กลไกของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการนำผลการวิจัยไปก่อประโยชน์ทางธุรกิจ


          มหาวิทยาลัยมหิดล มีกลไกนำผลงานวิจัยไปสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจ ๒ กลไก ได้แก่

          ๑. ศูนย์ประยุกต์และบริการวิชาการ (จัดตั้ง พ.ศ. ๒๕๑๙)
          ๒. บริษัท ร่วมทุนสตางค์ จำกัด (จัดตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๗)

          ศูนย์ประยุกต์และบริการวิชาการ  นี่คือกลไกที่ผมเรียกว่า downstream management ของการวิจัย

          ทำหน้าที่ในจุดที่อยู่ต้นน้ำกว่า บริษัท ร่วมทุนสตางค์ จำกัด โดยศูนย์ประยุกต์ฯ ทำหน้าที่

          ๑. จัดการด้านการเจรจากับผู้มาขอซื้อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Technology Licensing)
          ๒. ลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตระดับ pilot scale
          ๓. จัดตั้ง holding company
          ๔. ร่วมลงทุนในการจัดตั้งบริษัท spin-off
          ๕. จัดการผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินทางปัญญา

          ด้วยผลงานของศูนย์ประยุกต์ ผมได้ยินมาว่าอาจารย์บางคนมีรายได้จากผลงานวิจัยเดือนละ ๕ เท่าของเงินเดือน

          มหาวิทยาลัยมหิดลแบ่งปันผลประโยชน์แก่นักวิจัยสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ดังนี้

 

          บริษัท ร่วมทุนสตางค์ จำกัด

          จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทจำกัด ทุนจดทะเบียน ๑๐๐ ล้านบาท มหาวิทยาลัยมหิดล, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ถือหุ้น ๖๐%, ๒๐%, ๒๐%  ตามลำดับ

          บริษัท ร่วมทุนสตางค์ จำกัด  ให้บริการ ๒ ประเภท

                    (๑) บริการหลัก เป็นการร่วมลงทุน
                    (๒) บริการรอง เป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ และฝึกอบรมการพัฒนาธุรกิจ

วิจารณ์   พานิช
๑๗ ม.ค. ๕๐

 

 

หมายเลขบันทึก: 75093เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2007 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท