อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

การพัฒนาโรงเรียนเชิงระบบ


เมื่อไหร่เราจะเลิกการทำงานแบบผีชีโรยหน้า การพัฒนาก็จะยั่งยืน

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้มีโอกาสรับใช้ถวายงานใต้ฝ่าละอองพระบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน  ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน  11  โรงเรียน   และปีนี้เป็นปีมหามงคลยิ่งที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงเมตตาประทานวโรกาสให้โรงเรียนจำนวน  9  โรงเรียนได้มีโอกาสได้ถวายรายงานผลการดำเนินงาน  โดยที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมชมด้วยพระองค์เอง

ในส่วนภารงานของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่ผ่านมาได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน และการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนตลอดมา  แต่ในความคิดเห็นส่วนตัวยังเห็นว่าการพัฒนายังไม่เข้าสู่ระบบ  เพราะขณะนี้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่วนใหญ่ ได้นำระบบประกันคุณภาพภายในมาดำเนินการ  โดยจัดระบบย่อยๆในโรงเรียน เช่น ระบบการบริหารจัดการ ระบบหลักสูตรและการเรียนการสอน  ระบบการเรียนรู้  ระบบการแนะแนว  ระบบการวัดและประเมินผล แม้กระทั่งระบบการประชาสัมพันธ์หรือการสร้างความสัมพันธ์ก็จัดทำเป็นระบบ

โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนเองมีข้อจำกัดมากมายหากได้ร่วมมือกันจัดพัฒนาและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบก็จะเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่คอยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  เฉพาะเรื่อง อย่างน้อยมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ทุกโรงเรียนต้องผ่านการประเมินภายนอกจาก สำนักรับรองและประเมินมาตรฐานการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ.เป็นตัวกำกับอยู่ทุกโรงเรียน

ที่กล่าวเช่นนี้เพราะการพัฒนาเชิงระบบยังไม่เป็นที่มั่นใจในหมู่คนไทยเรายังยึดตัวบุคคลมากกว่า  ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงผู้นำในแต่ละระดับงานทุกอย่างดูเหมือนจะชลอ  ใส่เกียร์ว่าง หรือชะงัก เลิกล้มไปโดยสภาพ  จึงเกิดเจดีย์ยอดด้วนเต็มไปหมด  สิ่งที่จะดำเนินการพัฒนาโดยระบบได้  น่าจะเริ่มจากกระบวนการนิเทศ ช่วยกระตุ้นให้เกิดความตระหนัก   กระบวนการบริหารจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการทำงาน  ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจและร่วมภูมิใจในผลงาน  ระบบจะร้อยรัดให้ทุกคน ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม  เมื่อร่วมคิดวางแผนและนำแผนไปสู่การปฏิบัติ  ก็จะช่วยกันร่วมนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล  สิ่งที่ได้เป็นความภาคภูมิใจก็ร่วมกันประชาสัมพันธ์หรือมีผู้กล่าวว่า กลยุทธ์  4  ป

ประชุม   ปฏิบัติ  ประเมิน  ประชาสัมพันธ์

การพัฒนาก็จะขับเคลื่อนไปอย่างพลวัตร  ไม่ต้องรุมระดมกันเมื่อการประเมินจะมาถึง  หรือรุมสกรัมกันทำงานเมื่อจะมีใครมาเยี่ยม......   ?!!เราอยากอุดหนุนแม่ค้าอยู่หรอกแต่เราไม่อยากซื้อแต่ผักชี  เพียงชนิดเดียวจนหมดตลาด   โดยเฉพาะการใช้สื่อ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว การใช้แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ขอให้นำมาใช้จริงๆมิใช่ตั้งโชว์แต่พื้นฐานการใช้ชีวิตของผู้คนก็ยังเป็นผู้บริโภคนิยม  ซื้อทุกอย่างที่สะดวกซื้อ สะดวกจ่ายจนแทบไม่ได้ปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ให้กับคนรุ่นใหม่ได้ ตั้งหลักให้รู้คิด รู้ใส่ใจและรู้ไตร่ตรอง

การได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นวันมหามงคลยิ่งของชีวิต  แม้เวลาเพียงเล็กน้อยแต่พระองค์ท่านตรัสถามแต่ละคำล้วนคือคำสอน  เช่น ทรงถามว่า "ดอกไม้ที่ปลูกสวยสดงดงามในวันนั้น ถามเด็กว่าไปซื้อมา  ผลิตเองได้ไหม ? "  หรือทรงงานจนลืมเสวยพระกระยาหารกลางวัน  ก็คงสอนใจเราทุกผู้ว่าเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ทรงงานหนัก  ควรหรือที่เราจะอยู่แบบสบายๆ และเมื่อไหร่การทำงานแบบผักชีโรยหน้าจะหมดไปเสียที ?

หมายเลขบันทึก: 73540เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2007 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 05:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ดูใน TV แล้วน่าตื่นเต้นแทนครับ
  • เด็กชาวเขาหลายที่เลยครับ
  • ขอบคุณมากครับ

แวะมาเยี่ยมอีกครับ

เสียดายที่ผมสุขภาพกายไม่ดี จึงพลาดโอกาสรับเสด็จคราวนี้ แต่มอบหมายให้รองวิชาการไปทำหน้าที่แทน รองฯเล่าว่าได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดและได้ถวายรายงานด้วย

น่าอิจฉาจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท