เรียนต่อต่างประเทศยุคใหม่


 

บทความรื่อง Southeast Asian students eye study destinations within Asia ในเว็บไซต์ University World News ฉบับวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๗ ระบุว่านักศึกษาในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นิยมเรียนต่อในประเทศเอเซียมากขึ้น เช่นญี่ปุ่น เกาหลี (ใต้)   ชวนให้ผมจินตนาการต่อว่า วงการอุดมศึกษาไทยน่าจะศึกษาความต้องการของนักศึกษาเหล่านี้และหาทางดึงดูดมาเรียนในประเทศไทยมากขึ้น   รวมทั้งส่งเสริมนักศึกษาไทยไปเรียนในประเทศอาเซียนมากขึ้น    เพื่อเป็นกลไก networking   

ที่จริงเรามีนักศึกษาจีนมาเรียนในประเทศไทยจำนวนไม่น้อย    ผมลองถามคุณ โคไพล็อต ณ ไมโครซอฟท์ ถึงสถานการณ์นักศึกษาจีนที่มาเรียนมหาวิทยาลัยไทย ได้ทราบว่าจำนวนเพิ่มเท่าตัวใน ๑๐ ปีที่ผ่านมา   โดยในปี ๒๕๖๕ มีจำนวน ๒๑,๔๑๙ คน   ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยมหาสารคามด้านดนตรีและด้านการจัดการ    มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก ด้านมหาบัณฑิตด้านการจัดการธุรกิจ    จุฬาฯ ในหลายสาขา     และยังมี ม. ธุรกิจบัณฑิต  อัสสัมชัญ  และเกริก 

ผมถามต่อเรื่องนักศึกษาไทยที่ไปเรียนมหาวิทยาลัยจีนในช่วงเดียวกัน    ได้ข้อมูลว่าเพิ่มขึ้น ๖ เท่า     โดยไปเรียนภาษาจีน   แพทย์ ฝังเข็ม   และบริหารธุรกิจ    โดย คุณโคไพล็อตบอกว่า แม้ไทยจะลงทุนมากด้านการศึกษาแต่อยู่ที่อันดับ ๔๕ ใน ๔๙ ประเทศ    คุณภาพการศึกษาจีนสูงกว่ามาก   

นั่นเป็นภาพกว้างๆ   การที่นักศึกษาจีนนิยมไปเรียนดนตรีที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามต้องมีที่มาที่ไป    ผมจึงคิดว่า       ควรมีการวิจัยแนวทางส่งเสริม mobility ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเอเซียด้วยกัน    ทั้งที่เป็น outbound และ inbound ของไทย   เพื่อส่งเสริมความสมานสามัคคีของคนเอเซียด้วยกัน   เสริมสภาพที่คนนิยมไปเรียนต่อในประเทศตะวันตก   

วิจารณ์ พานิช

๒๐ มี.ค. ๖๗

  

หมายเลขบันทึก: 717793เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2024 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2024 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมาก มีนักศึกษาจีนเข้ามาเยอะ ไปเรียนของมหาวิทยาลันเอกชนก็มากครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท