นไม่ง่ายเหมือนการสอนแบบในชั้นเรียนปกติ หรือเป็นแค่การเอาการสอนแบบในชั้นเรียนปกติยกมาไว้บนจอคอมพิวเตอร์ การสอนแบบพูด Lecture นั้นแทบจะไม่มีประสิทธิภาพในการเรียนทางออนไลน์ รายวิชาที่จัดสอนออนไลน์ที่จะประสบผลสำเร็จได้นั้น สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถการจัดการเรียนการสอนที่สื่อสารได้ดีในสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งสามารถที่จะนำเอาความรู้ต่างๆ ทั่วโลกนอกเหนือจากองค์ความรู้ที่มีในรายวิชา

การโต้ตอบ (Discussion) นั้นถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนออนไลน์ที่นำเอาความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ภายนอกและสื่อสนับสนุนมาเชื่อโยงกับความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรจะเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในการนำเสนอการเรียนแบบออนไลน์

Key Learning: ลำดับการนำเสนอของการเรียนออนไลน์นั้นมีความสำคัญมาก เพราะแตกต่างจากลำดับการนำเสนอในชั้นเรียน การสื่อสารให้เกิดการโต้ตอบนั้นถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักในการสร้างมาตรฐานการเรียนรู้

3. การสื่อสารกันในรายวิชา (Class Communication)ผู้สอนนั้นเองก็ต้องพร้อมและควรจะอยู่ร่วมในการสนทนาด้วย บางทีกิจกรรมในลักษณะนี้ผู้สอนเองต้องมีความพร้อมตอบโต้มากกว่าการเรียนในชั้นเรียนปกติเสียอีก การสนับสนุนช่วยเหลือหรือเป็นผู้ประสานของผู้สอนในการสนทนาทางออนไลน์นั้นเป็นเรื่องที่อาจจะจำเป็นมาก โดยเฉพาะในการที่ต้องช่วยเหลือกลุ่มสนทนาย่อยที่ต้องมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน วิธีหนึ่งคือการจัดกิจกรรมร่วมเรียนของกลุ่ม (Collaborative Learning Activities) โดยการให้ผู้เรียนเรียนร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยๆ

Key Learning: ผู้สอนต้องสละเวลาในการเป็นผู้ประสานการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทางออนไลน์ งานหนักของผู้สอนคือการที่จะประสานงานกลุ่มให้ผู้เรียนสามารถร่วมเรียนรู้ได้ด้วยกัน

4. การจัดระเบียบของเวลา (Time Allocation)
การสอนทางออนไลน์นั้นช่วยประหยัดเวลาในการที่ผู้สอนต้องเข้าไปสอนในชั้นเรียนก็จริง แต่การสอนในลักษณะนี้ผู้สอนต้องสละเวลาเพื่อให้มาพูดคุยให้คำแนะนำกับกลุ่มและในขณะเดียวกันก็ต้องตอบโต้ผู้เรียนทาง Email เป็นแบบรายบุคคล

การเรียนที่อาจเรียนต่างเวลากันนั้นเป็นลักษณะธรรมชาติของการเรียนแบบออนไลน์คือการที่รายวิชาออนไลน์นั้นเกิดโอกาสให้มีความยืดหยุ่นในประเด็นเรื่องการเข้าถึงสื่อการสอนรายวิชานั้นๆ และการมีส่วนร่วมกันเรียนรู้ของทั้งผู้เรียนและผู้สอน

Key Learning: การเรียนทางออนไลน์นั้นทำให้การเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าชั้นเรียนปกติแต่การมีส่วนร่วมกันเรียนของทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องมีการจัดประสานเรื่องเวลาให้ลงตัว และการโต้ตอบแบบกับผู้เรียนแบบรายบุคคล

5. การสนับสนุนทางด้านเทคนิค (Technical Support)
ความรู้นั้นนับวันก็จะมีความจำเพาะเจาะจงหรือเฉพาะทางมากขึ้น ไม่มีใครที่รู้ทุกอย่างได้ ช่างเทคนิคนั้นก็จะมีความรู้เรื่องเซริฟเวอร์ ซอร์ฟแวร์และฮาร์ดแวร์ แต่ช่างเทคนิคไม่รู้ว่าผู้สอนนั้นกำลังจะสอนอะไร และความต้องการที่ผู้สอนจะสอนอย่างไร หรือผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง ช่างเทคนิคเหล่านี้รู้แต่เพียงว่าใครเป็นผู้เรียนและความพึงพอพอใจในการเรียน (ออนไลน์) นั้นมีสำคัญเพียงใด แต่บางทีพวกเขาก็ไม่สามารถที่จะตอบคำถามข้อสงสัยทางเทคนิคของผู้เรียนบางคนได้ บางผู้เรียนนั้นก็อาจเคว้งคว้างไม่รู้ว่าจะจัดการกับเทคโนโลยีอย่างไร หรือ จะหันหน้าไปถามใครที่จะช่วยตอบปัญหาเหล่านั้นได้

Key Learning: ช่างเทคนิคควรมีความรู้ความเข้าใจปัญหาทางการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนด้วย

6. การเปิด-ปิดรายวิชา (Open Entry - Open Exit)
การเรียนทางออนไลน์นั้นสามารถที่จะตั้งให้ผู้เรียนเข้ามาเรียนหรือปิดการเรียนได้ รายวิชาที่เรียนผ่านเว็บนั้นจะขึ้นอยู่กับว่า ผู้สอนนั้นมีกระบวนการสอนที่ทำให้น่าสนใจและสัมผัสได้มากน้อยเพียงใดร่วมกับผู้เรียนที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้เมื่อต้องศึกษาในลักษณะออนไลน์
รายวิชาออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องไม่ปิดตาย (Canned) คือไม่ใช่ลักษณะนิ่งๆ คือให้ผู้เรียนเข้าไปเสาะหาความรู้เอาเองจากสิ่งที่จัดเตรียมเอาไว้ให้ (Tutorial) ขาดความมีชีวิตจิตใจ (Human Being) การสอนออนไลน์นั้นควรจะที่เปิดสอนในรายวิชานั้นๆ ทั้งเทอมเพราะจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นหาและซึมซับความรู้ที่จัดให้ ได้ร่วมเรียนกับเพื่อนในเนื้อหาแบบเดียวกันในห้วงเวลาพร้อมๆ กัน และทำงานหรือรายงานด้วยกันได้ในระดับหนึ่ง รายวิชาที่มีระยะเวลาประมาณ 10 ถึง 15 สัปดาห์นั้นน่าจะเหมาะสมที่ผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบแต่มีเวลาเรียนจำกัด

Key Learning: การเรียนออนไลน์ควรมีระยะเวลาที่ไม่สั้นจนเกินไป อย่างน้อยควรเป็นการเรียนทั้งเทอม

7. ห้องทดลอง (Laboratories)การเรียนทางเว็บที่ต้องมีการทดลองนั้นอาจเป็นเรื่องเหมาะสำหรับนักศึกษาที่เรียนแบบปกติที่สถาบันการศึกษา และต้องทำการทดลองซึ่งอาจจะมีการจัดเตรียมห้องทดลองไว้ที่สถานศึกษาเพื่อที่จะได้เรียนรู้เนื้อหาไปพร้อมๆ กับทำการทดลอง ซึ่งผู้เรียนกลุ่มนี้นอกจากเรียนความรู้ทางออนไลน์ก็สามารถที่จะทำงานที่ได้รับมอบหมายที่ห้องทดลองได้เสร็จเหมือปกติทั่วไปด้วย ซึ่งผู้เรียนอาจะใช้ช่วงวันเสาร์ทั้งวัน ประมาณครั้งหรือสองครั้งโดยมาทำการทดลองที่สถานศึกษาหรือสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้ข้างที่พัก หรืออาจทำการทดลองที่บ้านจากชุดทดลองที่สถานศึกษาจัดเตรียมไว้ให้ การออกแบบให้ผู้เรียนทำการทดลองนอกสถาบันนั้นก็เป็นรูปแบบที่ท้าทายอย่างหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนทางไกล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการเรียนจาก ITV (Interactive Television) เรียนจากวิดิทัศน์ หรือทางวิทยุก็พบความท้าทายรูปแบบเดียวกันนี้เหมือนๆ กัน ความคิดสร้างสรรค์ และ ความนืดหยุ่น นั้นเป็นกุญแจสำคัญที่จะตอบสนองความต้องการของการเรียนรู้ในกลุ่มผู้เรียนที่อยู่กระจัดกระจายห่างไกลกัน

Key Learnings:
1. รายวิชาที่มีการทดลองสามารถจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้ โดยวีธีดังนี้
1.1 เรียนรู้ทางออนไลน์แต่จัดเตรียมห้องทดลองไว้ให้ใช้ในช่วงสุดสัปดาห์ หรือ ให้ไปใช้ห้องทดลองของสถาบันการศึกษาที่ใกล้และสะดวกในการเดินทาง
1.2 การจัดเตรียนชุดทดลอง (Laboratories Kit) เพื่อให้นำไปทดลองที่บ้านหรือนอกสถานที่
2. การเรียนออนไลน์นั้นสามารถจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาที่เรียนแบบปกติได้ ในรายวิชาที่มีการทดลองได้

8. การประเมิน (Assessment)
การประเมินนั้นควรที่จะสะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพของสื่อออนไลน์ที่รายวิชาเลือกที่จะใช้สอน วิธีการเดิมๆ ที่ใช้ประเมินกันในชั้นเรียนนั้นอาจใช้ไม่ได้ในสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบออนไลน์

Key Learning: การประเมินออนไลน์นั้นควรจะมีรูปแบบเฉพาะเป็นของตนเองที่สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพสื่อออนไลน์

บุริม โอทกานนท์

Topic: Online Instruction Important Points to Consider

ที่มา: http://www.ion.illinois.edu/resources/tutorials/id/points2consider.asp

 

หมายเลขบันทึก: 78081เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2007 00:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณนะคะ กำลังสนใจเรื่องนี้อยู่ดี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท