การศึกษาที่ตั้งเป้าหมายไม่ครบ


 

เช้าวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๖ ระหว่างเดินทางอยู่บนรถยนต์ ผมฟังรายการวิทยุจุฬา ๑๐๑.๕ สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงท่านหนึ่งของ สพฐ. เรื่องบทบาทของครูและโรงเรียนในการป้องกันนักเรียนสูบบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่    ฟังแล้วสรุปได้ว่า วงการศึกษาไทยมองเป้าหมายการศึกษาไม่ครบ VASK   ไม่มองว่าการศึกษามีหน้าที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนา V & A ด้านดีใส่ตน   แต่มองว่าเป็นหน้าที่เสริม ที่มาจากความสนใจส่วนตัวของครู   

ฟังระหว่างบรรทัดได้ว่า ผู้บริหารระดับสูงท่านนี้มองว่า   หน้าที่ของครูและโรงเรียนอยู่ที่การสอนวิชาความรู้    ส่วนการช่วยให้ศิษย์พัฒนาค่านิยมที่ดี (ในที่นี้คือการไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด) เป็นเรื่องความสนใจส่วนตัวของครูบางคน   ผมตีความว่า ท่านไม่มีแนวคิดเรื่องการศึกษามีหน้าที่ (รับผิดชอบ) หนุนการสร้างค่านิยมและเจตคติที่ดีของนักเรียนเลย     ทำให้ผมคิดต่อว่า แนวคิดของท่าน น่าจะสะท้อนกระบวนทัศน์ขององค์กร   

กระบวนทัศน์ทางการศึกษาเช่นนี้น่าจะดำรงมากว่าห้าสิบปี    เพราะท่านพุทธทาสได้บัญญัติคำว่า “การศึกษาหมาหางด้วน” มานานกว่าห้าสิบปี     กรุณาอ่านข้อความในลิ้งค์นี้นะครับ จะเห็นว่าท่านพุทธทาสเห็นจุดอ่อนของการศึกษาไทยในเรื่อง การสร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์ มานานมาก    แต่วงการศึกษาไทยไม่เข้าใจ   

เมื่อไม่เข้าใจ    ไม่สร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์ครบด้าน VASK   ซึ่งตัว V หมายถึงคุณธรรมจริยธรรม    วงการศึกษาไทยจึงไม่สร้างคนดี    ที่รู้จัก “บังคับกิเลส และเป็นสุภาพบุรุษ”    เราจึงเห็นความวุ่นวายในสังคมทุกวงการ ทุกระดับ อยู่ในปัจจุบัน    ซึ่งหลายส่วนมาจากคนฉลาดแต่เห็นแก่ตัว   

แต่วงการศึกษาของ OECD เข้าใจ    ดังแสดงในเว็บไซต์ของ OECD เรื่อง OECD Learning Compass  

คนในวงการศึกษาไทย ตกอยู่ในวัฏฏจักรเชิงลบด้านค่านิยม มากน้อยเพียงไร  ด้านใดบ้าง  น่าจะเป็นโจทย์วิจัยด้านระบบการศึกษา

วิจารณ์ พานิช

๒๙ มิ.ย. ๖๖

บนรถ เดินทางไปมูลนิธิสดศรีฯ

 

หมายเลขบันทึก: 713827เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2023 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2023 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท