ชีวิตที่พอพียง  4658. ปลายทางชีวิต


 

ชีวิตของผมเข้าสู่ปลายทาง เพราะปีนี้ปลายปีอายุก็จะเต็ม ๘๒  จึงเตรียมตัวตายด้วยการไปเข้า คอร์ส Living and Dying with Dignity ที่ผมเล่าไว้ที่ (๑)   และ (๒)    

หนังสือ ปลายทางชีวิต...ขอลิขิตการรักษา โดย ศ. ดร. แสวง บุญเฉลิมวิภาส  ให้คำแนะนำทางกฎหมายเกี่ยวกับการแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในระยะสุดท้ายของชีวิต (living will)   และความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย    หนังสือเล่มนี้ เชื่อมโยงกับการก่อตั้ง ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์  ที่เป็นศูนย์วิชาการด้านการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) (๑)   

สภากาชาดไทย มี ศูนย์ชีวาภิบาล ให้บริการผู้ป่วยระยะสุดท้าย      

เมื่อ ๑๑ ปีที่แล้ว ผมร่วมคณะเดินทางไปดูงานกิจการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่สหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น   เล่าไว้ที่ (๒) 

ปลายทางชีวิตของผม โชคดีที่เตรียมนิสัยออกกำลังกายแบบแอโรบิคไว้ตั้งแต่อายุ ๔๐ และทำสม่ำเสมอตลอดมา    ได้ผลด้านการฝึกจิตไปด้วยในตัว   และโชคดีอีกชั้น ที่ชีวิตผมผูกพันอยู่กับวงการด้านพัฒนาจิตวิญญาณ   รวมทั้งในช่วงสิบกว่าปีหลังผมสนใจเรื่องการเรียนรู้มากขึ้น   ส่งผลให้ฝึกฝนตนเอง หรือเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเพิ่มขึ้นหลายด้าน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาตัวตน ไปจนเข้าสู่การลดละตัวตน   ช่วยให้ชีวิตเบาสบาย   

น่าจะเป็นโชคดีมากกว่าโชคร้าย ที่ต้นปีที่แล้วโรคร้าย (มะเร็งกระเพาะปัสสาวะชนิดร้ายแรงมาก) มาเตือนสติ    ให้ เรียนรู้และฝึกฝนด้านในของตนเองมากยิ่งขึ้น   ด้วยการบอกตนเองว่า “กายป่วยแต่ใจไม่ป่วย”    มีโรคแต่ไม่ป่วย   ยังดำเนินชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้       

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ก.พ. ๖๗

  

 

 

หมายเลขบันทึก: 717300เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2024 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2024 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท