จากสงครามจริงมาสู่สงครามความคิด (The war of thought)


จากสงครามจริงมาสู่สงครามความคิด (The war of thought)

27 เมษายน 2566
: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก (ท้องถิ่น) [1]
 

ท่ามกลางโลกแห่งสงครามความคิด 

ในสงครามความคิดเป็นเรื่องความขัดแย้งมีมานมนาน สมัยก่อนยุคกลางยุโรปก็มีความขัดแย้งทางความคิดกันระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักร มายุคหลังอาณานิคมก็มีความขัดแย้งระหว่างเจ้าผู้ครองอำนาจกับกลุ่มคนหัวก้าวหน้า ในยุคสงครามเย็น (Cold war) อันเป็นความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมือง ก็มีความขัดแย้งกันระหว่างลัทธิเสรีทุนนิยม (สหรัฐอเมริกา) กับลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (สหภาพโซเวียตรัสเซียและจีน) และยุคข่าวสารก็มีความขัดแย้งกันใน “การจัดระเบียบโลกใหม่” (New world orders) มาจนถึงยุคปัจจุบันไม่แน่ใจว่าจะยังมีประเด็นใหม่ทางความคิดที่ขัดแย้งอะไรมีใหม่ หรือยังเหลืออีก เพราะหน่วยงานความมั่นคง (security) ของรัฐจะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ แน่นอนว่าในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว (disrupt) ปัจจุบันนั้น ผู้คนในสังคมต้องอดทนและพิเคราะห์ (Resilience) จนสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้จากความยืดหยุ่นทางอารมณ์และความเข้มแข็งทางจิตใจในการอดทนต่อสถานการณ์ที่กดดัน อันเป็น “ความยืดหยุ่นทางจิตใจ” เป็น “ภูมิคุ้มกันทางใจ” (RQ : Resilience Quotient) 

โลกสมัยใหม่มีความขัดแย้งของ “คู่ขัดแย้ง” ที่สำคัญในทางความคิด อุดมการณ์ทางการเมือง ที่ใช้กลยุทธต่อสู้กันในทางจิตวิทยา (psychological warfare) เสียเป็นส่วนใหญ่ ที่เป็นเทคนิคเดิม “การโฆษณาชวนเชื่อ” (propaganda) ที่ใช้กันในยุคสงครามเย็น เพียงแต่อาจมีบริบทที่แตกต่างกันบ้าง เช่น การใช้สื่อโซเซียลมากขึ้น หน่วยงานความมั่นคงของรัฐใช้ไอโอ (IO : Information Operation) ในการบิดเบือนข่าวสาร (Faked news) การชุมนุมทางการเมืองก็คือการทำสงครามทางความคิดขององค์กรทางสังคมอย่างหนึ่ง ดังนั้น จากสงครามจริงจึงมาสู่ “สงครามทางความคิด” มันเป็นสงครามของโลกสมัยใหม่ ที่มาแทนที่สงครามจริงๆ เป็นการรบกันทางความคิด เอาชนะกันทางนี้ ใครชนะก็ได้พวกไป เป็นการแย่งชิงมวลชน

 

การสงครามผสมผสาน (Hybrid warfare)

เป็นยุทธศาสตร์ทางทหารซึ่งใช้การสงครามทางการเมือง และผสมรวมการสงครามตามแบบ การสงครามนอกแบบ และการสงครามไซเบอร์ กับวิธีชักจูงจิตใจแบบอื่น เช่น ข่าวปลอม การทูต การต่อสู้ทางกฎหมาย และการแทรกแซงการเลือกตั้งต่างประเทศ เมื่อใช้ปฏิบัติการเคลื่อนไหวกับความพยายามบ่อนทำลาย เป็น “สงครามลูกผสม” หรือ “สงครามไฮบริด” ที่ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. (2562) ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ โดยเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์การเมืองภายในของไทย จนถูกหลายฝ่ายออกมาแสดงทัศนะตอบโต้ มีการกล่าวอีกฝ่ายเป็นพวก “ซ้ายดัดจริต” คือคนที่ไปเรียนตะวันตกแล้วคิดจะเปลี่ยนแปลงประเทศ ซึ่งในอดีต มีพวกซ้ายจัดขวาจัด ไปปลุกระดมให้คนหลงผิด เกิดสงครามระหว่างลัทธิและอุดมการณ์มาแล้ว

 

ทำไมต้องเกิดสงคราม

ก็เพราะเกิดการแย่งชิงทรัพยากรกัน จึงเกิด “แผนควบคุมมนุษย์โลก” Agenda 21 ปี 1992 Rio (Earth Summit) 192 ประเทศ เป้าหมาย 3 เสาหลัก AGENDA 21 คือ เศรษฐกิจ นิเวศน์ ความเสมอภาคทางสังคม (“three major points of view: economic, social, and ecological” & (Sustainable development is based on three fundamental pillars: social, economic and environmental)

แม้จะอ้างว่าไม่ใช่ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) แต่เป็นแผนเพื่อให้มีรัฐบาลเดียวควบคุมเบ็ดเสร็จจากส่วนกลาง เป็นรัฐเผด็จการ (Totalitarianism) โดยการควบคุม (Controlled) ทรัพยากรโลกทุกอย่าง รวมทั้งควบคุมมนุษย์ (Human being) ด้วย สุดท้ายควบคุมอ้างสร้างความสมดุล (ชุมชน) โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่อย่าลืมว่ามนุษย์โลกเสรี We are free

ยิ่งสงครามยุคปัจจุบัน นอกจากจะส่งกองกำลังออกไปรบกันจริงแล้ว ด้วยกองกำลังของตนเอง หรือทหารรับจ้าง (Mercenary) เป็นบุคคลที่เข้าร่วมในการขัดกันด้วยอาวุธ (armed conflict) โดยที่มิได้มีเชื้อชาติหรือเป็นสมาชิกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่ขัดแย้ง แต่ “มีแรงจูงใจให้เข้าร่วมในการขัดกัน โดยมีความประสงค์ส่วนตัวในค่าตอบแทนที่จะได้รับเป็นสำคัญ เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าทหารรับจ้างเป็นผู้ที่มีอาชีพสู้รบเพื่อเงินตอบแทน

จึงเกิดสงครามจิตวิทยา การโฆษณาชวนเชื่อ ปฏิบัติการจิตวิทยา สงครามข่าวสารไอโอ (Information Operation) ดังกล่าวข้างต้น มีปัญหาข่าวปลอม (Faked News) แพร่ระบาด นอกจากนี้ AI (Artificial Intelligence : ปัญญาประดิษฐ์) เข้ามามีบทบาทในโลกโซเซียล ผู้คนแยกแยะข้อมูลยาก ไม่เชื่อถือข้อมูล ไม่เชื่อถือระบบการเมือง กลุ่มสุดโต่งหัวรุนแรงผุดขึ้นมาพร้อมข่าวปลอม พรรคการเมืองทั้งแบบขวาจัดซ้ายจัดสุดโต่ง เกิดความแตกแยก ต่างฝ่ายต่างมีกลุ่มหัวรุนแรงของตน เกิดความรุนแรงทางการเมือง เกิดอาชญากรรมที่มาจากความเกลียดชัง (hate crimes) เกิดวาทกรรม “การชังชาติ” ในการแสดงออกทางคำพูดหลากหลายประเภท ที่มีลักษณะคล้ายกันและเจอกันบ่อยในสังคมปัจจุบัน 2 ลักษณะ คือ (1) Hate Speech แปลว่า ประทุษวาจา หรือ คำพูดที่แสดงออกถึงความเกลียดชัง ดูถูก เหยียดหยาม ในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือรสนิยมทางเพศ (2) Fighting Words เป็นคำพูดที่กระตุ้นให้เกิดความเกลียดชังหรือความรุนแรง เป็นคำพูดที่ทำให้คนเราทะเลาะกัน

เกิดธรรมเนียมการตั้งกลุ่มก๊วนเอาไว้อ้างเป็นพวก เริ่มจาก “สีเสื้อ” สีแดง (กลุ่ม นปช.) สีเหลือง (กลุ่มรักสถาบัน) กลุ่มพันธมิตร กลุ่ม กปปส. ซึ่งต่อๆ มาเกิดศัพท์ว่า “ควายแดง” (กลุ่มคนเสื้อแดง นปช.ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นพวกคนโง่) และคำว่า “สลิ่ม” ที่อีกฝ่ายใช้เรียกอีกฝ่ายว่าไม่มีเหตุผล เพราะมีคำพูดหรือมีการกระทำที่ขาดตรรกะ (Logical Fallacy)

 

ช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) 

ของคนสองรุ่นสองกลุ่ม สองวัย คือ รุ่นเด็กกับรุ่นผู้ใหญ่ หรือ “คนรุ่นใหม่หัวก้าวหน้าและประชาธิปไตย” (Liberal/Progressive) กับ “คนหัวอนุรักษ์และอำนาจนิยม” (Conservative/Authoritarianism)

คำว่าเผด็จการในภาษาอังกฤษมีใช่อยู่หลายคำ เพราะปกติคำว่า “Dictator” (แปลว่าเผด็จการ) ในทางวิชาการจะไม่ค่อยใช้กัน เพราะเผด็จการมีหลายมิติ หลายมุมมอง หลายบริบท และมีระดับเข้มอ่อนหลายระดับ

คำที่ใช้ในความหมายเผด็จการ มีคำอื่นๆ เช่น คำว่า Authoritarianism (คำแปลที่ใช้ปัจจุบันคือ “อำนาจนิยม”) หรือคำว่า “Totalitarianism” (แปลตรงๆ ว่า คือ “เบ็ดเสร็จนิยม”) 

ปูตินผู้นำรัสเซียเรียกแนวทางตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯว่าเป็นระบอบ “เสรีนิยมแบบเผด็จการ” (Totalitarian Liberalism) ที่ตะวันตกต้องการยัดเยียดใส่ทั้งโลก น่าแปลกที่ทั้งๆ ที่ระบอบที่ปูตินใช้ก็คือ “Totalitarian Socialism” หรือ “สังคมนิยมเผด็จการ” ซึ่งต่างคนต่างใช้ เพราะยึดถือกรอบความคิด โลกทัศน์ “World Vision” ที่แตกต่างกัน เรียกว่าปรัชญาแนวคิดทางการเมืองที่คิดต่างกัน เช่น คิดว่า “เผด็จการดีกว่า ทำให้ปกครองคนง่าย บ้านเมืองสงบเรียบร้อย เชื่อผู้นำทำงานตามใบสั่งฯ” 

แต่เป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับในฝั่งแนวคิด “เสรีนิยม” (Liberalism) หรือ ในอีกฉายาหนึ่งคือ “พวกฝ่ายประชาธิปไตย” หรือ “พวกหัวก้าวหน้า” (Progressive) ที่อีกฝ่ายล้อชื่อว่า “พวกลิเบอร่าน” “พวกสามกีบ” ที่มีกันทุกประเทศ 

แนวคิด Liberalism นี้ มาจากแนวคิดสังคมนิยม (Socialism) ด้วยเช่นกัน ที่เห็นว่า ทุกคนเกิดมามีจิตจำนง (Will) ที่เสรี ไม่มีใครมาบังคับได้ การที่คนได้มอบอำนาจให้ผู้ปกครองได้ปกครอง หากผู้ปกครองไม่ดี ก็ปลดได้ เป็นต้น

ดังนั้น การไปว่าใครเขานั้น ตนเองเป็นตามที่ไปว่าเขาด้วยหรือมีพฤติการณ์อย่างที่ไปว่าเขาหรือไม่ เพราะ หากมองย้อนหรือมองมุมกลับ มันต้องเหมือนกัน ไม่จำเป็นก็ไปว่าเขา เพราะมันอาจวกมาว่าตนเองด้วย

 

สลิ่ม คืออะไร จากสลิ่มเฟสหนึ่งมาสู่สลิ่มเฟสสอง

ในอดีต “สลิ่ม” หรือ “ซ่าหริ่ม” หมายถึงของหวาน แต่หลังเหตุการณ์การเมืองปี 2553 คำว่าสลิ่มก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุดอธิบายว่า คำนี้ถูกนำมาใช้เรียก “กลุ่มเสื้อหลากสี” ที่ออกมาตอบโต้การประท้วงของคนเสื้อแดง มีการริเริ่มครั้งแรกในเว็บบอร์ด pantip.com ต่อมามีผู้นำมาใช้อย่างกว้างขวาง ในภาพรวมนั้นคำว่าสลิ่ม จะมีความหมายในเชิงลบ

