อนุทินล่าสุด


อรรถการ สัตยพาณิชย์
เขียนเมื่อ

กลอนพาไปแบบเหงาๆ เศร้าๆ ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
อรรถการ สัตยพาณิชย์
เขียนเมื่อ

หมายเหตุ: เป็นบทกลอนที่แต่งแดในหลวงรัชกาลที่ ๙ ครับ



ความเห็น (1)

กินใจ … คิดถึงพระองค์ท่านนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
อรรถการ สัตยพาณิชย์
เขียนเมื่อ

หมายเหตุ: เป็นกลอนงานศพที่แต่งเพื่ออ่านในงานศพคุณสายธาร ภรรยาของเพื่อนร่วมงาน รู้สึกเศร้า เพราะมีลูกสาวยังเรียนชั้นประถมต้น ที่แม่ต้องจากไป แล้วอยู่กับพ่อ ใจหายจริงๆ ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
อรรถการ สัตยพาณิชย์
เขียนเมื่อ

ปล.เป็นความรู้สึกส่วนตัว เวลาไปดูงาน ทั้งๆ ที่มีประโยชน์ แต่ก็ไม่ค่อยมีคนสนใจ ขณะที่เวลาช้อปปิ้งดูจะกระตือรือร้นมากกว่าเวลาไปดูสิ่งที่มีประโยชน์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
อรรถการ สัตยพาณิชย์
เขียนเมื่อ

หมายเหตุ: ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมทำงานในโครงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D) ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปอย่างหนึ่งคือ การพัฒนา OTOP ควรขมวดรวมกับการท่องเที่ยวชุมชน ต่อยอดจากศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของคนในชุมชนให้เข้มข้นและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ปัญหาของพี่น้อง OTOP กลุ่ม D มักลืมคิดค่าจ้างแรงงานของตัวเองเป็นต้นทุน รวมทั้งยังมีปัญหาในเรื่องบรรจุภัณฑ์ และควรเติมเทคนิคการเล่าเรื่องหรือ Story Telling เข้าไปเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
อรรถการ สัตยพาณิชย์
เขียนเมื่อ


อย่าหดหู่ เสียใจ ในยามตื่น

ยิ้มระรื่น ชื่นชีวา พาสดใส

เก็บความรัก ภักดี ที่จริงใจ

จงทิ้งไป ใจเล่ห์กล “คนไม่จริง”

 

โอกาสดี โอกาสมี ใช้ให้คุ้ม

อย่ามั่วกลุ้ม กับปัญหา ให้เกรงกริ่ง

บทพิสูจน์ คนกล้า ท้าคนจริง

สวมใจสิงห์ วิ่งเข้าหา ท้าอธรรม

 

แม้ชีวิต ต้องเผชิญ กับความยาก

ต้องเจอขวาก เพียงใด ใจอย่าช้ำ

เพราะคุณค่า ของคน อยู่ที่ “ทำ”

โอกาสนำ ทำความดี อย่าละเลย...


                        อรรถการ สัตยพาณิชย์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
อรรถการ สัตยพาณิชย์
เขียนเมื่อ

ธรรมะจากหลวงปู่ชา 

วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

วิถีแห่งกรรม วิถีแห่งธรรม บางครั้งคนเราก็รู้ว่าการกระทำบางอย่างมันไม่ถูก ไม่ควร แต่ก็ยังทำ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงได้สั่งสอนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายว่า

"สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน" 

หลักไตรสิกขา-ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมทำมาซึ่ง "สติ"

ธรรมะ คือ ธรรมชาติ ธรรมะ คือ หน้าที่ 

เริ่มต้นมี "สติ" นับเป็นก้าวแรกในการเข้าถึง "ธรรม" 



ความเห็น (1)

อนุโมทนาสาธุครับผม ^-^

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
อรรถการ สัตยพาณิชย์
เขียนเมื่อ

                          “บูรณาการ”

เปิดประตูสู่โลกกว้าง          สร้างเส้นทางการเรียนรู้

เปิดสมองสองตาดู             ใช่แค่อยู่ในห้องเรียน

ฝึกตนให้ค้นคว้า                เสริมปัญญาอย่างพากเพียร

“นักรู้” ต้องอ่านเขียน         ใช่ร่ำเรียนแค่ตำรา

ความรู้อยู่ทุกแห่ง               ต้องใช้แรงแสวงหา

บูรณาการสร้างปัญญา        เสริมคุณค่าให้แก่ตน

นักสื่อสารต้องรู้รอบ            ให้คำตอบอย่างแยบยล

อาชีพปัญญาชน                สื่อมวลชนบนทางดี

                                         อรรถการ สัตยพาณิชย์

หมายเหตุ : ขอบพระคุณผู้บริหาร คณาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่ได้เปิดโอกาสให้ได้มาศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขอบคุณ อ.ธีระพล อันมัย ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ม.อุบลฯ อาจารย์ผู้นิยามตัวเองว่า "กรรมกรสอนหนังสือ" และอีกหลายบทบาท หน้าที่ ทั้งการเป็น นักวิชาการสื่อเพื่อชุมชน นักเขียน นักร้องเพลงเพื่อชีวิต ฯลฯ เป็นรุ่นน้องที่คงเส้นคงวาในอุดมการณ์ ตั้งแต่ก้าวสู่รั้วลูกช้าง จวบจนกระทั่งวันนี้ อ.ธีร์ ก็ยังคงบอกเล่าเรื่องราววิถีชุมชนคนอีสานได้อย่างอ่อนน้อม ถ่อมตน แต่ลุ่มลึกในเชิงเนื้อหาในฐานะผู้ชี้แนะแนวทางให้ลูกศิษย์ลูกหา แม้เป็นสาขาวิชาที่มีอาจารย์ไม่กี่คน ไม่ได้มีเครื่องไม้เครื่องมือที่พร้อมเหมือนกับมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ แต่ที่นี่ก็ได้ติดตะเกียงทางความคิด และทางปัญญาให้แก่นักศึกษาได้อย่างเต็มเปี่ยม และน่าศรัทธายิ่ง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
อรรถการ สัตยพาณิชย์
เขียนเมื่อ

"อย่าให้ระบบการศึกษาเป็นแหล่งบ่มเพาะความกลัวอันไร้เหตุผล
เพราะความกลัวอย่างไม่มีเหตุผลนั้น
จะเป็นกำแพงที่ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์
ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกแห่งความสำเร็จของคนเรา"

หนังสือ : 101 คัมภีร์ฝ่าวิกฤติ
อรรถการ สัตยพาณิชย์

พ.ศ.2544

หมายเหตุ: ขอขอบคุณ  "กะว่าก๋า" https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kawaka&month=04-2007&date=30&group=19&gblog=28 ที่ให้ตัวอักษรของผมได้อยู่ในไดอารีครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
อรรถการ สัตยพาณิชย์
เขียนเมื่อ

              “ชาวนาน้อย-ชาวนาไทย”

 

หยาดเหงื่อ ทุกหยดหยาด        ทำนุชาติบำรุงไทย

สองมือ ประสานใจ                 ชาวนาไทย ใจพัฒนา

แม้ชีวิต ต้องทุกข์ยาก             ทนลำบากตลอดเวลา

แต่วิถี ของชาวนา                  คู่ควรค่าประชาจำ

มรดกข้าว มรดกชาติ               แหล่งสร้างศาสตร์วัฒนธรรม

หลอมรวม ศิลปกรรม              รังสรรค์ธรรมนำจิตใจ

ชาวนาน้อย จะคอยสาน           สืบตำนานอันเกรียงไกร

เทิดทูน ด้วยดวงใจ                ความยิ่งใหญ่แห่งชาวนา

 

                                          อรรถการ สัตยพาณิชย์

 

หมายเหตุ บทบันทึกเรื่องราวการเดินทางของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมไทยในโครงการชาวนาน้อยบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

https://brmlocalproducts.wordpress.com



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
อรรถการ สัตยพาณิชย์
เขียนเมื่อ

“ครูเรือแจว”“ครูเรือยนต์”

 

เสียงระฆัง  เคยกังวาน  เมื่อนานแล้ว

ครูเรือแจว  ต้องจอดลำ  ตามวิถี

เรือลำเก่า  นั้นผุพัง  ทุกนาที

ด้วยชีวี  มีเสื่อมทรุด  สุดทานทน

 

ครูเรือยนต์  คนมาแทน แล่นแรงเร่ง

ครูคนเก่ง  เร่งกันแซง  แรงทุกหน

ให้ได้มา ซึ่งเงินตรา  เพื่อตัวตน

จิตใจชน  คนเป็นครู  นั้นหายไป

 

มีความรู้  ที่เลอเลิศ  ประเสริฐศักดิ์

แต่ใจรัก  ความเป็นครู อยู่หรือไหม?

ยึดอัตตา  หาประโยชน์ อยู่ร่ำไป

ลืมหัวใจ  ให้ศิษย์น้อย  คอยในเรือ

 

ครูเรือแจว  ทอดใจ ให้อ่อนล้า

ยังศรัทธา ค่าคุณครู  อย่างล้นเหลือ

มีหัวใจ  ให้ลูกศิษย์  อย่างเหลือเฟือ

มีความเชื่อ  ว่าครูดี ต้องมีใจ

 

อย่าหวังรวย  เงินทอง และยศศักดิ์

ขอให้รัก  อาชีพครู คู่ขานไข

เป็นผู้สร้าง  จิตวิญญาณ สานเด็กไทย

ให้เติบใหญ่  ใจมีธรรม นำความดี.....

                      อรรถการ สัตยพาณิชย์

                         16 มกราคม 2561



ความเห็น (1)

เปรียบเทียบแตกต่างชัดดีค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท