TOC นัดประชุม AAR PMAC 2025 วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๘ ที่ นีรา รีสอร์ท นครปฐม ริมแม่น้ำท่าจีน ที่ให้บรรยากาศสดชื่นมาก และห้องประชุมก็ยอดเยี่ยม เพราะทีมจัดประชุมเตรียมให้นั่งกับพื้น และผมขอนอนประชุม เขาก็จัดหมอนให้อย่างดี
การประชุมจึงสร้างสรรค์มาก ได้ประเด็นการดำเนินการ เพื่อให้ PMAC ก่อผลกระทบต่อ Global Health Development ทั้งในประเทศไทย และในโลกหลากหลายประเด็น
- การพัฒนาระบบสร้างนักสุขภาพโลกรุ่นใหม่ จากการเข้าร่วม PMAC ทั้งในฐานะผู้เข้าสังเกตการณ์ และเข้าร่วมทีม rapporteur ที่มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีระบบเตรียมความพร้อมล่วงหน้า
- การมีระบบ proactive rapporteur ที่นอกจากจดประเด็นที่มีการอภิปรายและซักถามกันในแต่ละ session แล้ว ยังใส่ข้อสะท้อนคิดของตนเองเข้าไปด้วย (โดยแยกเป็นอีกส่วนหนึ่ง) สำหรับให้หัวหน้าทีม rapporteur ได้รับรู้ความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่
- การมีวิธีการรับข้อคิดเห็นของ “เณรน้อย” ที่อาจเสริมหรือแย้งกับข้อคิดเห็นของ “สังฆราช” เปิดโอกาสให้ PMAC เป็นเวทีสร้างสรรค์ระบบสุขภาพโลกจากมุมมองใหม่ๆ ที่ไม่ย่ำรอยเดิม
- การ AAR สองแบบ คือ (๑) AAR เพื่อทบทวนและปรับปรุงวิธีการ (Single-loop Learning) (๒) AAR เพื่อทบทวน และหาแนวคิดใหม่ ที่ต่างจากเดิม (Double-loop Learning)
- การมี Co-host ที่มาจากซีกโลก อัฟริกา และเอเซียใต้ ที่สภาพด้าน Demography ต่างเป็นคนละขั้วกับซีกโลกอเมริกาเหนือและยุโรป (ซึ่งไทยอยู่ในกลุ่มนี้)
- การเป็นผู้นำด้าน Healthy Meeting หมลากหลายมาตรการ โดยมีการอธิบายให้มีความแจ่มชัดยิ่งขึ้น
- การจัดการระบบ engage คนรุ่นใหม่ที่สนใจเรียนรู้ เรื่องระบบสุขภาพโลก
- ให้คำแนะนำหน่วยงานไทยที่เข้าร่วมเป็น Thai Co-host ด้านการฝึกคนของตนอย่างต่อเนื่อง จากการเข้าร่วม IOC และ TOC อย่างต่อเนื่อง ไม่ปล่อยให้อยู่ในสภาพหมุนเวียนกันเข้าประชุม
เพราะบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ การประชุมครั้งนี้จึงสร้างสรรค์มาก
วิจารณ์ พานิช
๒ พ.ค. ๖๘