ยุคสงครามความคิดเสื้อแดง เสื้อเหลือง กปปส. จึงเกิดศัพท์ทางการเมืองคำหนึ่งที่ใช้มาถึงปัจจุบัน คือ คำว่า “สลิ่ม” ที่ปัจจุบันมีการแยกแยะแนวความคิดของคนกลุ่มนี้เป็น 2 ช่วง 2 เฟส สลิ่มเฟสหนึ่ง สลิ่มเฟสสอง ดังมีผู้แสดงความเห็นไว้ในโซเซียล เป็นวาทกรรมการเมืองที่น่าศึกษาในวิวัฒนาการ ในความหมาย “สลิ่มเฟสสอง” ที่มีนัยยะแบ่งแยกกลุ่มพวก แบ่งแยกแนวคิดทางการเมืองไว้ชัดเจน หลายพวก หลายกลุ่ม ดังเช่นคำว่า สลิ่มกลับใจ สลิ่มตาสว่าง สลิ่มแดง ควายแดง ควายส้ม ติ่งแดง ติ่งส้ม พวกฮาร์ดคอร์ เหลืองไปแดง แดงมาเหลือง ส้มมาเหลือง เหลืองไปส้ม เหลืองแอบ แดงแอบส้ม พวกล้มเจ้า พวกสามกีบ พวกแอบอ้างสถาบัน พวกโหนเจ้า ฯลฯ 

เป็นพวกกลุ่มคนการเมืองที่ย้ายไปมาเพราะผลประโยชน์บางอย่าง เป็นผลประโยชน์ที่ยึดเกาะของแต่ละขั้วอำนาจทางการเมือง ที่เป็นส่วนตัวมากกว่าไม่ได้เกี่ยวอะไรกับอุดมการณ์นัก เช่นแต่เดิมก็เคยเป็นพวกเดียวกันรักกันมาก่อน หรือเคยด่าว่ากันชนิดไม่เผาผีกันมาก่อน หลายคนอาจผิดหวังในตำแหน่งทางการเมืองที่คาดหวังไว้ แต่ผิดหวัง เป็นลักษณะของอาการ “แค้นฝังหุ่น” “เช็ด” ไม่ต้องไปหวังไกลถึงความสมานฉันท์ สันติภาพ ประนีประนอม ปรองดอง และการก้าวข้ามความขัดแย้ง กันเลย แม้จะมีผู้แย้งว่า มันมีเส้นแบ่งบางๆ อยู่ที่ “ความถูกต้องเป็นธรรม” (legitimacy) และคุณธรรม ในความเห็นต่างนั้นๆ ก็ตาม แต่ก็จะมาติดที่ “ดุลพินิจ” สังคมใช้มาตรวัดจากฐานอะไร เช่น การเฮโลตามเพื่อน

ในทวิตเตอร์ (7 กุมภาพันธ์ 2565) ในกลุ่มคนเสื้อแดงได้มีการวิพากษ์วิจารณ์อ้างเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่า สลิ่มมาจากไหน มีลักษณะความคิดอย่างไร ผ่านแฮชแท็ก สลิ่มเฟส 2 โดยได้อธิบายให้ฟังถึงที่มาและที่ไปของคำว่า “สลิ่ม” ที่ใช้กล่าวหากันไปมา ทั้งที่เป็น “สลิ่มเฟส 1”  “สลิ่มเฟส 2” “สลิ่มแดง” 

น่าสนใจในนิยาม “สลิ่มเฟส 2” ที่สื่อสรุป (กรุงเทพธุรกิจ) หมายถึง กลุ่มคนเสื้อเหลืองที่แสวงหาระบบการเมืองใหม่ ไม่มีเส้นสาย ไม่มีนายทุน ปฏิรูปกองทัพและสถาบัน ส่วนหนึ่งสนับสนุนพรรคการเมืองที่เกิดใหม่ เช่น ในความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน สลิ่มเฟส 2 จึงเป็นสลิ่มกลุ่มเกิดใหม่ มิใช่กลุ่มสลิ่มดั้งเดิม ที่เรียกในที่นี้ว่า “สลิ่มเฟส 1” แต่บริบทการเมืองไทยมันดิ้นไปมา ไม่ตายตัว ในโลกแห่งความเป็นจริงจึงยากที่จะสรุปให้เป็นจริงได้ 

ผ่านไป 10 ปีให้หลัง (ข่าวเวิร์คพอยท์) คำสุดฮิตว่าสลิ่มปัจจุบันย่อมมีขอบเขตความหมายเปลี่ยนไปแน่นอน ในวาระที่เกิดปรากฎการณ์แฮชแท็ก แสดงจุดยืนของแต่ละมหาวิทยาลัยขึ้น กูไม่เอาสลิ่ม ในการชุมนุมที่ ม.กรุงเทพ (BU) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 เริ่มจากกรุ๊ปในแอปพลิเคชันไลน์ที่เล่นกันตอนตี 2 ภายในคืนเดียวก็มีคนเข้าร่วมกว่า 300 คน การเคลื่อนไหวจึงย้ายจากโลกออนไลน์สู่กายภาพ ไม่ได้ตั้งใจใช้แฮชแท็กนี้ แต่มันไปเอง นักศึกษาม.กรุงเทพฯ นัดชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ข้างสนามฟุตบอล ม.กรุงเทพ  

สงครามความคิดไม่มีแพ้ไม่มีชนะ รบกันได้ตลอด แล้วสงครามความคิดระหว่างคนสองรุ่น คนรุ่นเก่า กับคนรุ่นใหม่ ไปเกี่ยวอะไรกับ “สลิ่มเฟส 1 เฟส 2” ที่จริงมันก็คือเรื่องเดียวกัน เป็นเรื่องความเห็นต่าง ที่มีจุดยืนที่แตกต่างกัน ส่วนสลิ่มแยกสองเฟสในระดับดีกรีเฉดสีที่เข้มอ่อนที่แตกต่างกันไป การแยกกลุ่มแยกประเภทดังกล่าว ก็เพื่อการเปรียบเทียบวิพากษ์กันคนละมุมมองได้ง่าย เพราะในการจัดกลุ่มแนวคิดสลิ่มนั้น ไม่ได้แยกคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่า คนหัวเก่า คนหัวใหม่ ที่ต่างอาจถูกจัดอยู่ในกลุ่มคนสลิ่มได้เช่นกันทั้งคนรุ่นใหม่รุ่นเก่า ยิ่งในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง นโยบายขายฝั่น ประชานิยมต่างพรั่งพรู เกทับ ออกมาจากฝ่ายการเมืองทุกพรรคมากมาย ทั้งสองขั้วฝ่ายการเมือง เรียกได้ว่าหากเป็นรัฐบาลผสม หรือรัฐบาลแห่งชาติได้ คือ ทุกพรรคให้มาจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันจะ “โคตรดี” คนไทยจะโคตรสุขสบายเลย เลิกคิดจะย้ายประเทศไปเลย การเปลี่ยนแปลง การปฏิรูปของเก่าที่มีผู้เห็นว่าไม่ดีแบบกลับ คนอีกกลุ่มกลับรู้สึกต่อต้านว่าไปกระทบสังคม ที่ตนเห็นว่าดีแล้ว 

ผู้เขียนจึงสรุปว่ามี 2 กลุ่มอยู่ในกลุ่มเดียวกัน กล่าวคือ (1) กลุ่มทุนการเมือง (2) กลุ่มผู้เรียกร้องสิทธิทางการเมือง ตอนที่ยังสามัคคีรักกันเพราะผลประโยชน์ลงตัว แต่พอหมดภาระหน้าที่ถึงรู้ว่า ที่จริงมันแตกต่างกัน

การเสนอมุมมองใดไม่มีเสี้ยม ไม่บูลลี่ด้อยค่าใคร เพียงแต่อีกฝ่ายมองว่า นำเสนอประเด็นที่หมื่นเหม่ ไม่ควรพูด "inconvenient truth" (ความจริงที่พูดไม่ได้ หรือ ไม่ควรพูด) จะทำให้อีกฝ่ายเคือง มันเป็นกระแสโลกโซเซียล เมื่อมีขาว ก็มีดำ มีดีในชั่ว มีชั่วในดี ไม่มีอะไรที่ดีทั้งสองฝ่าย การยอมรับความเห็นต่างจึงเป็นสิ่งที่จะประนีประนอมสองฝั่งสองฝ่ายนี้ได้

 

นี่แหละ คือ สีสัน ความดี ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่ผู้จะมีอำนาจ ล้วนสัญญาว่า "จะขยันทำความดี หาประโยชน์ ให้ประชาชน" ฟังดูเอา ของจริง ของปลอม ราคาคุยโม้ หรือทำได้มาแล้ว ใจเขาใจเรา ประชาธิปไตยคือสิทธิเท่าเทียม 
 


อ้างอิง

บทความ

ทหารรับจ้างแห่งวากเนอร์ 'สัตว์สงคราม' เมดอินรัสเซีย, THE POLITICIAN IN CRIME, theMomentum, 28 มกราคม 2566, https://themomentum.co/politicianincrime-russian-wagner/


ข่าว

กองทัพเงา (วากเนอร์น่าจะเป็นกองทัพเงาของรัสเซียในซีเรีย และทำการสู้รบสนับสนุนปฏิบัติการในแนวหน้าของรัสเซีย), เดลินิวส์, 27 มีนาคม 2561, 01.30 น., https://d.dailynews.co.th/article/634509/ 

ซ้ายจัดดัดจริตกับขวาพิฆาต, ไทยรัฐออนไลน์, 5 เมษายน 2562, https://www.thairath.co.th/news/politic/1536993

สงครามความคิดระหว่างคนสองรุ่น ผ่านมุมมองนักการเมืองรุ่นใหม่, waymagazine,โดย นิธิ นิธิวีรกุล, 19 มิถุนายน 2562, https://waymagazine.org/political-view-between-2-generations/ 

สงครามไฮบริด-สงครามพันทาง:แบบแผนการสงครามใหม่ยุคปัจจุบัน, คมชัดลึก, 16 สิงหาคม 2562, https://www.komchadluek.net/scoop/383825

ความกระหายสงครามที่ยังไม่หายไป : ทำไมการรบราฆ่าฟันถึงยังเป็นทางเลือก?, thematter, 12 มกราคม2563, https://thematter.co/social/just-war-theory/97229 

แท้จริงแล้วความหมายของคำว่า “สลิ่ม” คืออะไร ถอดความหมายจากผู้ชุมนุม BU กูไม่เอาสลิ่ม, workpointtoday, 28 กุมภาพันธ์ 2563, https://workpointtoday.com/political-terms-salim/
สงครามความคิดเก่า-ใหม่ แพ้ชนะ วัดกันที่ตรงไหน, SIY thailand, 9 ธันวาคม 2563, 

สงครามนี้เป็น “สงครามทางความคิด” ที่อาจจะพอนิยามได้ว่าคู่ขัดแย้งคือ “คนที่มีความคิดแบบเก่า” และ “คนที่มีความคิดแบบใหม่” สงครามนี้กินความหมายไป, https://siythailand.org/war-of-old-vs-new-idea/

“คำ ผกา” บัญญัติศัพท์พรรคอนาคตใหม่ “สลิ่มเฟส 2” กลุ่มหนุนธนาธรบอกไม่จริง, ผู้จัดการออนไลน์, 7 กุมภาพันธ์ 2565, https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000012688
พรรคอนาคตใหม่ มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับพรรคเพื่อไทย หรืออดีตนายกฯ ทักษิณ, 10 กุมภาพันธ์ 2565, https://www.blockdit.com/posts/6204e0f8de238359a28731bc
สหรัฐแบล็กลิสต์ “วากเนอร์” เป็น “องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ”, เดลินิวส์, 21 มกราคม 2566, https://www.dailynews.co.th/news/1913957/

สงครามความคิด, สยามรัฐ, 22 มกราคม 2566, https://siamrath.co.th/c/416813 

ลูกชายโฆษกรัฐบาลรัสเซียเผย อาสาไปร่วมรบในสงครามยูเครน, pptvhd36, 24 เมษายน 2566, https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/194908


 

[1]บทความนี้เผยแพร่ใน FB เพจสิทธิมนุษยชนและการแรงงาน, 26 เมษายน 2566, https://www.facebook.com/laborphachern/posts/pfbid02EG658QsWonBGhgYpsfipJHGT4fqasLHsvHGDSKSZ9Bn5WEXviW4yaVMH71GPhSs5l  & ท่ามกลางโลกแห่งสงครามความคิด : บทความพิเศษ/ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก (ท้องถิ่น), 19 พฤษภาคม 2566, https://siamrath.co.th/n/448092 



ความเห็น (3)

Thank you for this intriguing (and entertaining) write-up.

We also have (informally) influence mercenaries (misinformation operators) fighting for self-interest on social media. The number of ‘affected and casualties’ is expected to be high but uncertain. The side effects can long lasting to individuals and wider population. A research topic on misinformation effects on the next generations?

มีทั้งในส่วนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะบางอย่างน่าจะเป็นการขยายความหรือความคิดส่วนบุคคลก็เป็นได้ เหมือนอย่างคำเปรียบเปรยฝรั่งที่ว่า Not much to be less, not much to be more หรืออีกส่วนหนึ่งที่เขาว่า to refuse to be added up or divided. (ขอโทษที่อ้างคำฝรั่ง ไว้ด้วย) แต่ก็น่าจะดีกว่า no comment ….วิโรจน์ ครับ

On my opinion, I think it’s a normative, but not unlogically at all. Some comment shall descriptive, that can show main idea or can prescriptive in any way too.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท