มหาชีวาลัย: สถานีแปลงคลื่นความรู้ วิชาการกับชุมชน


ยังทำจนถึงระดับที่เปลี่ยนปรัชญาการทำงานวิจัยจาก “ฉันอยากรู้ ฉันจึงทำ” มาเป็น “เราอยากรู้ เราจึง(ร่วมมือกัน)ทำ” ที่เป็นมิติการทำงานแบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง

จากการประชุมที่มหาชีวาลัยเมื่อวานนี้ ผมได้ความรู้สึกใหม่ในบทบาทของมหาชีวาลัยต่อการพัฒนาชุมชน ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชน นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา บริษัทเอกชน ราชการ นักบริหาร นักการเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน และบุคคลทั่วไป

  

งานที่ทางมหาชีวาลัยทำอยู่นั้น เป็นที่รองรับงานทุกระดับดังกล่าวแล้ว มาตลอดทั้งปี ทำให้มหาชีวาลัยแทบไม่เคยว่างจากผู้มาเยี่ยมเยือน

  

และวันนี้กระทรวง ICT ก็ยังขอใช้มหาชีวาลัยเป็นศูนย์สาระสนเทศ หนึ่งใน ๒๐ ศูนย์ทั่วประเทศ

  

งานจากนักวิชาการที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในรูปของงานวิจัยและพัฒนา จะนำมาทดสอบที่มหาชีวาลัยเป็นเบื้องต้น รอการปรับแต่ง คลื่น ให้เหมาะสมมากขึ้น ก่อนที่จะขยายสู่ชุมชนเครือข่าย ในรูปแบบของ ฟ้าสู่ดิน และงานของชุมชนที่นำมาแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนา แบบ ดินสู่ฟ้า   ทั้งในเชิงวิชาการ และเชิงนโยบาย ก็จะนำมาปรับเปลี่ยนและแลกเปลี่ยนที่นี่เช่นกัน ในรูปแบบของตลาดนัดความรู้เพื่อการพัฒนา

  

ในบางกรณี นักวิชาการสายเดี่ยว ก็อาจมีโอกาสมาจับมือกันให้เป็นทั้งแบบผสมผสานทางความรู้ และหรือ จับมือกับผู้ใช้ความรู้โดยตรง เพื่อที่จะเปลี่ยนจากการใช้ชาวบ้านเป็นวัสดุวิจัย(อย่างที่เคยชินกันในวงวิชาการ) มาเป็นการทำงานร่วมกันในฐานะภาคีวิจัย

  

และยังทำจนถึงระดับที่เปลี่ยนปรัชญาการทำงานวิจัยจาก ฉันอยากรู้ ฉันจึงทำ มาเป็น เราอยากรู้ เราจึง(ร่วมมือกัน)ทำ ที่เป็นมิติการทำงานแบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ในรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ภายใต้หลักการจัดการความรู้แบบธรรมชาติ ระดับชุมชน (COP) ที่ทำให้ชุมชนพัฒนาตัวเองเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning community) และหนุนช่วยให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO)

  

ผลการทำงานของมหาชีวาลัยที่ผ่านมา จึงเป็นการทำงานแบบบูรณาการแบบครบวงจร และสามารถเป็นต้นแบบให้กับผู้สนใจในทุกมุมมองได้ดี

  

ดังนั้น การประเมินที่จะทำให้เห็นเนื้อแท้ของมหาชีวาลัย จึงต้องประเมินแบบบูรณาการ ไม่สามารถนำการมองเชิงเดี่ยวมาพิจารณาได้

  

ตัวอย่างการมองเชิงเดี่ยวที่ผ่านมานั้น ทำให้ดูเสมือนว่ามหาชีวาลัยทำงานไม่ค่อยประสพผลสำเร็จ ทั้งๆที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการเรียนรู้อย่าง ธรรมชาติ ตามสไตล์ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่ยังไม่มีคำตอบ จนกว่างานนั้นๆจะผ่านไปแล้ว แต่ก็อาจมีความสับสนบ้างตามหลักการทำงานแบบ Chaordic การประเมินแบบเจาะช่องเวลาดูนั้นจะพบแต่ความสับสนแน่นอน

  

ต้นแบบที่กำเนิดที่มหาชีวาลัยนี้ จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าจะเลียนแบบขยายผลได้อีกหลายแห่งทั่วประเทศไทย ที่มีแกนนำในการดำเนินการ และกำลังรอการสนับสนุนในส่วนที่ขาด (ที่แตกต่างกัน) เพื่อสร้างพลังของการพัฒนาได้อย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 76170เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ถ้ามองแบบผิวเผิน อย่างคนทั่วไป ก็จะเห็นว่า มหาชีวาลัยอีสาน ไม่มีอะไรน่าศึกษา
  • ถ้ามองมุมลึกและหลายมิติ  จะเห็นพลังอย่างมหาศาล ของมหาชีวาลัยอีสาน  ครับ
  • มาดูนายสถานีคนหนึ่งครับ
  • งานที่มหาชีวาลัยทำงานแบบบูรณาการมาก
  • ขอสนับสนุนอาจารย์ครับผม
แวะมาให้กำลังใจอาจารย์อีกคนค่ะ
ท่านพันธมิตรวิชาการครับ ผมอยากขอให้ท่านช่วยดูว่า ที่อื่นยังขาดอะไร แล้วสะกิดหาทางเติมเต็ม เราจะได้มีสถานีแปลงสัญญาณมากๆ และพัฒนาได้เร็วครับ
ขอยกความดีความชอบให้คนที่ทำงานด้วยใจ จริงๆค่ะ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท