การเขียนโครงร่างวิจัยอย่างไร..ให้ตรงใจคนอ่าน


การเขียนโครงร่างวิจัยอย่างไร..ให้ตรงใจคนอ่าน

จากประสบการณ์อ่านงานวิจัยมานานมาก ก็อยากมาเล่าเทคนิค การเขียนโครงร่างวิจัยอย่างไร..ให้ตรงใจคนอ่าน คนอ่านส่วนใหญ่ก็คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ผู้ให้ทุน คณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ พี่เลี้ยงวิจัย Facilitator ผู้ทรงฯที่ตรวจเครื่องมือวิจัย ผู้ทรงฯที่พิจารณาผลงาน ฯลฯ

เหลาคำถามวิจัยให้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

  • หาขนาดปัญหา และดูตัว KPI ที่เป็น nursing outcome
  • หาสาเหตุของปัญหา ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจริงๆ เพื่อหา gap 
  • ตั้งคำถาม PICO น่าสนใจ(New)
  • วัตถุประสงค์ 1-2 อย่าง (หลัก/รอง)  
  • รูปแบบวิจัยที่สอดคล้องกับคำถาม/วัตถุประสงค์  
  • วิธีการ รายละเอียดของ methodology แต่ละวิธี  
  • การวัดผลลัพธ์ Output ตัววัดอื่นๆ: กระบวนการดีขึ้น Outcome (ปัญหาลดลง) 

ออกแบบวิจัยให้สอดคล้องกับคำถาม

  • วิจัยเชิงทดลอง  RCT
  • วิจัยกึ่งทดลอง Quasi experiment
  • เชิงปฏิบัติการ (Action  Research)
  • วิจัยและพัฒนา (Research & Development)
  • Evidence base practice / Clinical practice guideline
  • ฯลฯ

ออกแบบวิจัยอย่างไรให้ตรงใจผู้ทรงคุณวุฒิ

  • ตั้งชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับ study design
  • ออกแบบวิจัยให้ถูกต้องตรงกับ study design ที่เราใช้ 
  • การออกแบบวิจัยแบบไหน ต้องศึกษาขั้นตอนการวิจัยให้เข้าใจและดำเนินการตามนั้น (สำคัญ)
  • การออกแบบวิจัยที่ใช้วิธี mix method ถ้าเรายังเป็นนักวิจัยหน้าใหม่ รอไว้ก่อน
  • การออกแบบวิจัยที่เป็นระบบที่ใหญ่มาก โดยเฉพาะงานวิจัยที่ทำให้องค์กรหรือสถาบัน ควรเลือกประชากรที่เป็นตัวแทนไปก่อน เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วค่อยไปขยายผลทั่วทั้งองค์กร จะง่ายกว่า 

ประเด็นที่ทำให้งานวิจัยเรามีประเด็นปัญหา คือ 

  • การออกแบบวิจัยไม่ตรงกับ study design พบมากที่สุด (รูปแบบการวิจัยไม่ชัดเจน)
  • ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยไม่เป็นไปตามรูปแบบการวิจัย
  • การออกแบบวิจัยไม่คำนึงถึงกรอบจริยธรรมวิจัย โดยไม่ตั้งใจ ดังนั้นผู้วิจัยต้องศึกษาและเข้าอบรมจริยธรรมวิจัยตามกรอบเวลาที่กำหนด 
  • การยื่นขอจริยธรรมในการวิจัย การเขียนเค้าโครงฯ การเขียนแบบเสนอขอฯ และการเขียนเอกสารขอคำยินยอม เนื้อหาไม่สอดคล้องกัน และไม่แนบเครื่องมือวิจัยที่มีส่งให้คณะกรรมการฯพิจารณา
  • การขอใช้เครื่องมือวิจัย ไม่ได้ขออนุญาตและไม่หาความเที่ยงและการขอปรับใช้เครื่องมือวิจัย ไม่ได้หาความตรงเนื้อหาและหาความเที่ยง 
  • การวิเคราะห์ผลวิจัย ใช้สถิติไม่ถูกต้องและการอ่านผลงานวิจัยไม่น่าสนใจ
  • อภิปรายผลไม่สอดคล้องกับทฤษฎีทางการพยาบาลและการทบทวนงานวิจัย
  • การเขียนข้อเสนอแนะในการทำวิจัย ไปเสนอแนะในสิ่งที่ไม่ได้เกิดจากผลการวิจัย

สรุป

  • หากการออกแบบวิจัยที่ดี เป็นไปตามบทบาทพยาบาล ผลลัพธ์เกิดกับผู้ใช้บริการ คือ ผู้ป่วย ใช้เแนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาล  จะตรงใจคนอ่านแน่นอน 
  • อย่างไรก็ดี ขอให้มีพี่เลี้ยงที่มีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยช่วยอ่าน จะได้มุมมองหลากหลายและช่วยปรับโครงร่างวิจัยให้เราอย่างน้อยให้ได้ร้อยละ70 ถ้าผ่านคณะกรรมการจริยธรรม เพิ่มเป็นร้อยละ 80 และตีพิมพ์สำเร็จ ก็จะได้เป็น ร้อยละ 90 อีกร้อยละ 10 เก็บคะแนนไว้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่อ่านเลื่อนระดับประเมินผลอีกครั้ง (การแบ่งตามการรับรู้ของพี่นะคะ)

………………….

อุบล จ๋วงพานิช

ในฐานะผู้รออ่านงานวิจัย 

16.2.67

หมายเลขบันทึก: 717334เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2024 06:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2024 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณ อ ขจิตและคุณณัฐรดา ที่มาให้กำลังใจพี่แก้วนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท