ถอดรหัสนักวิชาการตะวันตก : ทำอย่างไรถึงเป็นผู้นำความคิดให้บริษัทเอกชน?


ถ้าสังเกต Pattern จะเป็นอาจารย์จาก ฮาร์เวิร์ด ชิคาโก สแตมฟอร์ด หรือพวกบรรดา Consult ไม่ว่าจาก แมคเคนซี่ วิธีการของฝรั่ง เขาจะไปสัมภาษณ์ 10 บริษัท หาสิ่งที่เหมือนกันของแต่บริษัท แล้วพัฒนาเป็น Concept หนึ่ง เสร็จแล้วเอาไปเขียนลงวารสาร ซึ่งส่วนใหญ่ที่ต้องลงคือ Harvard Business Review พอลงเสร็จก็พิมพ์เป็นเล่ม แล้วก็ขายทั่วโลก แล้วรายได้ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการขายหนังสือ จะมาจากการไปเป็นผู้พูด แขกรับเชิญของผู้พูด ซึ่งจริง ๆ ก็เป็นอีกวิถีทางในการทำธุรกิจของเขา แล้วบางคนก็ไม่ยอมให้ Product ตัวเองตาย มีวิธีการ Extend Product Shelf Life ของตัวเอง

ถอดรหัสนักวิชาการตะวันตก

ทำอย่างไรถึงเป็นผู้นำความคิดให้บริษัทเอกชน?

 

         เมื่อนักคิด นักวิชาการทางฝั่งตะวันตกเชี่ยวชาญการวางกระบวนการทำงาน จึงไม่แปลกที่จะมีเครื่องมือทางการจัดการออกมาจากทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกาให้เราเห็นกันเป็นระยะ ดร.พสุ เดชะรินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาพาณิชยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าไม่ต่างอะไรไปจากสินค้าที่ออกมาเร่ขายความคิด

          “มันเป็น Product ตัวหนึ่ง ถ้าสังเกต Pattern จะเป็นอาจารย์จาก ฮาร์เวิร์ด ชิคาโก สแตมฟอร์ด หรือพวกบรรดา Consult ไม่ว่าจาก แมคเคนซี่ จากแบรนด์ทั้งหลาย ก็จะเริ่ม Pattern คือจะต้องเขียนบทความลง Harvard Business Review ก่อน วิธีการของฝรั่ง เขาจะไปสัมภาษณ์ 10 บริษัท หาสิ่งที่เหมือนกันของแต่บริษัท แล้วพัฒนาเป็น Concept หนึ่ง เสร็จแล้วเอาไปเขียนลงวารสาร ซึ่งส่วนใหญ่ที่ต้องลงคือ Harvard Business Review พอลงเสร็จก็พิมพ์เป็นเล่ม แล้วก็ขายทั่วโลก แล้วก็หากินจากตรงนี้ แล้วรายได้ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการขายหนังสือ จะมาจากการไปเป็นผู้พูด แขกรับเชิญของผู้พูด ซึ่งจริง ๆ ก็เป็นอีกวิถีทางในการทำธุรกิจของเขา แล้วบางคนก็ไม่ยอมให้ Product ตัวเองตาย มีวิธีการ Extend Product Shelf Life ของตัวเอง

          “ผมยกตัวอย่างที่ผมสอนเยอะๆ อย่างเรื่อง Balanced Scorecard ของ Kaplan and Norton ได้พัฒนา Balanced Scorecard มาตั้งแต่ประมาณปี 1992 พอมาถึงปี 2009 ก็ยังขายได้อยู่ เพราะเขาพัฒนา Concept นี้ไปเรื่อย ๆ และพยายาม Extend Shelf Life ของตัว Balanced Scorecard เรื่อยๆ จากการเป็น Balanced Scorecard เริ่มมาเป็นตัว Strategy Map จากนั้น พอมาถึงช่วงปี 2008-2009 จะพูดถึงเรื่อง Strategy Execution จากนั้นพูดถึง Strategic of Management Process คือมันก็เป็นการ Extend Shelf Life” 

          เมื่อถามต่อว่าทำไมอาจารย์ทางด้านบริหารธุรกิจ หรือด้านการจัดการในบ้านเรา ถึงถูกมองว่าอยู่บนหอคอยงาช้าง ซึ่งจะแตกต่างไปจากนักวิชาการหรืออาจารย์ทางฝั่งตะวันตก ที่เมื่อนำเสนอเครื่องมือทางการบริหารจัดการใหม่ ๆ ออกมา บริษัทห้างร้านต่าง ๆ ก็มักจะรับฟัง และนำมาใช้ ดร.พสุ ไขข้อข้องใจดังกล่าวว่า

          “ผมว่าน่าจะเป็นค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาในบ้านเราน้อยกว่าต่างประเทศ สังเกตในบ้านเรา คนไทยสมมติว่ามีเงินเหลือจะไปบริจาคที่ไหน น้อยคนมากที่จะบริจาคให้สถาบันการศึกษา ส่วนใหญ่ก็บริจาควัด แต่ชื่อ Business School ต่าง ๆ ของต่างประเทศจะเป็นชื่อของคนบริจาค Kellogg (Kellogg School of Management-Northwestern University), Wharton (the Wharton School of the University of Pennsylvania), Booth (the University Of Chicago Booth School Of Business) การให้ความสำคัญกับค่านิยมการศึกษาต่างกัน ขณะเดียวกันในเมืองไทย เราก็ยึดกรอบว่าอาจารย์ต้องอยู่ในมหาวิทยาลัย ออกไปภายนอกไม่ได้ ไปหากิน ไปทำ Consult ภายนอกไม่ได้ เท่ากับเอาเวลาราชการมาหากิน 

          “แต่อาจารย์ที่สอนทางด้านธุรกิจ เขาก็มองอีกมุมหนึ่งว่าบริหารธุรกิจเป็นวิชาชีพ มันไม่ได้เป็นทฤษฎีเหมือนกับเลข ฟิสิกส์ แต่เป็นวิชาชีพเหมือนกับ หมอ เหมือนกับ ทนาย ถามว่าหมอ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ เขาก็ต้องตรวจโรค คนที่เรียนด้านกฎหมายเพื่อสร้างสมประสบการณ์เขาก็ต้องไปศึกษา ฟังคดี อ่านกฎหมายมากขึ้น เพราะฉะนั้นถามว่าคนที่สอนด้านบริหารธุรกิจในต่างประเทศ เขาก็มองมุมเดียวกัน ถ้าเขาอยากไปสร้างประสบการณ์ เขาก็ต้องออกไป Practice คนไข้ของเขาคือบริษัท แต่ต่างจากหมอคือ หมอ คนไข้เดินเข้ามาหาที่โรงพยาบาล คณะแพทย์ แต่คนที่สอนทางด้านบริหารธุรกิจ เราจะต้องเดินไปหาคนไข้ ในต่างประเทศ เขามองว่าการเปลี่ยนแปลงทฤษฏีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เกิดจากภาคธุรกิจ มันไม่ใช่การทดลองในห้องแล็บฯ แล้วสามารถสร้างแนวคิดขึ้นมาได้ ถามว่า Blue Ocean, Balanced Scorecard, Six Sigma, Reengineering, TQM, KM, LO, Risk Management ถามว่าพวกนี้เกิดขึ้นจากสิ่งที่ธุรกิจเขาปฏิบัติ แล้วอาจารย์ฝรั่งเขาสามารถจะเข้าไปศึกษา แล้วรวบรวมออกมาเป็นแนวคิดขึ้นมา แต่ไม่ได้เกิดจากการทดลองในห้องแล็บฯ ที่สถาบันการศึกษาแล้วคิดออกมาได้ มันไม่ใช่”

 

หมายเหตุ : ตีพิมพ์ในนิตยสาร BrandAge Essential ฉบับ Super Company ปี 2009

หมายเลขบันทึก: 714687เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2023 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2023 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท