การประเมินตามสภาพจริง (6)


การเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียน ในการประยุกต์ใช้ทักษะที่เรียนรู้มาให้เข้ากับชีวิตจริงและสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบท
บันทึกที่แล้วครูอ้อยเขียนเรื่อง  การเรียนการสอนและการประเมินผลตามสภาพจริง  เรื่อง  รูปแบบของการประเมินตามสภาพจริง  ซึ่งทำให้รู้เรื่องของรูปแบบต่างๆ  ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถหาอ่านได้ที่  การประเมินตามสภาพจริง (5)
แต่ในบันทึกนี้  จะเป็นเรื่อง  องค์ประกอบของการประเมินตามสภาพจริง  ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ครูผู้สอนสมควรที่จะศึกษา  ครูอ้อยมีแผนการณ์ที่จะทำผลงานทางวิชาการต่อไป  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ที่ครูอ้อยจะนำมาเขียนการรายงานผลของการปฏิบัติงาน  ซึ่งต้องศึกษาโดยละเอียด  ก่อนที่จะนำมาเขียนรายงานได้
การประเมินผลตามสภาพจริง  เป็นกระบวนการที่จะทำให้เราได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียน  เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนว่า   นักเรียนของเราได้บรรลุจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรมากน้อยเพียงใด  โดยองค์ประกอบของการประเมิน  จะต้องสอดคล้องกับแนวการสอน  ดังนั้น  ครูผู้สอนจึงต้องปรับกระบวนทัศน์ในการประเมิน  เพื่อให้ได้ข้อมูลตรงตามสภาพจริง  โดยมีการเปลี่ยนแปลง  ดังนี้
1.  เปลี่ยนแปลงตนเอง  (Self Tranform)  ต้องเปิดใจยอมรับแนวคิดใหม่ๆ  กล้าคิด  กล้าลงมือ
2.  เปลี่ยนแปลงความรู้  (Knowledge Transform)  ยอมรับความรู้ใหม่ๆ  ที่มีการกล่าวถึง  การปรับโครงสร้างทางปัญญาของตนเอง  เกิดเป็นองค์ความรู้ที่ทันสมัย
3.  เปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติ (Process Transform)  ปรับการปฏิบัติในการประเมินผลใหม่  ใช้วิธีการที่หลากหลาย  เหมาะสมและสอดคล้องกับเทคนิควิธีการสอน
ครูอ้อยคาดหวังว่า....จะจัดการประเมินผลนักเรียนที่เรียนในชั้นเรียนของครูอ้อยได้ตรงตามสภาพจริงที่สุด   ถึงแม้ว่า...การทดสอบบางอย่างจะมีรูปแบบที่เป็นปรนัย...แต่ก็พยายามที่จะใช้รูปแบบที่เป็นอัตนัยในบางคราวที่เหมาะสมกับเนื้อหา 
นอกจากนั้นยังส่งเสริมและใช้วิธีการสะสมผลงานในแฟ้มผลงาน  ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศด้วย 
วันนี้.....ครูอ้อยขอจบเรื่องนี้แต่เพียงเท่านี้นะคะ..แต่เรื่องนี้ยังมีอีกมากที่มีสาระและน่าสนใจ  ครูอ้อยจะนำเสนอต่อไปในเรื่อง  การวางแผนการสอนและการประเมินผล  ซึ่งน่าสนใจ  โปรดติดตามนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 72527เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2007 04:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท