วิทยากร ที่ไม่ใช่มืออาชีพ2


เอกซเรย์อย่างไรให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน

ภาพเอกซเรย์ ถ้าเรามองลึกลงไปด้วยกล้องขยายที่มีกำลังสูงจะพบว่าเป็นภาพที่ประกอบด้วยโลหะเงินสีดำจำนวนมากเกาะอยู่บนผิวหน้าของแผ่นฟิล์มทั้งสองด้านบางบริเวณมีโลหะเงินสีดำอยู่มาก บางบริเวณมีอยู่จำนวนน้อยหรือไม่มีเลย ความแตกต่างนี้เองทำให้เรามองเห็นเป็นภาพโครงสร้างต่างๆทางกายวิภาคของร่างกายมนุษย์ซึ่งแบ่งออกเป็น Radiographic density และ Radiographic contrast

Radiographic density  หมายถึงความดำที่ปรากฏบนแผ่นฟิล์มหรือที่ภาพรังสีที่เกิดจากเกลือเงินที่อยู่บนฟิล์ม ทำปฏิกิริยากับแสงเอกซเรย์ เมือถูกนำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์มเกลือเงินจะเปลี่ยนเป็นโลหะสีดำเกาะอยู่บนฟิล์มและเกลือเงินที่ไม่ถูกแสงก็จะหลุดออกเมื่อผ่าน Fixer ตรงใหนที่ถูกแสงมากดำมาก ตรงใหนถูกแสงน้อยก์ดำน้อย

Radiographic contrast หมายถึงรายละเอียดของภาพที่มองเห็นบนแผ่นฟิล์มเนื่องมาจากแสงเอกซเรย์ผ่านส่วนต่างๆของร่างกายที่มีความหนาแน่นไม่เท่ากันของพวกกระดูก ไขมัน กล้ามเนื้อ ก็จะดูดกลืนแสงไว้ มากบ้างน้อยบ้าง ทำให้เกิดภาพของส่วนหรือบริเวณต่างๆ เนื่องมาจากความดำที่แตกต่างกัน จึงทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆนั้น

คำสำคัญ (Tags): #ภาพเอกซเรย์
หมายเลขบันทึก: 77846เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2007 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท