การแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 : คืนปอดให้ประชาชน


การแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 : คืนปอดให้ประชาชน

27 เมษายน 2566

: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น) [1]

 

บทความคราวก่อนผู้เขียนได้กล่าวถึง คาร์บอนเครดิต และภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับ "สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5" อย่างใกล้ชิดกัน

 

วิกฤต PM2.5

ณ วันนี้สถานการณ์ PM2.5 ฝุ่นภาคเหนือมีความคืบหน้าเปลี่ยนแปลงไปมาก แย่ลงมากๆ ในขณะที่การหาเสียงเลือกตั้ง 2566 นี้บรรดาพรรคการเมืองได้หยิบประเด็น PM2.5 มาหาเสียงด้วย 

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 ชาวเชียงรายร่วม 200 คนออกมาประท้วงปัญหาฝุ่นควันที่ลานหน้าอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช และจัดกิจกรรมรณรงค์แก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ชื่อว่า “ลูกหลานเชียงราย ไม่ยอมตายผ่อนส่ง” เสี่ยงโรคมะเร็งปอด เด็กสมองเติบโตไม่สมวัย "ตายผ่อนส่ง" เช่น ข่าว รพ.แม่จัน พบค่าฝุ่นสูงในห้องเด็กแรกเกิด (28 มีนาคม 2566), คนภาคเหนือเสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดมากที่สุดในประเทศ (5 เมษายน 2566)

ข้อมูลเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2566 ฝุ่นเหนือยังเกินมาตรฐานทุกพื้นที่ จุดความร้อนพุ่งเกือบ 2 พันจุด (3 เท่าของปีที่แล้วในช่วงเดียวกัน) มากสุดที่เชียงใหม่ ต้องทำบุญ “727 ปี เชียงใหม่” กลางฝุ่น 

สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ไทยยังอยู่ในขั้นวิกฤต ที่ไทยมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับเดียวที่คลุมทุกเรื่อง ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 แต่ในการบริหารราชการ และการจัดการต่างๆ ของรัฐ รวมบริการสาธารณะต่างๆ ของภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต้องบูรณาการประสานการปฏิบัติซึ่งกันและกัน (Integrated) มิได้ทำงานบริหารแบบเชิงเดี่ยว ทำเองแบบเป็นพระเอกไปเสียในทุกๆ เรื่องดังเช่นที่ กระทรวงมหาดไทย หรือ กรมการปกครอง หรือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หรือในอีกหลายๆ ส่วนราชการที่ยังถือธรรมเนียมคติ และนิยมทำกันอยู่

 

พื้นที่ป่าไม้ที่หายไป แต่พื้นที่การเกษตรที่สูงเพิ่มขึ้น เกิดปัญหาการเผาป่าเผาพื้นที่การเกษตรที่สูง

จากข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ที่สัมพันธ์กับการใช้พื้นที่เพื่อการเกษตร และการบุกรุกป่า ปี 2504 ไทยมีพื้นที่ป่าไม้ 171.0 ล้านไร่ 53.3% ของพื้นที่ทั้งประเทศ ปี 2558 มีพื้นที่ป่าไม้เหลือเพียง 102.1 ล้านไร่ (31.6%) การตรวจสอบข้อมูลสภาพป่าไม้ พบว่า ปี 2519 ไทยมีสภาพป่าไม้ที่อุดมถึง 38.67% ของพื้นที่ประเทศ (198,917 ตร.กม.หรือ 318 ล้านไร่) ปี 2534 เหลือ 26.64% (136,698 ตร.กม.หรือ 218 ล้านไร่) ซึ่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (ปี 2528) กำหนดป่าไม้ 40% ของพื้นที่ประเทศ

สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ไทยมีมาช้านาน สมัยก่อนไม่มีปัญหา เพราะมีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ ต่อมาป่าไม้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 ไทยสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปกว่า 50 ล้านไร่ (80,000 ตร.กม.) สาเหตุเพราะประชาชนท้องถิ่นไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่สูงจากการบุกรุกทำลายป่าที่เพิ่มสูงขึ้นมากเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพด(เลี้ยงสัตว์)

ปัญหาการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ขอเริ่มจาก กรีนพีซประเทศไทยได้เปิดประเด็นรณรงค์ "คืนปอดให้ประชาชน" (14 เมษายน 2566) ว่า ตลอดทั้งเดือนมีนาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน สถานการณ์ฝุ่นพิษมีความเข้มข้นสูงปกคลุมเหนืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเป็นวิกฤตระดับสูงสุด และส่งผลให้ประชาชนกว่า 2 ล้านคนนับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ต้องประสบกับผลกระทบทางสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่นพิษในระดับที่เป็นอันตราย โดยมีฝุ่น PM2.5 สูงกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไปต่อเนื่องกันนับสัปดาห์ นี่คือวิกฤตด้านสาธารณสุขที่ส่งผลอย่างร้ายแรงและถูกเพิกเฉยจากรัฐบาลมายาวนาน ถึงเวลาแล้วที่ต้องคืนอากาศบริสุทธิ์ให้กับประชาชน

จากการใช้พื้นที่เกษตรโดยการทำลายป่าที่สูงขึ้น เกิดปัญหาฝุ่นควันจากการเผาโดย 1 ใน 3 ของมลพิษฝุ่นควันคือการเผาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ข้ามพรมแดนมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา (นับตั้งแต่ปี 2545) พื้นที่ป่า 10.6 ล้านไร่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้เปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพด พื้นที่เกษตร 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (ส่วนใหญ่มีพื้นที่ภูเขา) เป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น 4 เท่า ภายใต้ "เกษตรพันธสัญญา" (Contract Farming) โดยบริษัทเอกชน เช่น ซีพี ประชาชนส่วนใหญ่มีหนี้สิน ข้อมูลในพื้นที่ภาคเหนือ (17 จังหวัด) ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 6.95 ล้านไร่ (68%) และ อยู่ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมา 56% ประเด็นหลักพบว่า สัดส่วนการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ข้าวโพดสูงกว่าสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของจุดร้อน (hot spot) ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์สูงถึง 95.6% ในพื้นที่ชุมชน 75.4% ส่วนการเผาในพื้นที่ เป็นนาข้าว 56.6% ขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวโพดมีการเผาเพียง 10.7% พื้นที่ปลูกอ้อยเผา 10.8% สรุปว่า ไทยเผาไร่เผาพื้นที่ปลูกข้าวโพด (ชาวเขาชาวดอย)น้อยกว่าการเผาที่นา เพียงแต่สัดส่วนพื้นที่การปลูกข้าวโพดที่เพิ่มสูงขึ้นมาก เท่ากับว่ามีการทำลายป่าที่มากขึ้น ซึ่งพื้นที่ภาคเหนือปลูกข้าวโพดมากกว่ารัฐฉานราว 10% แต่ส่วนใหญ่ฝุ่นควันเผาไหม้มาจากข้ามแดน แสดงว่าประเทศเพื่อนบ้านมีการเผาป่าที่มากกว่าไทย

ความล้มเหลวของภาครัฐในการแก้ไขปัญหา PM2.5 รัฐบาลได้ยอมรับแล้วว่า ฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาภูมิภาคอาเซียน มีฝุ่นพิษข้ามแดน ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจนักเกี่ยวข้องกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วยฯ (12 เมษายน 2566) สรุปว่า รัฐบาลล้มเหลวในการแก้ปัญหาฝุ่น 

 

แนวคิดพันธบัตรป่าไม้

มีข้อเสนอแก้ไขฟื้นฟูสภาพป่า โดย "พันธบัตรป่าไม้" (11 สิงหาคม 2560) เป็นกลไกทางการคลังรูปแบบใหม่ “เป็นกลไกการคลังฟื้นป่าเศรษฐกิจ” พลิกฟื้นผืนป่าด้วยพันธบัตรป่าไม้ ที่จะทำหน้าที่เชื่อมโยงปัจจัยการผลิตเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ป่าและระบบนิเวศป่าไม้ อย่างยั่งยืน ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน เงินทุน และ ความต้องการใช้ไม้ เชิงพาณิชย์ และนำไปสู่การแก้ปัญหาการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ โดยการระดมทุนและทรัพยากรจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อปลูกป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เนื่องจากการปลูกป่าเศรษฐกิจเป็นการดำเนินธุรกิจที่มี ผลกำไรจึงทำให้การปลูกป่าเศรษฐกิจสามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญสำหรับเกษตรกรเพื่อทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว

การบุกรุกพื้นที่ป่าถูกซ้ำเติมอย่างรุนแรงด้วยธุรกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูงซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ การต่อสู้กับธรกิจการเกษตรเชิงพาณิชย์บนที่สูงกินพื้นที่กว่า 10 ล้านไร่ซึ่งอยู่เหนือกำลังที่ภาครัฐจะปราบปรามได้ กอปรกับอยู่ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอน และนำประเทศไทยสู่สถานะความสมดุลทางคาร์บอน (Carbon Neutral)

หากประเทศไทยต้องการบรรลุพื้นที่ป่าไม้เป้าหมายร้อยละ 40 ของพื้นที่ ประเทศไทยต้องเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ 26 ล้านไร่ แต่ด้วยกลไกภาครัฐที่จัดสรรงบประมาณการปลูกป่าให้ปีละ 500 ล้านบาท ทำให้หน่วยงานด้านป่าไม้สามารถฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ได้เพียงประมาณ ปีละ 200,000 ไร่เท่านั้น ซึ่งการใช้กลไกภาครัฐในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้นี้จะต้องใช้เวลา ในการดำเนินการนานถึง 130 ปี หรือประมาณ 40 รัฐบาลกว่าประเทศไทยจะมีพื้นที่ป่าไม้ ตามเป้าหมาย ดังนั้นสิ่งเดียวที่ประเทศไทยจะทำได้คือการหากลไกใหม่ที่มีพลังมากพอจะสู้กับธุรกิจการเกษตรเชิงพาณิชย์บนที่สูงและการลักลอบตัดไม้เถื่อนทั้งยังต้องเป็นพลังที่มีศักยภาพ มากพอจะสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ได้มากถึง 26 ล้านไร่อีกด้วย

“พันธบัตรป่าไม้” เป็นกลไกทางการคลังที่ระดมเงินจากประชาชน ภาคธุรกิจหรือ ตลาดหลักทรัพย์เพื่อนำไปใช้ในการปลกป่าเศรษฐกิจในพื้นที่ป่าไมของรัฐที่ถูกบกรุกผู้ที่ปลูกป่าจะเป็นผู้ประกอบการเอกชนที่มีศักยภาพในการปลูกป่าเศรษฐกิจในพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยผลตอบแทนจากการขายไม้จะนำมาทยอยจ่ายคืนให้กับผู้ลงทุนในพันธบัตรป่าไม้ หวังว่าการพัฒนาป่าเศรษฐกิจด้วยกลไกพันธบัตรป่าไม้จะมีพลังมากพอที่จะ “พลิกฟื้นผืนป่า” ให้กับประเทศไทยได้ ทั้งยังเชื่อว่าหนทางเดียวที่จะต่อสู้กับธุรกิจของผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังการทำลายป่าไม้ด้วยธุรกิจการเกษตรเชิงพาณิชยบนที่สูงหรือการลักลอบตัดไม้เถื่อนคือการใช้พลังทางธุรกิจด้วยกันมาหักล้างกันเอง ถ้ากลไกพันธบัตรป่าไม้ที่สนับสนุนการปลูกป่าเศรษฐกิจสามารถทำกำไรได้ดี มีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม โดยเจ้าของเงินได้ผลตอบแทน จากการลงทุนในพันธบัตรป่าไม้ ชาวบ้านมีงานทำและมีรายได้ที่มั่นคงจากการปลูกและดูแลไม้เศรษฐกิจ นักธุรกิจได้กำไรจากการทำไม้เศรษฐกิจสังคมได้ป่าไม้คืนมาและระบบนิเวศดีขึ้นก็น่าจะต้านทานและเข้ามาทดแทนธุรกิจการเกษตรเชิงพาณิชย์บนที่สูงหรือการลักลอบตัดไม้เถื่อนได้

ถึงแม้การปลูกป่าเศรษฐกิจจะไม่สามารถทำให้พื้นที่ป่ากลับคนมาเหมือนป่าธรรมชาติได้ แต่การมีป่าเศรษฐกิจก็ยังทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้มากกว่าปล่อยให้พื้นที่สูงของประเทศไทยเป็นเขาหัวโล้นอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

คดีคืนปอดให้ประชาชน

จากสภาพปัญหาวิกฤตฝุ่นควันพิษ โดยเฉพาะฝุ่นควันข้ามพรมแดนที่วิกฤตมาก ประกอบกับ “สิทธิมนุษยชน” ที่เป็นสิทธิในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาดดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน (The Right to a Clean, Healthy and Sustainable Environment) ที่ไม่ต้องรอ “ร่างกฎหมายอากาศสะอาด” ที่เสนอกันมาหลายปี แต่สุดท้ายถูกเก็บไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยการหมดวาระของรัฐสภา มีคำฟ้องคดีปกครองสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ ต่อศาลปกครองเชียงใหม่ คำฟ้องลงวันที่ 10 เมษายน 2566 โดย ผู้ฟ้องคดี นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล (อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) กับพวกรวม 10 ราย (นางสาวนัทมน คงเจริญ ที่ 2 นางสาวดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล ที่ 3 นายปารณ บุญช่วย ที่ 4 นายรังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ ที่ 5 นายชำนาญ จันทร์เรือง ที่ 6 เด็กหญิงผกายเมย เกิดสว่าง ศิลารักษ์ (โดย นางสาวพรสุข เกิดสว่าง ผู้แทนโดยชอบธรรม) ที่ 7 สภาลมหายใจเชียงใหม่ โดย นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ที่ 8 สภาลมหายใจภาคเหนือ โดย นายวิทยา ครองทรัพย์ ที่ 9 กลุ่มสม-ดุล เชียงใหม่ โดย นายชนกนันทน์ นันตะวัน ที่ 10) 

ส่วนผู้ถูกฟ้องคดี คือ นายกรัฐมนตรี ที่ 1 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ที่ 2 คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ 3 และ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ 4

 

คำขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของผู้ฟ้องคดี

ในคำฟ้องนี้มีประเด็นที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันพิษของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือ (17 จังหวัด) คำขอท้ายฟ้อง 5 คำขอ คือ (1) ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลใด รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับหรืออาจได้รับอันตรายหรือความเสียหายดังกล่าว กระทำหรือร่วมกระทำการใดๆ อันจะมีผลควบคุม ระงับ หรือบรรเทาผลร้ายจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยเฉพาะพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ (2) ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 13 และดำเนินการตาม แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ในสถานการณ์วิกฤต ระดับที่ 4 เพื่อพิจารณากลั่นกรองแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือบรรเทาผลร้ายจากฝุ่นละอองขนาด เล็ก PM2.5 เสนอผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นการเร่งด่วน (3) ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อ แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในสภาวะวิกฤตและต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและทันที เมื่อ ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีค่ามากกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร รวมถึงต้องควบคุมดูแลให้ รัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไว้ล่วงหน้าตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 (4) ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ปรับปรุงแก้ไขแผนปฏิบัติ การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ให้บรรลุผลตามเกณฑ์ค่ามาตรฐาน ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2565 โดยการมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึงและเพียงพอของประชาชน (5) ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลควบคุม (Regulator) กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการจัดทำรายงานการเปิดเผยข้อมูล โดยกำหนดประเด็น เพิ่มเติมในแบบ 56-1 One Report หรือกำหนดแบบหรือวิธีการรายงานในลักษณะอื่น เพื่อให้บริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทลูก บริษัทย่อย บริษัทร่วมค้า หรือการลงทุนในรูปแบบใดๆ ที่ เกี่ยวข้องตามห่วงโซ่อุปทาน ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจในกิจกรรมหลัก ให้ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลเปิดเผย อย่างรอบด้านถึงผลกระทบหรือความเสี่ยงด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ทั้งที่เกิดขึ้นจากการ ดำเนินธุรกิจในประเทศและต่างประเทศและ/หรือการดำเนินธุรกิจดังกล่าวได้ส่งผลกระทบข้ามพรมแดน มายังประเทศไทย ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับผลิตผลทางการเกษตรที่ต้องเผาและเป็นแหล่งกำเนิดมลภาวะ ฝุ่น PM2.5 ข้ามพรมแดนกลับมายังประเทศไทย

 

ความคืบหน้าของคดีคืนปอดให้ประชาชน

ถือเป็นคำฟ้องคดีที่น่าสนใจมาก “นายกรัฐมนตรี” ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลต้องถูกศาลรับฟ้องคดีในที่สุด แม้ว่าก่อนหน้านี้เพียงเดือนเดียว ศาลปกครองได้สั่งยกฟ้องคดีที่นายภูมิ วชร เจริญผลิตผล ประชาชนชาวเชียงใหม่ได้ยื่นนายกรัฐมนตรีข้อหา “ละเลยต่อหน้าที่ฯ” ที่ไม่ประกาศพื้นที่สาธารณภัยเพื่อการแก้ไขปัญหาหมอกควัน PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือไปหมาดๆ 

สำหรับคดีคืนปอดให้ประชาชนนี้ ศาลปกครองเชียงใหม่ได้รับคำฟ้องเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 เฉพาะส่วนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่ 2 คือ นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เท่านั้น เพราะ ศาลให้เหตุผลที่ไม่รับฟ้อง "ผู้ถูกฟ้องคดี" ที่ 3 และที่ 4 ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่มีอำนาจฟ้อง และไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง 

ปัญหาฝุ่นพิษข้ามแดนที่เกี่ยวข้องกับ 3 กระทรวงแต่ ที่แกนนำจัดตั้งรัฐบาลในการเลือกตั้งคราวก่อน (ปี 2562) ต่างปฏิเสธความรับผิดชอบ เพราะเป็นรัฐบาลผสม ที่ต่างรับผิดชอบกันคนละกระทรวงกัน จึงปฏิเสธเสียงว่าไม่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ สภาพปัญหานี้เป็นวิกฤติข้ามรัฐบาลที่มีผู้ให้ความเห็นว่า “ต่อให้กระจายอำนาจ ก็แก้ไขปัญหา PM2.5 ไม่ได้” เช่นเมื่อคราวประชุมสัมมนา มีประเด็นว่าเหตุใด ผวจ.พิษณุโลก จึงแก้ปัญหา PM2.5 ไม่ได้ ก็เพราะอำนาจส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ที่ส่วนกลาง ไม่ใช่ส่วนภูมิภาค ปัจจัยที่ผู้ว่าฯ สามารถควบคุมได้นั้นมีน้อยมาก

 

นี่คือสถานการณ์โดยรวมของวิกฤติฝุ่นควันพิษปัจจุบันในภาคเหนือของประเทศไทย ต่อให้รอรัฐบาลชุดใหม่ก็อาจแก้ปัญหาไม่ตก เพราะเป็นเรื่องระหว่างประเทศในภูมิภาค และของโลก 

 

 

อ้างอิง

คำฟ้องคดี

[1] รวมคำพิพากษาคดีสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่น PM2.5

(อ้างอิงจาก เฟซบุ๊ก FB Enlaw, มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม, 30 มีนาคม 2566)

(1) คดีปกครองกรณีประชาชนฟ้องนายกรัฐมนตรี ละเลยต่อหน้าที่ไม่ใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ (ปี 2566)

คำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ คดีหมายเลขแดงที่ ส.1/2566 วันที่ 28 มีนาคม 2566

https://enlawfoundation.org/wp-content/uploads/2023/03/Decision-PM25CrisisZone2566-CMAdminCourt.pdf

(2) คดีปกครองกรณีประชาชนฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ละเลยต่อหน้าที่ไม่ประกาศให้พื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือที่มีปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นเขตควบคุมมลพิษ (ปี 2564)

คำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ คดีหมายเลขแดงที่ ส.1/2564 วันที่ 8 เมษายน 2564

https://enlawfoundation.org/wp-content/uploads/2023/03/Decision-PM25ControlZone2564-CMAdmincourt.pdf

(3) คดีปกครองกรณีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและประชาชน ฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ละเลยต่อหน้าที่ไม่ประกาศให้พื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นเขตควบคุมมลพิษ และไม่ดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 (ปี 2562)

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ส.28/2562 วันที่ 30 สิงหาคม 2562

https://enlawfoundation.org/wp-content/uploads/2023/03/Decision-BKKPM25ControlZone-CentralAdmincourt.pdf

ค้นหาและอ่านคำพิพากษาคดีสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ได้ที่ https://enlawfoundation.org/decision/

[2] คำฟ้องคดีคืนปอดให้ประชาชน (10 เมษายน 2566), https://www.mediafire.com/file/o951n09goxgim3d/CleansLungsPM2.5CMuniv2566.pdf/file

[3] ยกแรกประชาชนเฮ ศาลปกครองเชียงใหม่รับฟ้อง “ประยุทธ์” คดีฝุ่นสูงเกิดมาตรฐาน 17 จังหวัดภาคเหนือ, ข่าวสิ่งแวดล้อม By Lanner Editor, 22 เมษายน 2566, https://www.lannernews.com/22042566-3/

 

บทความ/รายงาน

[1] “พันธบัตรป่าไม้” กลไกการคลังฟื้นป่าเศรษฐกิจ โดยปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ, TDRI, 11 สิงหาคม 2560, https://tdri.or.th/2017/08/11-kt-opinion/ 

[2] พลิกฟื้นผืนป่าด้วยพันธบัตรป่าไม้ โดยอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2565, https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2022/09/Forest-Bond.pdf 

[3] เติบโตบนความสูญเสีย : ผลวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม 20 ปีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และเกษตรพันธสัญญาในเขตภาคเหนือของไทย, GreenPeaceThailand, 16 กันยายน 2565, https://www.greenpeace.org/thailand/publication/24719/food-agriculture-mapping-20-years-of-maize-and-deforestation-in-thailand/

[4] ข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5,  โดย นิพนธ์ พัวพงศกร, กัมพล ปั้นตะกั่ว และสุทธิภัทร ราชคม, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ : tdri), 9 มีนาคม 2566,  https://tdri.or.th/2023/03/pm2-5-thailands-solutions/

[5] รพ.แม่จัน ค่าฝุ่นสูงในห้องเด็กแรกเกิด, Thai PBS, 28 มีนาคม 2566, https://www.thaipbs.or.th/program/EveningNews/episodes/93934 

[6] วิกฤตฝุ่น PM 2.5 เสี่ยงโรคมะเร็งปอด เด็กสมองเติบโตไม่สมวัย “จราจร”, นิตยสารผู้หญิงนะคะ, 28 มีนาคม 2566, https://www.pooyingnaka.com/content/content.php?No=6636 

[7] PM 2.5 เชียงราย : หมอกพิษฆ่าแม่ผม “เรารักบ้านเกิด แต่เกลียดอากาศที่บ้านเกิด”, โดย กีรติ วุฒิสกุลชัย, ผู้สื่อข่าวพิเศษ บีบีซีไทย, 30 มีนาคม 2566, https://bbc.in/3TZK8hv

[8] แก้มลพิษ ยากตรงไหน “วราวุธ ศิลปอาชา” นโยบาย Wow Thailand เปลี่ยนปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นความมั่นคงทางเกษตร, โดย อรรถภูมิ อองกุลนะ, atapoom ongkulna, National Geographic Thai, ngthai, 21 เมษายน 2566, https://ngthai.com/featured/48269/varawut-silapa-archa/

 

ข่าว

"ทิศทางและรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินในภูมิภาค" (การมอบอำนาจและการกระจายอำนาจ) จัดโดยวุฒิสภา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566, เพื่อศึกษาข้อมูลสภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาของการบริหารราชการในภูมิภาค รวมทั้งเพื่อให้ได้รูปแบบการบริหารราชการในภูมิภาคที่ตอบโจทย์ประชาชนและมีประสิทธิภาพ ฯลฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จากห้องอัศวินแกรนด์ A ชั้น 4 โรงแรมอัศวินแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร, https://www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=706294541191241

มหาดไทย ยกระดับการแก้ไขปัญหา PM 2.5 สั่งการทุกจังหวัด เร่งแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก เน้นบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน,ข่าวทำเนียบรัฐบาล, 12 มีนาคม 2566, https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/66018 

“หมอธีระวัฒน์” เผยสาเหตุ “ฝุ่นควันภาคเหนือ” มาจากการเผาป่าปลูกข้าวโพด (เลี้ยงสัตว์), ผู้จัดการออนไลน์, 15 มีนาคม 2566, https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000024413

สะพรึง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำภาคเหนือเสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดมากที่สุดในประเทศ, โดย Wanpen Puttanont, bangkokinsight, 5 เมษายน 2566, https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/general/1077634/ 

“สุดารัตน์” บินตรงสปป.ลาว ถกทางออกปัญหาฝุ่น PM 2.5 เสนอตั้งคณะกรรมการร่วม 2 ชาติ ไทย-ลาว, ไทยโพสต์, 7 เมษายน 2566, 17:50 น., https://www.thaipost.net/public-relations-news/356515/ 

นทท.หนีร้อน แห่เที่ยวสะพานมอญก่อนสงกรานต์, NationTV, 9 เมษายน 2566, https://www.nationtv.tv/news/region/378911177 

ตามรอยฝุ่นควัน : สัดส่วนการปลูกข้าวโพดของแต่ละประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง, โดย Biothai Team, 10 เมษายน 2566, อ้างจาก เฟซบุ๊ก หมอชูชัย, 10 เมษายน 2566, https://www.biothai.net/policy/green-economy/5557 

กรมป่าไม้ เร่งแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือและบริเวณแนวชายแดน ด้วยการใช้ 3 มาตรการ 6 แนวทางมาแก้ปัญหา, สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย, NNT ThaiNews, 10 เมษายน 2566, https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230410103315527 

เหนือ-อีสาน ร้อนทะลัก ฝุ่นพิษแก้ไม่ตก กทม.ฟ้าหลัว อุณภูมิสูงสุด 39 องศา, เดลินิวส์, 11 เมษายน 2566, https://www.dailynews.co.th/news/2202968/ 

ฝุ่น PM 2.5 : คนเชียงราย-เชียงใหม่ ต่อสู้อย่างไร หลังฝุ่นพิษทำเสี่ยง “ตายผ่อนส่ง”, BBC Thai, 11 เมษายน 2566, https://bbc.in/3o5qVyZ 

นายกฯ รับฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาภูมิภาคอาเซียน สั่งกระทรวงเกี่ยวข้องรายงานทุก 3 วัน, ไทยโพสต์, 11 เมษายน 2566, 18:01 น., https://www.thaipost.net/x-cite-news/358526/

ภาครัฐ -สว. เตรียมถอดบทเรียนต้นแบบระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดของซีพี จัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยั่งยืน, ไทยโพสต์, 12 เมษายน 2566, 18:00 น., https://www.thaipost.net/public-relations-news/359129/

ด้านสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วยฯ ชี้ “รัฐบาลล้มเหลวแก้ฝุ่น” : ภาครัฐเตรียมบูรณาการข้อมูลกับซีพี เพื่อบรรเทา-แก้วิกฤตฝุ่นเหนือ, GreenNews, 12 เมษายน 2566, https://greennews.agency/?p=34256 

คืนปอดให้ประชาชน (เชิญร่วมลงชื่อรณรงค์), GreenPeaceThailand, 14 เมษายน 2566, 

https://www.greenpeace.org/thailand/explore/transform/food-system-petition/

โลกส่อเผชิญสภาพอากาศร้อนจัดทำลายสถิติในปี 66-67 ผลพวงจากเอลนีโญ, TNNThailand, 21 เมษายน 2566, https://www.tnnthailand.com/news/earth/144369/

เตรียมรับเอลนีโญ อุตุฯ ชี้ฤดูฝนประเทศไทยปี 2566 เริ่มสัปดาห์ที่ 3 เดือน พ.ค.นี้, เดลินิวส์, 25 เมษายน 2566, https://www.dailynews.co.th/news/2254989/ 


 

[1]บทความนี้เผยแพร่ใน FB เพจสิทธิมนุษยชนและการแรงงาน, 25 เมษายน 2566, https://www.facebook.com/100062494300418/posts/pfbid02t6tBvC96QnZ4jFhuCvZRx1Hr4j5gtY1bDfi6dyK4SFNQVNvndfvdZb5T4PuSYNtwl/?mibextid=cr9u03

& การฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้กับการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันพิษ PM2.5 : บทความพิเศษ/ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น), สยามรัฐออนไลน์, 6 พฤษภาคม 2566, https://siamrath.co.th/n/444362 



ความเห็น (2)

May I add this: คุณภาพชีวิต:…ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของจิสด้า ใน 17 จังหวัดภาคเหนือต้นปีนี้ พบว่า จุด hot spot เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์สูงถึง 95.6% พื้นที่ชุมชน 75.4% ส่วนพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะนาข้าวมีการเผา 56.6% ขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวโพดมีการเผาเพียง 10.7% พื้นที่ปลูกอ้อย10.8%… https://www.thaipost.net/public-relations-news/359129/ I wonder if this report is pure statistics –that is ‘measures of the past’ so that forest fires is not corn growing area fires – even when forests are slashed and burned to grow corns –to make corn meal animal feed – to produce meat – to satisfy consumers’ demand – https://www.gotoknow.org/journals/173577

Dear sir ; So, I’m not agreeing that. Because corn area grows up to 68% in the north region, and 56% in Shan state, Myanmar. It’s very high corn area ratio, even in summary the hot spot ratio is less, this is the main point.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท