คำว่า Conflict of interests แปลเป็นไทยหลายสำนวน เช่น ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวม หรือ ผลประโยชน์ทับซ้อน และอื่นๆ ซึ่งผู้อ่านชอบสำนวนไหนก็เลือกใช้ได้ เพียงแต่ขอให้เข้าใจตรงกันว่าหมายถึงอะไร และเราจะนำใช้มโนทัศน์ (Concept) ดังกล่าวอย่างไรที่จะเป็นประโยชน์ของส่วนรวมให้มากที่สุดได้อย่างไร เพราะบ่อยครั้งในสังคมไทย โดยเฉพาะในแวดวงการเมืองของไทยมัาจะนำใช้วลีดังกล่าวมาสร้า่งวาทกรรมเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ซึ่งก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของคำว่า ‘ผลประโยชน์ทับซ้อน’
คำว่า Conflict of interests ในความหมายดั้งเดิมและที่นำใช้เป็นสากลทั่วไปนั้นหมายถึง ‘การที่บุคคลที่ใช้ตำแหน่ง หรืออำนาจ หรือโอกาสในการทำให้ตนเอง ญาติพี่น้อง หรือพวกพ้องได้รับผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้รับ และทำให้ส่วนรวมเสียประโยชน์’ เช่น การผู้นำองค์กรจ้างลูกหลาน หรือญาติของตนซึ่งไม่มีความหมาะสมเป็นพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ตนเองเป็นผู้บริหารอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นหน่วยงานของ รัฐก็จะทำให้หน่วยงานของรัฐ และส่วนรวมเสียหาย เป็นต้น
ถ้าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องจริง ก็เป็นสิ่งที่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่ผู้มีอำนาจไม่ควรทำอย่างยิ่ง แต่เรื่องของเรื่องคำว่า Conflict of interests หรือผลประโยชน์ทับซ้อนนั้นมันไม่ง่ายและตรงไปตรงมาแบบ 1+1 เป็น 2 เพราะจริงๆ แล้วการที่ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรจะจ้างลูกหลาน หรือญาติเข้าทำงานนั้น ลูกหลาน หรือญาติ ที่เขาจ้างอาจจะมีคุณสมบัติเหมาะกับงานกว่าผู้สมัครคนอื่นก็ได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นพวกเขาก็ไม่ควรเสียสิทธิ์และโอกสที่จะได้รับการคัดเลือกให้บรรจุเข้าทำงาน อันเนื่องมากจากพวกเขาเป็นลูกหลาน หรือญาติของผู้มีอำนาจเท่านั้น จริงไหม
แต่นั่นแหละคือปัญหา เพราะความถูกหรือผิดของพฤติกรรมดังกล่าว กั้นด้วยเส้นบางๆ แบบเส้นยาแดงผ่าแปด ที่เป็นเส้นแบ่งระหว่าง ‘ผลประโยชน์ทับซ้อนกับความถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา’ ของทั้งผู้อำนาจหน้าที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนักร้องเรียนทั้งหลายด้วย จึงเป็นประเด็นที่ต้องเขียนบทเขียนนี้ครับ
โดยหลักการแล้วหลักคิดและประโยชน์ของมโนทัศน์ ‘ผลประโยชน์ทับซ้อน’ เป็นเรื่องที่ดีและควรใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบ้ติหน้าที่ของผู้มีอำนาจและผู้ที่เป็นนักการเมือง ซึ่งผมหมายถึงบุคคลที่มีอำนาจและหน้าที่ในการตัดสินใจสาธารณะทุกคน ไม่ว่าท่านจะอยู่ในตำแหน่งใด เพียงแต่ท่านมีอำนาจการตัดสินใจสาธารณะดังกล่าว ผมถือว่าเป็น นักการเมืองและทำหน้าที่การเมืองทั้งสิ้น
แต่ด้วยเส้นแบ่งระหว่าง ‘ใช่หรือไม่ใช่ผลประโยชน์ทับซ้อน’ นั้นบางเบาแบบเส้นยาแดงผ่าแป็ดดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้นถ้าการนำใช้มโนทัศน์ดังกล่าวเป็นความหวังดีกับประเทศชาติและบ้านเมืองจริงๆ เราก็ต้องระมัดระวังในการใช้ เพื่อให้ไม่เกิดการนำใช้มโนทัศน์ดังกล่าวเป็นเกมการเมืองและวาทกรรมในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามเท่านั้น แต่เราควรมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งในเบื้องต้นนี้ ผมมีข้อเสนอดังนี้
ข้อเสนอสำหรับฝ่ายที่มีอำนาจหน้าที่
ในสถานการณ์และโอกาสของการเกิดผลประโยขน์ทับซ้อนใดๆ ผู้มีอำนาจหน้าที่ต้องตระหนักในมโนทัศน์นี้และไม่ให้อคติ หรือผลประโยชน์ของตนเอง ลูกหลาน ญาติพื่น้อง หรือพวกพ้องทุกมิติ มามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ หรือการกระทำของตัวเองอย่างสิ้นเชิง ยึดการปฏิบัติที่มาตรฐาน อธิบายได้ และเปิดเผยโปร่งใสต่อสาธารณะ พร้อมที่จะได้รับการตรวจสอบได้ทุกเมื่อ
ข้อเสนอสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผลประโยชน์ทับซ้อนอาจจะเกิดได้ทั้งในองค์การธุรกิจ หน่วยงานราชการ และการบริหารประเทศ แต่สำหร้บองค์การธุรกิจและหน่วยงานราชการทั่วไปนั้นจะแนวปฏิบัติในการป้องปรามและเอาผิดกับผู้ที่ทำการใดๆ ก็ตามที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่แล้ว ยกเว้นระบบที่ใหญ่กว่าองค์กรเหล่านั้นจะปกป้อง ซึ่งถ้าเป็นหน่วยงานราชการ ระบบที่ใหญ่กว่าหน่วยงานราชการก็คือ ต้นสังกัดของแต่ละหน่วยงานและการเมืองระดับประเทศ ดังนั้นข้อเสนอของผมต่อไปนี้เป็นข้อเสนอสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นผลประโยน์ทับซ้อน โดยแยกออกเป็น 3 ประเด็น คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นประชาชนทั่วไป ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีสิทธิ์ในการร้องเรียน และระบบการจัดการการกระทำที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน ดังมีสาระสำคัญดังนี้
1. ประชาชนทั่วไป (1) ควรสนใจและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องผลประโยน์ทับซ้อนอย่างถูกต้องและแท้จริง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการกระบวนการ ‘ปั้นน้ำเป็นตัว (หรือทฤษฎีสมคบคิด: อ่านบทเขียนของผมก่อนหน้านี้)’ (2) ดูว่าตัวเองมีสิทธิ์และมีข้อมูลเพียงพอที่จะร้องเรียนให้มีการตรวจสอบและเอาผิดกับผู้ที่มีการกระทำที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ถ้ามีก็ควรทำหน้าที่่ที่พลเมืองที่ดีควรทำ และ (3) เมื่อถึงเวลาใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น เราก็ควรเลือกคนที่ไม่มีประวัติ หรือเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าว เพื่อไม่ให้เขามีอำนาจในการตัดสินใจสาธารณะอีก
2. สำหรับผู้มีสิทธิ์ร้องเรียน ควรร้องเรียนต่อเมื่อเรามีสิทธิ์ตามกฎหมาย และมีข้อมูลเพียงพอที่จะเอาผิดผู้ที่กระทำอันเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนได้ จึงควรร้อง ไม่ใช่ใช้สิทธิ์แค่เป็นเกมการเมืองอย่างหนึ่งของตนเอง หรือพวกพ้องเท่านั้น ซึ่งก็จะกลายเป็นพฤติกรรมที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนอีกรูปแบบหนึ่งได้
3. ระบบการจัดการการกระทำที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อให้การนำใช้หลักการผลประโยชน์ทับซ้อนให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติบ้านเมืองจริง ผมเสนอให้มีระบบในการจัดการกับการกระทำอันเป็นผลประโยขน์ทับซ้อนอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่เป็นวาทกรรม หรือเป็นกระบวนการปั้นน้ำเป็นตัวกันเฉยๆ ซึ่งควรมีระบบให้มีการร้องเรียน ตรวจสอบ และส่งฟ้องบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมอันเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน โดยการมีกฎหมายว่าด้วยการนี้โดยเฉพาะ มีการกำหนดลักษณะความผิดที่เป็นผลประทับซ้อนใช้ชัดเจนว่ามีอะไรบ้าง และหลักฐานที่จะร้องเรียนมีองค์ประกอบและข้อมูลอะไรบ้าง อย่างไร ใครบ้างมีสิทธิร้องเรียน ร้องเรียนที่หน่วยงานใด และกระบวนการสอบสวนหาความจริงเป็นอย่างไร และส่งฟ้องศาลใด อย่างไร (ใช่ใช่ตั้งศาลใหม่เพื่อการนี่้) มีบทบัญญัติคุ้มครองผู้ร้องเรียน และขณะเดียวกันก็กำหนดบทลงโทษไว้ทั้งโทษของร้องเรียน (ในกรณีที่ร้องเรียนเป็นเท็จ) และผู้ถูกต้องในกรณีที่มีความผิดตามข้อหา เป็นต้น
หวังว่า ‘ผลประโยชน์ทับซ้อน’ จะไม่ใช่วาทกรรมและเกมการเมืองกันต่อไป
สมาน อัศวภูมิ
22 สิ่งหาคม 2567
ไม่มีความเห็น