คอรัปชั่นเชิงนโยบาย (Policy corruption)


คำว่า ‘คอรัปชั่นเชิงนโยบาย’ เกิดขึ้นและใช้กันแพร่หลายเมื่อเกือบยี่สิบปีที่แล้ว และใช้เป็นเครื่องมือการต่อสู้กัน ทางการเมืองต่อเนื่องมาหลายยุค มีหลายคนได้รับโทษอาญาจากความผิดที่เกิดจากสิ่งที่เรียกกันว่า ‘คอรัปชันเชิงนโยบาย’ ดังปรากฎในบทความของ ดร. มานะ นิมิตมงคล ที่โพสใน www.anticorruption.in.th เมื่อ 22 เมษายน 2021 ผู้สนใจหาอ่านได้ แต่สาระทั้งหมดดังกล่าวไม่ใช่วัตถุประสงค์ของบทเขียนนี้จึงไม่นำมาเสนอในบทเขียนนี้ 

วัตถุประสงค์ของบทเขียนนี้คือการทำความเข้าใจกับคำว่า corruption และถ้าจะมีสิ่งที่เรียกกว่าคอรัปชั่นเชิงนโยบาย สิ่งนั้นคืออะไรกันแน่ จึงขอนำสาระที่ได้อ่านจากเวฟไซต์ publicsafety.gc.ca เรื่อง Definitions of Corruption ซึ่งเป็นสาระสรุปการวิจัยฉบับที่ 48 ซึ่งผมเห็นว่าเป็นการให้นิยามแยกตามประเภทหรือลักษณะของคอรัปชั่น และอธิบายเกี่ยวกับคอรัปชั่นได้เข้าใจง่าย ตามประเภทยองคอรัปชั่นดังนี้ 

อุปสงค์กับอุปทานคอรัปชั่น (Demand vs supply corruption)

       อุปทานคอรัปชั่น เป็นการยอมจ่ายเงิน หรือผลประโยชน์อื่นเพื่อแลกกับสิ่งที่ต้องการ ส่วนอุปสงค์คอรัปชั่นก็คือการรับเงิน หรือผลประโยชน์อื่นดังกล่าว 

คอรัปชั่นทางตรงกับทางอ้อม (Conventional vs unconventional corruption)

       คอรัปชั่นทางตรงเป็นคอรัปชั่นที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้มีอำนาจรับสินบนเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนคอรัปชั่นทางอ้อมเป็นคอรัปชั่นที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะที่มาจากการเลือกตั้งยอมทำอย่างใดอย่าง หรือไม่ยอมทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อประโยขน์ของผู้เกี่ยวข้อง โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม

คอรัปชั่นขนานใหญ่กับแบบธรรมดา (Grand vs petty corruption)

       คอรัปชั่นแบบธรรมดา เป็นการเรียกผลประโยชน์เล็กๆ น้อยเพื่ออำนวยความสะดวก หรือเพื่อประโยชน์ในการติดต่องานราชการ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นรายกรณีทั่วไป ส่วนคอรัปชั่นขนานใหญ่เป็นคอรัปชั่นทางตรงแบบหนึ่ง แต่มีขอบเขตและผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้มีอำนาจระดับสูงในรัฐบาล ทั้งที่มาจากการแต่งตั้ง และเลือกตั้ง ที่ใช้ช่องทางราชการในการแสวงหาผลประโยชน์จากงาน หรือโครงการของรัฐ มีหลายแบบ เช่น คอรัปชั่นเชิงการเมือง (Political corruption) และ  คอรัปชั่นแบบครอบงำรัฐ (State capture corruption: บางคนเรียกว่าคอรัปชั่นแบบยึดรัฐ) 

       คอรัปชั้นเชิงการเมือง เป็นคอรัปชั่นที่มีการดำเนินการเป็นระบบและขบวนการ มีผู้มีอำนาจและข้าราชการหลายระดับเกี่ยวข้อง  และคอรัปแบบครอบงำรัฐเกิดขึ้นจากบริษัทธุรกิจ หรือองค์การภายนอกมีออิทธิพลต่อการกำหนดทิศทาง นโยบาย และการดำเนินงานของรัฐบาล 

สำหรับแนวคิด ‘คอรัปชั่นเชิงนโยบาย’ น่าจะใกล้เคียง หรือเป็นสิ่งเดียวกันกับ ‘คอรัปชั่นเชิงการเมือง’ ที่กล่าวมาข้างต้น แต่ในบริบทประเทศไทยจะมีปัญหาทั้งคอรัปชั่นเชิงการเมือง และคอรัปชั่นแบบครอบงำรัฐ​ แต่ในบทเขียนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะคอรัปชั่นเชิงนโยบาย 

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ประเทศเรามีคอรัปเช่นในลักษณะดังกล่าวหรือไม่ เพราะจริงๆ แล้วทั่วโลกมีปัญหาคอรัปชั่นแบบต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นด้วยกันทั้งสิ้น ต่างกันที่จะมีมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น และถ้าประเทศใดแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้ดีก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ แต่ที่ผมยกเรื่องนี้มาเป็นประเด็นเพราะมีการนำใช้แนวคิด ‘คอรัปชั่นเชิงนโยบาย หรือคอรัปชั้นทางการเมือง’ นี้เป็นเครื่องมือในการทำลายในลักษณะเดียวกันกับ ‘ผลประโยชน์ทับซ้อน และทฤษฎีสมคบคิด’ ดังที่เขียนไว้ในบทเขียนก่อนหน้านั้นมาแล้วครับ 

ประเด็นคือ ทั้ง 3 เรื่องเป็นสิ่งที่ดี แต่ทั้ง 3 เรื่องมีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจใช้ชัดเจน มีการนำใช้โดยสุจริตใจ และมีแนวปฏิบ้ติที่เป็นรูปธรรม หาไม่แล้วก็จะมีการนำใช้แนวคิดเหล่านั้นทำลายกันเอง และสร้างปัญหาให้กับประเทศเราไม่มีที่สิิ้นสุด ดังปรากฏการณ์ทางการเมืองในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมาครับ ผลก็คือประเทศบอบช้ำ และคนไทยส่วนใหญ่รับเคราะห์กรรมครับ 

เรื่อง ‘คอรัปชั่นเชิงนโยบาย’ นี้ก็เช่นกัน โดยเฉพาะเราเจาะจงว่าเป็น ‘คอรัปชั่นเชิงนโยบาย’ ไม่ใช่คอรัปชั่นเชิงการเมือง จึงทำให้สปอร์ตไลท์อยู่ที่ ‘นโยบาย’ ซึ่งบิดเบือนและกล่าวหากันได้ง่ายครับ ดังน้้นเรา โดยรัฐบาล หรือสภาผู้แทนราษฎร (รวมทั้งประชาชน) ต้องทำสิ่งเหล่านี้ให้กระจ่างชัดโดยการกำหนดองค์ประกอบของคอรัปชั่นเชิงนโยบาย หรือเชิงการเมือง ให้ชัดเจนว่าประกอบด้วยอะไรบ้างจึงจะเรียกว่าเข้าข่าย ‘คอรัปชันเชิงนโยบาย’ ซึ่งถ้าฝ่ายการเมือง หรือบุคคลใด หรือกลุ่มใดมีการดำเนินการครบตามองค์ประกอบ ให้ถือว่าเป็นคอรัปชั่นเชิงนโยบาย และเอาผิดได้เลย แต่ปัจจุบันนี้เราปล่อยให้ตีความกันเอาเอง และสร้างปัญหาให้กับประเทศเราเป็นอย่างยิ่ง 

การกำหนดองค์ประกอบของความผิดต้องชัดเจน เป็นรูปธรรม จึงจะแก้ปัญหาได้ เช่นเดียวกับปัญหาคำว่า ‘จริยธรรม’  หรือ ‘กบฎ’ ซึ่งก็เป็นปัญหาเชิงสังคมและการเมืองของประเทศเราไม่น้อยในปัจจุบัน 

ผมเคยเขียนเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญประเทศสหรัฐอเมริกาในหลายวันก่อน ซึ่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดองค์ประกอบความผิดของคำว่ากบฎต่อรัฐไว้ว่า ‘(1) มีการเกณฑ์คนเพื่อทำสงครามกับรัฐ (2) ร่วมหรือช่วยเหลือศัตรูของประเทศ และ (3) ผู้ต้องหาสารภาพต่อสาธารณะ’ และกำหนดว่าการลงโทษกบฎเป็นโทษเฉพาะบุคคล ไม่รวมถึงทาญาติ เป็นต้น 

ส่วนประเทศเราจะกำหนดอย่างไร ก็ว่ากันไปครับ แต่ขอให้มีความชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ครับ 

รักนะประเทศไทย

สมาน อัศวภูมิ 

22 สิงหาคม 2567

หมายเลขบันทึก: 719188เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2024 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2024 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

May I add another perspective of corruption?
Cooperation and Corruption https://www.gotoknow.org/dashboard/posts/717405 includes human nature to cooperate or to corrupt as ‘payback’ gets considered.

From an observer’s point of view, we may associate cooperation with ‘open deal’ (accountability) and corruption with ‘hidden deal’ (collusion). But, these are conjectures as politics are now multi-facade (often by design to ‘hide in plain sight’; nature has examples of camouflage for self-preservation and for predatory purposes; many ‘policies’ can be attested in this view).

Kusala dhamma akusala dhamma.

แต่เคยพบว่ามีเงื่อนไขบางอย่างที่ผลประโยชน์จากการดำรงตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ ที่ทำให้ต้องมีมลทิน เลยทำให้ต้องงดเว้นความชอบธรรมในส่วนบุคคลไปอย่างน่าเสียดาย เข่น ลูกหลานที่มีความสามารถไม่สามารถสอบเข้าทำงานในส่วนราชการที่พ่อแม่ดำรงตำแหน่ง หรือการใช้รถประจำตำแหน่งไปส่งลูกก่อนเข้าที่ทำงาน ก็ต้องให้ลูกเดินทางไปโดยวิธีอื่น ซึ่งก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับญาติพี่น้องที่ได้ผลประโยชน์จากพ่อแม่ที่ดำรงตำแหน่ง เพราะไม่เช่นนั้นชีวิตที่เคยปฏิบัติโดยปกติ ก็ต้องยุ่งยากมากขึ้น …วิโรจน์ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท